Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 รูปแบบของระเบียบวินัยและการนำไปประยุกต์ใช้ - Coggle Diagram
บทที่ 8 รูปแบบของระเบียบวินัยและการนำไปประยุกต์ใช้
รูปแบบของระเบียบวินัยในชั้นเรียน
ระเบียบวินัยในตนเอง โดย Canter
เป็นการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสมของผู้เรียนและยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของผู้เรียน
ครูมีสิทธิ์ที่จะกำหนดกฎระเบียบสำหรับชั้นเรียนและผู้เรียนจะต้องปฏิบัติตามกฎ
ครูควรได้รับความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ทั้งผู้ปกครอง ครูทุกคนและผู้บริหารโรงเรียน
มีการตั้งกฎเกณฑ์และปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด
ขั้นตอนการใช้วิธีการสร้างระเบียบวินัยในตนเอง
กำหนดกฏระเบียบและวิธปฏิบัติ
สำรวจความประพฤติของผู้เรียนในชั้น พร้อมจดบันทึก
สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างครูกับนักเรียน
ส่งเสริมความประพฤติที่ดีของผู้เรียน
ใช้วิธีการที่เหมาะสม
ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองของผู้เรียน
ผลลัพธ์ทางตรรกศาสตร์ โดย Dreikurs
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกิดจาก
การวางอำนาจ
เกิดจากผู้เรียนไม่ได้รับความสนใจอย่างที่พวกเขาเรียกร้อง จึงพยายามวางอำนาจใส่ครู อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างครูกับผู้เรียน
ครูต้องพยายามรักษาบรรยากาศเชิงบวกเพื่อควบคุมความประพฤติของผู้เรียนไว้
พฤติกรรมที่แสดงออก
ไม่ทำงานที่ครูสั่ง
ลืมหนังสือเรียนที่บ้าน
ไม่ยอมทำความสะอาดหลังเลิกเรียน
ผู้เรียนหัวดื้อ ไม่เชื่อฟัง จะแสดงอาการต่อต้านครู
วิธีการจัดการ
หากนักเรียนยังคงแสดงพฤติกรรมที่ไม่ประสงค์เช่นนี้ต่อไป ครูควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับผูเรียนโดยตรง
ครูพยายามแก้ไขปัญหาโดยใช้ความเชื่อมั่นและเอาใจใส่อย่างจริงใจ
ความแค้น
ผู้เรียนคิดว่าพวกเขาได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เกิดความต้องการที่อยากแก้แค้นคครู เพื่อนร่วมชั้น โรงเรียนหรือสังคม
พฤติกรรมที่แสดงออก
การลักขโมย
ก่อความรุนแรง
ทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน
ประสบปัญหาในการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม
วิธีการจัดการ
ครูให้ความช่วยเหลือด้วยความเอาใจใส่ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักใช้อำนาจเชิงสร้างสรรค์
เพื่อนร่วมชั้นต้องไม่ปล่อยให้พวกเขารู้สึกโดเดี่ยว หรือต้องการแก้แค้น
ครูต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขารู้สึกเจ็บปวด
การเรียกร้องความสนใจ
ผู้เรียนพยายามจะก่อกวนเพื่อให้ครูสนใจพวกเขา
พฤติกรรมที่แสดงออก
วิ่งวนไปรอบห้องเรียน
ก่อกวนเพื่อนที่นั่งข้างๆให้เรียนไม่รู้เรื่อง
ทำตัวขี้เกียจ ไม่ยอมทำงานที่ครูสั่ง
วิธีการจัดการ
วิเคราะห์ที่มาของปัญหา
แก้ไขความต้องการเรียกร้องความสนใจของผู้เรียน
ความไม่พอใจ
ผู้เรียนไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างได้
ผู้เรียนอยากอยู่คนเดียว หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น และไม่อยากโดนดูถูก
วิธีการจัดการ
สืบให้แน่ชัดถึงแรงกระตุ้นของผู้เรียน
ช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้าใจแรงกระตุ้นของตนเอง
ช่วยเหลือผู้เรียนในการเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในทางที่ผิดให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
ให้กำลังใจแก่พวกเขาในการทำให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายใหม่ทีดีงาม
ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติที่ผิดพลาดของพวกเขา
1.การปรับปรุงพฤติกรรม โดย Skinner
การปรับปรุงพฤติกรรม เป็นการปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนเพื่อขจัดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ครูสามารถส่งเสริมผู้เรียนที่มีพฤติกรรมดีโดยการให้รางวัล/ชมเชย
หลักการใช้
ครูวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนก่อน
พัฒนาแผนการปรับปรุงพฤติกรรม โดยระบุถึงพฤติกรรมที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
ระบุกฎเกณฑ์และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย
การบำบัดความจริงใจ โดย Glaster
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลโดยตรงจากความต้องการทางจิตวิทยา
ความต้องการทางจิตวิทยาพื้นฐาน
ความรัก
ความต้องการยอมรับจากสังคม
ในแง่ผู้เรียน ความรัก คือ ความรับผิดชอบทางสังคมและความเป็นเจ้าของ
ครูส่งเสริมความรักของผู้เรียน โดยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งกฏระเบียบของชั้นเรียน หรือแสดงผลงานของผู้เรียนบนป้ายประกาศ
การมีอำนาจและการควบคุม
ความรู้สึกมีค่า คือ การที่คนเรารู้สึกว่าตนเองมีความหมายต่อโลก
ผู้เรียนไม่ได้ต้องการเพียงแค่การมีอำนาจและการควบคุมเท่านั้น แต่ต้องการใช้อำนาจเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาด้วย
การเป็นอิสระ
ครูและผู้ปกครองต้องให้ความอิสระแก่ผู้เรียนในขอบเขตที่เหมาะสม
ครูให้อิสระแก่ผู้เรียนในการเลือกทำงานเดี่ยวหรือทำงานกลุ่ม ทำให้การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น
ความสนุกสนาน
การเรียนการสอนควรดำเนินไปอย่างน่าสนใจ ไม่จำเจ
การช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทางที่พวกเขาเลือก
ครูชี้ใหเห็นถึงผลเสียที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนหลีกเลีายงการปฏิบัติพฤติกรรมเหล่านั้น และแนะนำให้ผู้เรียนเลือกปฏิบัติพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแทน
การวางแผนเกี่ยวกับกระบวนการในห้องเรียน
การลุกออกจากโต๊ะ
เมื่อการทำงานของผู้เรียน (ที่โต๊ะ) เสร็จ
การขอรับความช่วยเหลือ
การเคลื่อนย้ายเข้า-ออก ห้องเรียน
การคุยกันระหว่างผู้เรียน
การเริ่มต้นในแต่ละวัน
การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
การออกจากห้องเรียน
ความสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนขณะครูสอน
การกลับเข้าห้องเรียน
กระบวนการ (แนวปฏิบัติ) ขณะผู้เรียนนั่งทำงานที่โต๊ะเรียนและขณะครูสอน
การสิ้นสุดของแต่ละวัน
บริเวณศูนย์กลาง สถานี และเครื่องมือต่างๆ
กระบวนการในระหว่างการอ่านในกลุ่มย่อยและกิจกรรมกลุ่มย่อยอื่นๆ
ห้องน้ำ
การเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะทำกิจกรรม
ที่ดื่มน้ำ อ่างล้างมือ ที่เหลาดินสอ
การเข้า-ออกจากกลุ่มของผู้เรียน
ที่เก็บของส่วนรวม
พฤติกรรมที่ถูกคาดหวังของผู้เรียนขณะที่อยู่ในกลุ่มย่อย
โต๊ะผู้เรียนและบริเวณที่เก็บของผู้เรียน
พฤติกรรมที่ถูกคาดหวังของผู้เรียนที่อยู่นอกกลุ่มย่อย
โต๊ะครูและบริเวณที่เก็บของ
กลุ่มการเรียนรู้
กระบวนการใช้ห้อง
กระบวนการทั่วไป
การแจกอุปกรณ์/เอกสารการเรียน
การรบกวน/ความล่าช้า
ห้องน้ำ
ห้องสมุด ห้องอุปกรณ์ ห้องครูใหญ่
โรงอาหาร
สนามเด็กเล่น
การฝึกซ้อมการหนีไฟและอันตรายอื่นๆ
ผู้ช่วยครูปฏิบัติงานตามห้องต่างๆ
รูปแบบของระเบียบวินัยและการประยุกต์ใช้
ช่วยอธิบายโครงสร้างและความหมายของการจัดการชั้นเรียน
ครูสามารถนำไปปรับใช้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเหตุผล
คิดค้นจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญหลายท่านด้วยกัน
เป็นขอบเขตในการทำงานที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในเชิงปฏิบัติ
รูปแบบ คือ เทคนิค กลยุทธ์ และวิธีการสำหรับผู้ที่เป็นครู
การนำทฤษฏีไปใช้อาจแตกต่างกันตามสภาพชั้นเรียน
ไม่ควรยึดติดกับทฤษฎีและรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมากเกินไป ควรมีการยืดหยุ่นบ้างตามสมควร