Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
sepsis shock, : - Coggle Diagram
sepsis shock
-
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
การตรวจเลือด เป็นการตรวจเบื้องต้นที่จะช่วยระบุความผิดปกติต่าง ๆ ได้ เช่น ตรวจหาเชื้อก่อโรคในเลือด ตรวจการแข็งตัวของเลือด ตรวจของเสียในเลือด ตรวจการทำงานของตับและไต ตรวจหาปริมาณออกซิเจนที่ลดลง ตรวจหาระดับเกลือแร่ที่ไม่สมดุล เป็นต้น
การตรวจทางรังสีวิทยา หากวิธีการตรวจข้างต้นยังไม่สามารถระบุตำแหน่งการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน แพทย์อาจใช้วิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ การทำCT scan การทำ MRI Scan หรือการอัลตราซาวด์ เป็นต้น
การตรวจตามปัจจัยเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาจากอาการและผลตรวจเลือดของผู้ป่วย จากนั้นจึงตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อระบุตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจผิวหนังบริเวณที่เกิดบาดแผลว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และเจาะตรวจของเหลวในไขสันหลัง เป็นต้น
-
การรักษา
ทฤษฎี
การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับผู้ป่วย โดยการได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มที่มีอาการจะช่วยให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ซึ่งวิธีการให้ยาที่นิยมมากที่สุด คือ การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ หากพบตำแหน่งของการติดเชื้อที่ชัดเจน เช่น แผล ฝี หนอง เป็นต้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำจัดแหล่งเชื้อโรคดังกล่าวออกไป
การรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้เป็นปกติ เป็นการให้สารน้ำเพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานเป็นปกติ แต่หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยากระตุ้นความดันโลหิต ยากระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้อินซูลิน ให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นต้น หรือหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ แพทย์อาจให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยผ่านท่อหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
กรณีศึกษา:ผู้ป่วยได้รับยาปฎิชีวนะ และสารน้ำเพื่อให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงาน และยามอฟีนกระตุ้นความดันโลหิต
พยาธิสรีรวิทยา
เป็นภาวะที่มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างซับซ้อนของเชื้อโรค ระบบภูมิต้านทานทั้งระดับ เซลล์และฮอร์โมน ทำให้มีผลต่ออวัยวะอย่างกว้างขวาง โดยเริ่มจากการติดเชื้อ เชื้อโรคต่างๆ จะสร้าง toxinมากระตุ้น monocyte, neutrophil และ endothelial cell ให้หลั่ง mediators เช่น TNF และ IL-1 ซึ่งจะไปกระตุ้นการหลั่ง cytokines ต่างๆ ร่วมกับการกระตุ้น copmplement pathway, coagulation system,platelet activating factors ฯลฯส่งผลให้มีการกระตุ้น inflammatory response ทั่วร่างกายทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ ที่หลอดเลือดเกิดการขยายตัว สูญเสียความสามารถในการซึมผ่าน มีการลดลงของสารต้านการแข็งตัวของเลือด เกิดภาวะ DIC จากการกระตุ้น coagulation cascade ส่งผลให้มีลิ่มเลือดขนาดเล็กอุดตันในหลอดเลือด ขัดขวางระบบไหลเวียนเลือด อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ รวมถึงการทำงานของหัวใจด้วยตามมาด้วยภาวะช็อก และเสียชีวิตในที่สุด
ภาวะแทรกซ้อน
อาจเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ตับวาย ภาวะการหายใจล้มเหลว ความผิดปกติด้านการแข็งตัวของเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุ ระยะเวลาในการเริ่มต้นรักษา สาเหตุและตำแหน่งของการติดเชื้อในร่างกาย และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
-