Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แม่สุดช้ำคลอดลูกตาย แฉพยาบาลเล่นมือถือ ไม่แยแส ! 016F1879-AAC0-497F…
แม่สุดช้ำคลอดลูกตาย
แฉพยาบาลเล่นมือถือ
ไม่แยแส !
ใครมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์บ้าง
อย่างไร ใครทำอะไรถูก
ใครทำอะไรไม่เหมาะสม เพราะอะไร
แพทย์
แพทย์บอกว่าให้รอปากมดลูกเปิดก่อน เวลาประมาณ 05.30 น. พยาบาลมาตรวจ พบว่าหัวใจของเด็กเต้นแผ่วกว่าปกติ คือ ประมาณ 50 ครั้งต่อนาที กระทั่งเด็กไม่หายใจ และแพทย์จึงเพิ่งมาที่โรงพยาบาลเวลา 06.00 น. หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็ให้ตนเข้าห้องคลอดเพื่อนำตัวเด็กออกมา ในเวลาเกือบ 12.00 น.
พยาบาล
เวลาประมาณ 05.30 น. พยาบาลมาตรวจ พบว่าหัวใจของเด็กเต้นแผ่วกว่าปกติ คือ ประมาณ 50 ครั้งต่อนาที กระทั่งเด็กไม่หายใจ
รอถึงเวลาประมาณ 22.00 น.รู้ว่าน้ำคร่ำเดินแจ้งกับพยาบาลแล้วกลับได้คำตอบว่าให้รอต่อไปอีก เวลา 04.00 น. ผู้ป่วยรู้สึกผิดปกติ คือ ทารกดิ้นมาก น้ำคร่ำเดินจนกระทั่งท้องยุบจึงเรียกพยาบาล พร้อมร้องขอว่าให้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลราชบุรี
ไม่สนใจผู้ป่วยนอนคุยโทรศัพท์อยู่ที่โต๊ะและบอกให้ผู้ป่วยรอ ทนอาการเจ็บไปก่อน
มีการเช็คความถี่ของอาการเจ็บท้องเป็นระยะ
ปริชาติ บัวทอง แม่ของทารกที่เสียชีวิต
วันที่ 28 พฤศจิกายน ได้เดินทางไปโรงพยาบาลในอำเภอปากท่อ เพราะรู้สึกเจ็บท้องคลอด ก่อนกำหนดในวันที่ 29 พฤศจิกายน
รู้สึกเจ็บท้องเป็นพักๆโดยมีอาการปวดประมาณ 15-20 นาที
พิจารณาตามหลัก 6P
มีความผิดปกติของ P ใด
การคลอดยากจากความผิดปกติของตัวเด็ก รกและน้ำคร่ำ (Abnormality of passenger)
ส่วนนำผิดปกติ (Faulty presentation) คือ มีส่วนนำเป็นสายสะดือ
ถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนคลอด
เป็นเวลานาน
ปัจจัยเสริม
ปัจจัยด้านแม่
ครรภ์หลัง มารดาครรภ์หลังทำให้อาจมีหน้าท้องหย่อน อาจทำให้ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าปกติ
ปัจจัยด้านลูก
สายสะดือผิดปกติ ทารกมี Overt prolapsed cord สายสะดือย้อยลงมาต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ พ้นจากปากมดลูกมาอยู่ในช่องคลอด หรือโผล่พ้นปากช่องคลอดหลังถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนคลอดเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดสายสะดือย้อย (Umbilical cord prolapse) คือ ภาวะที่สายสะดือทารกในครรภ์เคลื่อนพลัดต่ำลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำหรือมาอยู่ด้านหน้าส่วนนำ ทำให้สายสะดือถูกกดระหว่างส่วนนำกับกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังทารกได้ อาจทำให้ขาดออกซิเจน หัวใจเต้นแผ่วลง
และดิ้นมาก
ทำให้สายสะดือพันคอทารกเสียชีวิต
กลไกการคลอด วิธีการคลอด ผิดปกติหรือไม่
อย่างไร
ไม่ผิดปกติเพราะการที่ทารกอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำและจะมีการเคลื่อนไหวไปมาจะสังเกตได้ คือ ลูกดิ้น การเคลื่อนไหวไปมาของทารกอาจส่งผลให้สายสะดือเข้าไปพันรอบคอซึ่งสายสะดือพันคอทารกเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ในกรณีที่สายสะดือพันคอทารกเสียชีวิตเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ แต่อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ในข่าวกรณีศึกษาที่เรายกมานั้น เด็กมีอัตราการเต้นของหัวใจเพียง 50-100 ครั้งเท่านั้นและเด็กก็เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
แนวทางการป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
สายสะดือพันคือเกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้นอกจากจะทำการอัลตร้าซาวด์ดูเด็กในท้องได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์และหาแนวทางแก้ไข เช่น การผ่าคลอดในกรณีสายสะดือดึงรั้นเกินไป เป็นต้น
ด้านสิผู้ป่วยมีการละเมิดด้านใด
ข้อไหนบ้าง อย่างไร
ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูล
อย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน
เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุภาพมีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
ถึงการดำเนินของโรค อาการ วิธีการรักษา
ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมาย
ยกเว้นการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน
ซึ่งในข่าวพยาบาลไม่ได้อธิบายให้ผู้ป่วยได้รับทราบ
จากข้อมูลข้างต้น บอกแค่ว่าให้รอไปก่อน
ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับทราบข้อมูล
ความเจ็บป่วยที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่
ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยตามกฎหมาย
ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันที
ตามความจำเป็นแก่กรณีโดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
จากในข่าวผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตทั้งต่อตัวผู้ป่วย
และทารกในครรภ์มีสิทธิ
ที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทันที
ตามความจำเป็น ซึ่งในข่าวเวลาประมาณ 05.30น.พยาบาลมาตรวจพบว่าหัวใจของเด็กเต้นแผ่วกว่าปกติ
คือ ประมาณ 50 ครั้งต่อนาทีกระทั่งเด็กไม่หายใจ
และแพทย์จึงเพิ่งมาที่โรงพยาบาลเวลา 06.00น.
จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ให้ตนเข้าห้องคลอด
เพื่อนำตัวเด็กออกมา ในเวลาเกือบ 12.00 น พยาบาลทราบว่าทารกมีการหายใจที่ลดลงอย่างรวดเร็วมีผลต่อทารกในครรภ์
เป็นอย่างมากแต่แพทย์และพยาบาลยังนิ่งเฉย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบแค่ว่าให้รอก่อน
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็น
จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น
ที่มิได้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ
และสถานบริการได้
จากในข่าวผู้ป่วยขอเปลี่ยนสถานบริการไป
โรงพยาบาลราชบุรี จึงเรียกพยาบาล
พร้อมขอร้องว่า ให้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลราชบุรี
แต่พยาบาลกลับไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
คือนอนคุยโทรศัพท์อยู่ที่โต๊ะ
พร้อมบอกให้ตนรอ ส่วนอาการเจ็บ
ก็ให้ทนไปก่อน ทำให้เกิดความขัดแย้ง
เพราะพยาบาลไม่ให้ความร่วมมือ
ในการที่ผู้ป่วยขอเปลี่ยนสถานบริการ
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ
ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุข
ที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล
จากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
ซึ่งการบริการสาธารณะสุขรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง
และมีประสิทธิภาพ จากกรณีข่าวผู้ป่วยไม่ได้รับการบริการ
ที่ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากพยาบาลไม่ได้ใส่ใจผู้ป่วยเพราะเล่นแต่มือถือ
เหตุการณ์นี้ละเมิดกฏหมายหรือไม่ อย่างไร
ถือเป็นการละเมิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีเจตนาในการฆ่าผู้อื่น แต่ก็เป็นการทำร้ายหรือทำให้บุคคลผู้นั้นถึงแก่ความตายด้วยความประมาทเลินเล่อของตัวผู้กระทำ การกระทำผิดมิใช่โดยเจตนา แต่ไร้ซึ่งความระมัดระวัง ทำให้เด็กคนนั้นถึงแก่ความตายปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายทั้งที่ตนสามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ แต่ละเลยในหน้าที่ของตน ทำให้เด็กผู้นั้นมีอันต่อชีวิต เนื่องจากอัตราการเต้นของหัวใจของเด็กปกติควรมากกว่า 100 ครั้ง/นาที แต่ของเด็กในครรภ์เต้นเพียง 50 ครั้ง/นาที แต่พยาบาลไม่แจ้งแพทย์ โดยแม่ของเด็กบอกว่าพยาบาลเล่นโทรศัพท์มือถือบ่อยและยังบอกให้รอปากมดลูกเปิดมากกว่านี้ ตอนนี้ยังคลอดไม่ได้ ก็มีความผิดเช่นเดียวกัน ซึ่งการกระทำลักษณะนี้มีความผิดทางกฎหมาย ดังนี้
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 307 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแล ผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสีย โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พยาบาลสนใจโทรศัพท์มือถือขณะปฏิบัติหน้าที่ ละทิ้งผู้ป่วย ละเลยไม่สนใจผู้ป่วย จนทำให้เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ จนถึงเเก่ชีวิต
พิจารณาด้านจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม
ใครมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่มีจริยธรรมบ้าง อย่างไร
พยาบาลนอนคุยโทรศัพท์อยู่ที่โต๊ะ
เมื่อผู้ป่วยเรียกหา พยาบาลไม่ลุกขึ้นมาดูเพิกเฉยและปล่อยปะละเลย
ใช้คำพูด โดยไม่ไตร่ตรองก่อนพูดออกมา
(ตามประโยคคำพูดของพยาบาลที่ว่า ถึงจะส่งไปตั้งแต่ตอนนั้น เด็กก็คงจะตายอยู่ดี)
พยาบาลประเมินอาการผิดพลาด ชะล่าใจ และบกพร่องในหน้าที่ โดยการไม่แจ้งแพทย์ทราบเมื่อ ทารกในครรภ์ มีสัญญาณที่ไม่ดีหรืออยู่ในภาวะฉุกเฉิน
1.พยาบาลขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ละเลยต่อหลักการและจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้การบริการพยาบาลต่อผู้ป่วยอย่างขาดคุณภาพ ไม่สนใจต่อสภาพจิตใจและความต้องการของผู้ป่วย
พยาบาลประเมินอาการผิดพลาด ชะล่าใจ และบกพร่องในหน้าที่ โดยการไม่แจ้งแพทย์ทราบเมื่อ ทารกในครรภ์ มีสัญญาณที่ไม่ดีหรืออยู่ในภาวะฉุกเฉิน (ซึ่งจากที่ผู้ป่วยอธิบายอาการ พบว่าเด็กมีอัตราการเต้นของหัวใจอ่อนอยู่ก่อนแล้ว คือ 50 ครั้ง/นาที ซึ่งปกติ ค่าควรจะมากกว่า 100 ครั้ง/นาที) ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีหรืออยู่ในภาวะฉุกเฉิน พยาบาลควรที่จะต้องรีบแจ้งแพทย์ให้ทราบทันที เพื่อทำการทำคลอด
ทางโรงพยาบาลแสดงความรับผิดชอบ ดูแลและให้ความช่วยเหลือ ที่ทางโรงพยาบาลสามารถช่วยได้ รวมถึงการเข้าร่วมพิธีศพ เพื่อไว้อาลัย ในขณะการปฏิบัติหน้าที่ หรืออยู่ในเวลางาน ไม่ควรเล่นโทรศัพท์ จนทำให้ส่งผลก่อให้เกิดการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่
ด้านพรบ.วิชาชีพ
มีใครกระทำผิดพรบ.วิชาชีพหรือไม่
อย่างไร
พยาบาล : โดยพยาบาลขาดความระมัดระวัง หรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอตามวิสัยหรือมาตรฐานของวิชาชีพ จนเกิดความเสียหาย อันตรายต่อ สุขภาพ หรือชีวิตแก่ผู้ใช้บริการ ผิดพรบ.วิชาชีพ มาตรา ๓๒ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
จริยธรรมวิชาชีพ 3 ด้าน ได้แก่
การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตราย
การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาของวิชาชีพ
พยาบาลทำอะไรในสถานการณ์ ?
พยาบาลไม่ให้ความสนใจต่ออาการผิดปกติเท่าที่ควร โดยแม่เด็กบอกว่าพยาบาลนอนคุยโทรศัพท์อยู่ที่โต๊ะ พร้อมบอกให้ตนรอ ส่วนอาการเจ็บก็ให้ทนไปก่อน และมีการเช็กความถี่ของอาการเจ็บท้องเป็นระยะ ซึ่งขณะนั้นมีพยาบาลอยู่เพียงคนเดียวเท่านั้น ต่อมาเวลาประมาณ 05.30 น. พยาบาลมาตรวจ พบว่าหัวใจของเด็กเต้นแผ่วกว่าปกติ คือ ประมาณ 50 ครั้งต่อนาที กระทั่งเด็กไม่หายใจ และแพทย์จึงเพิ่งมาที่โรงพยาบาลเวลา 06.00 น. หลังคลอดทารก และพบว่าทารกได้เสียชีวิตไปแล้ว แม่เด็กได้ต่อว่าพยาบาลว่า หากส่งตัวตนไปที่โรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่เวลา 04.00 น. เด็กก็คงจะไม่ตาย แต่พยาบาลกลับตอบกลับมาว่า ถึงจะส่งไปตั้งแต่ตอนนั้น เด็กก็คงจะเสียชีวิตอยู่ดี