Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบ หัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
บทที่3การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบ
หัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือด
(Ischemic heart disease: IHD)
ความพิการของหัวใจชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรังเกิดเนื่องจากการที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไปเพราะโรคเกิดขึ้นในเส้นเลือดแดง โคโรนารี (Coronary)
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี เป็นผลจากการมีไขมันพอกอยู่บนผนังเส้นเลือดนานๆ เข้า ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดจะถูกทำลาย และมีหินปูนมาจับทำให้รูของเส้นเลือดตีบจนอาจอุดตัน (aterosclerosis)สาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยง
กรรมพันธุ์
อายุ มักพบมากกว่า 40 ปี
การสูบบุหรี่
ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
ความเครียด
เบาหวาน
พยาธิสภาพ
ระยะที่ 1
เซลล์เริ่มขาดเลือด (ischemia) ระยะนี้ถ้าไม่มีการตายของเซลล์ หัวใจทำงานได้ตามปกติ ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าพบคลื่นที หัวกลับ (invert T wave)
ระยะที่ 2
เซลล์บาดเจ็บ (injury) ระยะนี้เซลล์เริ่มขาดเลือด ถ้ามีการไหลเวียนเลือดอย่างเพียงพอ เซลล์จะไม่ตาย พบ ช่วงเอสที ยกขึ้น (ST segment elevation)
ระยะที่ 3
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย เนื่องจากขาดเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้เกิดแผลที่กล้ามเนื้อหัวใจ ประสิทธิภาพในการหดรัดตัวลดลง ส่งผลให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลงตามขนาดการตาย การตรวจคลื่นคิว (Q wave)
การรักษาและการพยาบาลผู้ป่วย
การให้ยา
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilator)
ยาปิดกั้นเบต้า (Beta-blocking agent)
ยาต้านแคลเซี่ยม (Calcium channel blockers)
การผ่าตัด
Coronary Atery Bypass Graft : CABG
เป็นการผ่าตัด โดยการเอาเส้นลือดบริเวณอื่นของผู้ป่วยมาต่อคร่อมบริเวณที่อุดกั้น พิจารณาทำในรายที่มีอาการ Anginapactoris รุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และไม่ตอบสนองต่อยา
Precutaneous Transluminar Coronary Agioplasty :PTCA
เป็นการเปิดขยายเส้นเลือดโคโรนารีที่ถูกอุดกั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม วิธีการ คือ จะทำร่วมกับ Cardiaccatheterization เมื่อพบบริเวณที่อุดกั้นแล้ว แพทย์จะสอดสายสวนซึ่งมีลูกโป่งอยู่ท่อปลายสาย ให้อยู่บริเวณที่มีการอุดตัน ใส่ลมเข้าไปในลูกโป่ง เมื่อลูกโป่งขยายใหญ่ จะไปเบียดก้อนที่ทำให้เกิดการอุดตนในบริเวณนั้นแฟบลง ทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นเลือดเพิ่มขึ้น
(ภาวะหัวใจล้มเหลว)Congestive Heart Failure
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย กลไกการปรับชดเชยไม่สามารถที่จะปรับชดเชยได้อีกต่อไป
สาเหตุ
การหดตัวองกล้ามเนื้อหัวใจลดลงมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีของเหลวในเยื่อหุ้มหัวใจ เกิดพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ กลามเนื้อหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก จาก การเพิ่มแรงต้านทานของเส้นเลือด การเพิ่มปริมาณเลือดก่อนบีบตัวในโรคลิ้นหัวใจรั่วภาวะร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น และการคั่งของน้ำในระบบไหลเวียน
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยหอบ หายใจขัด
เจ็บหน้าอก
น้ำหนักลด
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
การพยาบาล
บันทึกสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว ปริมาณปัสสาวะและความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง
จัดท่านอนที่สุขสบาย ส่งสริมการหายใจโดยการนอนศีรษะสูง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับสารเหลวทางหลอดเลือดดำ
ดูแลให้ได้รับยา Isoproterenal เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นและบีบตัว ของหัวใจ รวมทั้งลดแรงต้านทานของเส้นเลือดดำทั่วร่างกาย ทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจเพิ่มขึ้น
เตรียมเครื่องมือในการฟื้นคืนชีพให้พร้อม
ประเมินระดับความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะที่เกิดขึ้น การรักษา เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถาม ระบายความรู้สึก
หลังเจาะช่องเยื่อหุ้มหัวใจ บันทึกของเหลว ปริมาณ และเก็บสิ่งส่งตรวจบันทึกสัญญาณชีพ สังเกตภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
ลิ้นไมตรัลตีบ (Mitral Stenosis)
ลิ้นหนาตัวขึ้นและอาจจะมีหินปูนมาจับทำให้ลิ้นไม่เคลื่อนไหวตามปกติทำให้เลือดเข้าสู่เวนตริเคิลซ้ายลดลง
พยาธิสภาพ
:มีการเชื่อมติดกันของกลีบลิ้นซึ่งเกิดขึ้นบริเวณของลิ้น และพังผืดและแผลเป็นที่เกิดขึ้นที่หัวใจซึ่งต่อมาจะแข็งและหดตัว chordae tendineae อักเสบเชื่อมกันเป็นแผลเป็นซึ่งจะหดสั้นลงมีหินปูนเกาะจับที่กลีบลิ้นเมื่อเป็นเวลานาน
อาการและอาการแสดง
: ใจสั่น หอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก ชีพจรค่อนข้างเบาและได้ยินเสียงฟู่กลางไดแอสโตล
ลิ้นไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation)
การผิดปกติของลิ้นไมตรัลทำให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดจากเวนตริเคิลซ้ายไปยังเอเตรียมขวา
พยาธิสภาพ :
เมื่อเวนตริเคิลซ้ายบีบตัวเลือดบางส่วนไหลกลับสู่เอเตรียมซ้ายทำให้การสูบฉีดเลือดลดลง Pressure ในเอเตรียมซ้ายสูงขึ้น ขนาดโตขึ้นเกิดภาวะปอดบวมน้ำทำให้เวนตริเคิลขวาล้มเหลว
อาการและอาการแสดง
: หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ใจสั่น
ลิ้นเอออร์ติดตีบ (Aortic Stenosis)
ลิ้นหน้าตัวขึ้นและมีการยึดติดของกลีบลิ้นซึ่งเป็นผลจากการมีหินปูนมาเกาะจับทำให้รูเปิดของเออร์ติคแคบลง
พยาธิสภาพ :
เมื่อลิ้นมีการตีบแคบมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไปจะมีความแตกต่างของความดันเลือดระหว่างเวนตริเคิลซ้ายและเอออร์ต้าเลือดไหลผ่านออกไปได้ช้ามาก เวนตริเคิลจึงต้องบีบตัวแรงและนานขึ้นกว่าปกติจึงทำให้ผนังหนาตัวขึ้นความยืดหยุ่นลดลง
อาการและอาการแสดง
: เจ็บหน้าอก เป็นลมหมดสติ เหนื่อยหอบ
ลิ้นเอออร์ติครั่ว (Aortic regurgitation)
ความผิดปกติของลิ้นทำให้เลือดออกจากเวนตริเคิลซ้ายไปเอออร์ต้าไหลย้อนกลับเข้าสู่เวนตริเติลซ้าย
Inflammations and Infections (การอักเสบและการติดเชื้อ)
Pericarditis
(โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ)
สาเหตุ :
การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุ ไวรัส แบคทีเรีย Chronic PericarditisTB การฉายรังสี Chemotherapy
อาการและอาการแสดง :
เจ็บปวดร้าวไปที่คอไหล่ หลัง ต้นแขนดีขึ้นเมื่อนั่งก้มตัวไปข้างหน้า หายใจลำบาก
การรักษา :
ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ผู้ป้วยที่มีภาวะ Constrictive Pericarditis รักษาแบบผู้ป่วยหัวใจวาย การเจาะช่องทำ Pericadial eindow ในรายที่ติดเชื้อเรื้อรัง
การพยาบาล :
มุ่งเน้นในการบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกโดยลดการอักเสบ