Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีผู้สูงอายุ (Aging Theory), นศพต.ชิชญาสุ์ เสกขะวัฒนะ ชั้นปีที่ 2…
ทฤษฎีผู้สูงอายุ (Aging Theory)
ทฤษฎีทางจิตวิทยา (Psycological Theory)
ทฤษฎีของอิริคสัน (Erikson's Epigenetic Thoery)
พัฒนาการของคนมี 8 ระยะ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสูงอายุ
ระยะ 7 ช่วงวัยกลางคน (40-59 ปี)
เป็นช่วงที่มีความทะเยอทะยาน มีความคิดสร้างสรรค์
ประสบความสำเร็จในชีวิต
พอใจในความมั่นคง
ความภาคภูมิใจ
สืบทอดไปยังรุ่นหลาน
ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
เงื่องหงอย เบื่อ
ขาดความกระตือรือร้น
ระยะ 8 (60 ปีขึ้นไป)
เป็นช่วงที่ควรยอมรับทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวอย่างเข้าใจ และปล่อยวาง
ยอมรับ
ยอมรับได้ทั้งความสำเร็จสมหวังและผิดหวัง
ยอมรับความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นอย่างที่เขาเป็น
พอใจในชีวิตของตนเอง
ไม่ยอมรับ
ชีวิตขมขื่น ทุกข์ร้อน และผิดหวัง
จมอยู่กับความหลัง อาลัยอาวรณ์ ยอมรับอตีตไม่ได้ ปล่อยวางไม่สำเร็จ
คิดแต่ว่าเวลาเหลือน้อย
ไม่สามารถคิดหรือทำอะไรใหม่ๆได้
เกิดความรู้สึกสิ้นหวังไร้ค่า
อาจหลีกหนีชีวิตหรือฆ่าตัวตาย
สรุป
ผู้สูงอายุที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จะเป็นผู้ที่ชีวิตเป็นสุข ส่งผลให้สุขภาพจิตดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
ทฤษฎีของเพค (Peck's Theory)
แบ่งผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่ม
ผู้สูงอายุวัยต้น (56-75 ปี)
ผู้สูงอายุตอนปลาย (75 ปีขึ้นไป)
ผู้สูงอายุ 3 ระยะ
Ego transcendence and Ego preoccupation
เป็นความรู้สึกยอมรับกฏเกณฑ์และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
ยอมรับความตายได้โดยไม่รู้สึกหวาดวิตก
วัยผู้สุงอายุตอนปลาย
Body transcendence and body preoccupation
เป็นความรู้สึกที่ผู้สูงอายุยอมรับสภาพร่างกายของตนที่ถดถอย
ชีวิตมีสุขเมื่อยอมรับและปรับความรู้สึกได้
อายุที่เพิ่มขึ้น
Ego differentiation and work-role preoccupation
เป็นความรูสึกเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่
ยังรู้สึกว่าตนมีคุณค่าเมื่อบทบาทลดลงหรือเปลี่ยนไป
พอใจที่จะหาสิ่งอื่นๆมาทำทดแทน
วัยสูงอายุตอนต้น
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา (Sociological Theory)
ทฤษฎีบทบาท (Role Theory)
ปรับบทบาทและสภาพต่างๆ หลายอย่างที่ไม่ใช่บทบาทของตนมาก่อน
การละทิ้งบทบาททางสังคม และความสัมพันธ์แบบวัยผู้ใหญ่
ยอมรับบทบาทของสังคมและความสัมพันธ์แบบในวัยสูงอายุ
เว้นจากความผูกพันกับคู่สมรส เนื่องจากการตายไปของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ทฤษฎีการถดถอยจากสังคม (Disengagement Theory)
การหยุดบทบาทของตัวเอง จากความต้องการของตัวเอง หรือแรงกดดันของสังคม
การเกษียณอายุการทำงาน
การเจ็บป่วย
มีภาวะทุพพลภาพ
ผู้สูงอายุหนีไม่พ้นที่จะถอนตัวจากสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังต่อไป
สิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการยอมรับ มีโอกาสได้แสดงบทบาท
ผู้สูงอายุจะเข้าสังคมมากกว่าถอยจากสังคม
นักการเมือง
อาจารย์อาวุโสในมหาวิทลัย
อาสาสมัครอาวุโสต่างๆ
การประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเอง
เตรียมตัวก่อนเกษียณ
ดำเนินชีวิตหลังเกษียณ
ทฤษฎีการมีกิกรรมร่วมกัน (Activity Theory)
ความพึงพอใจในผู้สูงอายุ เกิดจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่อไป
ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมสูง จะมีการปรับตัวได้ดี สามารถดำรงกิจกรรมทางสังคมได้ดี
ปฏิเสธที่จะมีชีวิตแบบผู้สูงอายุ พยายามคงศักยภาพวัยกลางคนไว้ให้นานที่สุด
การประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเอง
เข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
เลือกกิจกรรมใหม่ๆที่เหมาะสมกับข้อจำกัดของร่างกายตนเอง
เลือกกิจกรรมตามความชอบและความสมารถที่มี
สังคมควรจัดกิจกรรมที่เหมาะตามวัยและความสามารถ
เน้นการใช้สติปัญญาและประสบการณ์มากกว่าใช้กำลังหรือความเร็ว
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Thory)
การที่ผู้สูงอายุจะมีชีวิตอย่างมีความสุขและมีกิจกรรมร่วมกัน ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละคน
ชอบมีกิจกรรม
มีกิจกรรมเหมือนเดิม
ชอบสันโดษ
ไม่เคยมีบทบาทในสังคมก็แยกตัวออกจากสังคม
ยอมรับความเป็นเอกอัตตบุคคลของผู้สูงอายุ คงไว้ซึ่งแบบแผนพฤติกรรมเช่นเดิม ส่งเสริมให้บุคคลปรับตัวได้ดีเมื่อเผชิญกับความสูงอายุ
การประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเอง
เข้าชมรมผู้สูงอายุ
เข้าร่วมกิจกรรมในสังคม
ทฤษฎีทางชีววิทยา (Biological Theory)
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง (Cross-link theory)
สาเหตุ
เมื่ออายุมากขึ้น เส้นใย collagen เกิดการเชื่อมไขว้และเกาะกันชิดมากขึ้น ทำให้มีลักษณะแข็ง แตกแห้ง สูญเสียความยืดหยุ่น
Hyperglycemia ส่งเสริมให้โปรตีนเกาะกันมากขึ้น ทำให้ทราบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูง และสูญเสียความยืดหยุ่นของเซลล์
ผลกระทบ
เนื้อเยื่อแข็ง ขาดความยืดหยุ่น
จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง
มีการใช้สารอาหารลดลง
ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์
ปอดขยายตัวไม่ดี
ต้อกระจก
การดูแล
รับประทานสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไป
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical theory)
สาเหตุ
1.เกิดจากระบวนการ metabolism ของไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
เป็นโมเลกุลเดี่ยว reactive ประจุลบ ไวต่ออิเล็กตรอน ไปจับโมเลกุลอื่น เกิดการ oxidation และไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้
2.เกิดจาาการรับประทานอาหาร หรือหายใจเข้าไป
อาหารทอดไหม้เกรียม มลพิษทางอากาศ ยากำจัดศัตรูพืช แสงแดด รังสี บุหรี่
ผลกระทบ
อวัยวะที่สัมผัสลม แสงแดดมากกว่า ผิวจะบางจนเห็นเส้นเลือดชัดเจน
เส้นเลือดเปราะบาง
รอยย่นบริเวณหางตา
อาจเกิดมะเร็งผิวหนัง จาก Melanocytes ลดลง
การดูแล
รับประทานอาหารจำพวก antioxidant
วิตามิน A, C, E และซีลีเนียม
จำกัดพลังงานในอาหารโดยเฉพาะไขมัน เพื่อชะลอการเผาผลาญ
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
สาเหตุ
เปรียบเทียบร่างกายเหมือนเครื่องจักร
อวัยวะที่มีการใช้งานมากกว่าย่อมเสื่อมได้ง่ายและเร็วกว่า
ข้อจำกัดของทฤษฎี คือ อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ทำงานจะเสื่อมก่อน
ผลกระทบ
อวัยวะที่ทำงานมากจะขยายใหญ่ขึ้น
กล้ามเนื้อหัวใจ
อวัยวะที่ใช้งานมาก
ข้อไหล่ ข้อเข่า
การดูแล
ออกกำลังกาย
ส่งเสริมสุขภาพ
ลดน้ำหนัก
ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory)
สาเหตุ
เซลล์ที่ใช้งานแล้ว ผลิตสาร lipofuscin เป็นโปรตีนและไขมันที่เหลือจากการเผาผลาญอาหาร
เป็นสาร inert สะสมในเซลล์
กล้ามเนื้อหัวใจ
เซลล์ประสาท
ตับ
หัวใจ
รังไข่
ผิวหนัง
ผลกระทบ
ถ้ามีมากถึงระดับหนึ่ง อวัยวะนั้นจะไม่ทำงาน และเสื่อมถอยไป
การดูแล
วิตามินอี ซีลีเนียม ยับยั้งการสะสมของ lipofuscin ได้
ทฤษฎีนาฬิกาทางพันธุกรรม (Genetic clock theory)
สาเหตุ
อายุขัยของมนุษย์ถูกโปรแกรมก่อนเกิด กำหนดไว้โดยยีนใน DNA
ถ่ายทอดให้ลูกหลาน
มนุษย์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีจะมีอายุเฉลี่ย 85-90 ปี
การดูแล
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ก็จะมีผลต่อรหัสพันธุกรรม
เปลี่ยนแปลงตัวกำหนดอายุขัยได้
ทฤษฎีความคลาดเคลื่อน (Error theory)
สาเหตุ
สะสมความผิดพลาด
นิวเคลียร์ของเซลล์มีการถ่ายทอด DNA ที่ผิดปกติจากเดิม
เซลล์ใหม่กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม
ร่างกายสร้างอิมมูนมาต่อต้าน
ผลกระทบ
เซลล์เสื่อมสภาพและทำหน้าที่ไม่ได้
ทฤษฎีการผ่าเหล่า (Somatic mutation theory)
สาเหตุ
ได้รับรังสีทีละเล็กทีละน้อยเป็นประจำ
เกิดการเปลี่ยนแปลง DNA
เกิดการผันแปรของเซล์หรืออวัยวะ
ผลกระทบ
เกิดการแบ่งตัวผิดปกติ
เกิดโรค หรือเกิดมะเร็ง
หลักการวัดความชรา
สายตายาว อายุประมาณ 45 ปี
ลืมสิ่งที่รับรู้มาในเวลาเมื่อครู่
จิตใจ ตั้งปัญหาเกี่ยวกับความหวังของชีวิต
กำลังของหัวใจที่ตอบสนองในหารออกกำลังกาย
ปริมาณฮอร์โมนเพศที่ขับออกทางปัสสาวะ
เพศหญิง ตรวจเซลล์ของน้ำในช่องคลอด
ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (Active Aging )
ความหมาย
กระบวนการที่เหมาะสมและเอื้อให้เกิดโอกาสในการพัฒนาสุขภาพ การมีส่วนร่วม และความมั่นคงเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของบุคคลเมื่อสูงวัย (WHO)
องค์ประกอบ
1.ผู้สูงอายุที่ยังมีประโยชน์ (Productive Aging)
สามารถพึ่งตนเองเท่าที่จะทำได้ของผู้สูงอายุและการใช้ความสามารถส่วนตัวในทางสร้างสรรค์ให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม
เน้นแนวคิดเชิงเศษรฐศาสตร์ และสังคมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
2.ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ (Successful Aging)
ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความพึงพอใจและความปรารถนาของตนเอง
เน้นทางด้านจิตวิทยา และการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล ในลักษณะของหลากหลายแนวทาง
นศพต.ชิชญาสุ์ เสกขะวัฒนะ ชั้นปีที่ 2 เลขที่ 18 (6139919192)