Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด - Coggle…
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด
การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal infection)
การติดเชื้อแบคทีเรียของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีภายหลังคลอด เกิดขึ้นตั้งแต่
ระยะหลังคลอด ถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
Temp : 38 ํC ขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อย2วัน โดยเฉพาะ 10 วันแรกหลังคลอด ยกเว้น 24 ชม.แรกหลังคลอด
มีสาเหตุจากการคลอดเท่านั้น
สาเหตุส่งเสริม 1. ปัจจัยเสี่ยงทั่วไป - Anemia - Malnitrition - มีประวัติการเป็น DM - มีการอักเสบของมดลูก/ปากมดลูกมาก่อน
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการคลอด - Prolong rupture of membrane - จำนวนครั้งของการตรวจภายใน - ระยะเวลาการคลอดที่ยาวนาน - การทำหัตถการ - การมีแผลฉีกขาดในช่องคลอด - การล้วงรก - การมีเศษรกและเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
ภาวะบวมเลือดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
(Vulva Hematoma)
การฉีกขาดของหลอดเลือดดำบริเวณช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทำให้เลือดคั่งค้างรวมเป็นถุงโปร่งเห็นได้ชัดพบในรายที่มีการเย็บแผลฝีเย็บบกพร่อง ทำให้เลือดออกบริเวณแผลฝีเย็บ
อาการและอาการแสดง : 1. ผู้ป่วยจะอาการปวดบริเวณที่มีก้อนเลือดคั่งชัดเจน
ถ้าเป็นในช่องคลอดผู้ป่วยจะบอกว่ารู้สึกปวดถ่วงในช่องคลอด
อาจจะมีปัญหาปัสสาวะ หรืออุจจาระลำบาก
เมื่อตรวจภายในรู้สึกเจ็บปวดมาก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง : 1. มีการบาดเจ็บจากการคลอดทั้งในรายคลอดปกติหรือสูติศาสตร์หัตถการ โดยเฉพาะการใช้คีมช่วยคลลอด 2. เย็บซ่อมบริเวณที่มีการฉีกขาดหรือตัดฝีเย็บไม่ดี 3. การคลอดแบบเฉียบพลัน 4. ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน 5. ทารกตัวโต 6. มารดาหลังคลอดครรภ์แรก 7. มี vulvar varicosities 8. PIH 9. Clotting disorder
การวินิจฉัย : R: Redness แผลฝีเย็บมีสีแดงหรือไม่ E: Edema ลักษณะบวมหรือไม่ E: Ecchymosis ลักษณะช้ำเลือดหรือไม่ D: Discharge มีหนองไหลจากแผลหรือไม่่ A: Approximate ลักษณะของขอบแผลเสมอกันหรือไม่
การรักษา : Hematoma ขนาดเล็กสามารถซึมซับได้เองโดยไม่ต้องผ่าตัด ขนาดใหญ่ เปิดแผลที่เย็บไว้บริเวณที่มีการคั่งของเลือดโดยระบายเลือดออกและ re-suture รักษาตามอาการและใช้น้ำแข็งกดทับเพื่อลดบวม ให้ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ถ้าผู้ป่วยปัสสาวะเองไม่ได้ ต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้
การพยาบาล ดูแลประคบน้ำแข็ง/cold sitz bath เพื่อลดอาการปวด บวม และความไม่สุขสบาย
สังเกตภาวะบวมเลือดของอวัยวะสือบพันธ์
การใช้ Donut ring ลดการกดทับแผล
ประเมินภาวะซีด
เต้านมเป็นฝี (Breast abscess)
ภาวะเต้านมอักเสบที่มีก้อนฝีหนองอยู่ภายใน
เกิดต่อเนื่องจากภาวะเต้านมอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการของฝีที่เต้านม 1. เต้านมข้างที่เป็นฝีจะมีลักษณะบวมแดง ร้อน และเจ็บปวดมาก 2. คลำได้ก้อนที่เจ็บมากของเต้านม และสีของผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนไปจากปกติ 3. จะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อตามตัว และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ 4. ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและเจ็บร่วม 5. หากปล่อยไว้ไม่รักษา บางครั้งอาจทำให้ฝีแตกและมีหนองไหลออกมาได้
การรักษา : โดยทั่วไปแนะนำให้ดูดหนองออกโดยใช้เข็มขนาดใหญ่ (Needle aspiration)
Incision and Drainage กรณีหนองเยอะ
ให้ยาปฏิชีวนะ
ให้ยาแก้ปวด
วัดสัญญาณชีพ
การพยาบาล : - แนะนำให้สวมเสื้อชั้นในช่วยพยุงเต้านม - ระหว่างการรักษามารดาสามารถคงการให้นมลูกต่อได้ หากตำแหน่งของฝีหรือการเจาะดูดอยู่ห่างจากหัวนมและไม่รบกวนการเข้าเต้า - อาจต้องปั๊มน้ำนมออกด้วยอุปกรณ์ถ้าจำเป็น - ถ้าหัวนมเป็นแผลอาจใช้ nipple shield ครอบขณะให้นม - ให้กำลังใจ โดยอธิบายให้ทราบถึงการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
เต้านมอักเสบ (Mastitis)
การอักเสบ บวม แดง ร้อนของเต้านม เป็นก้อนแข็ง กดเจ็บ มักจะเป็นข้างเดียวและเป็นบางตำแหน่ง สาเหตุ : หัวนมแตก ท่อน้ำนมอุดตัน หรือเต้านมคัดที่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
การวินิจฉัย : บริเวณเต้านมบวมแดงร้อน แข็งตึงใหญ่ ปวดเต้านมมาก กดเจ็บ มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมออกน้อย มีไข้สูง 38.3-40 องศาเซลเซียส หากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เป็นฝีที่เต้านมได้
การรักษา : ใช้ลูกดูดนมจากเต้าบ่อยขึ้น อย่างน้อยทุก 2-3 ชั่วโมง หรือบ่อยมากกว่านั้น
ถ้ามีน้ำนมค้างอยู่ในเต้าให้เอาออกให้มากที่สุดจนเกลี้ยงเต้า
การประคบด้วยน้ำแข็ง เพราะความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมในเบื้องต้น
ให้ยา Antibiotic
การพยาบาล 1. แนะนำให้ทำความสะอาดหัวนม ประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น 3-5 นาทีก่อนให้ลูกดูดนม 2. ให้ลูกดูดนมข้างที่อักเสบก่อน เพื่อไม่ให้น้ำนมคั่งเกินไป แต่หากมีอาการเจ็บมากให้ดูดข้างที่ดีก่อน เมื่อน้ำนมไหลดีแล้วจึงเปลี่ยนมาดูดข้างที่อักเสบ 3. หากยังมีน้ำนมค้างอยู่ให้บีบทิ้งหรือบีบเก็บไว้ในช่องแช่แข็งจนเกลี้ยงเต้า 4. ถ้าหัวนมเป็นแผลอาจใช้ nipple shield ครอบขณะให้นม 5. แนะนำสวมเสื้อชั้นในช่วยพยุงเต้านม 6. ให้กำลังใจ โดยอธิบายให้ทราบถึงการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (Endometritis)
มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในมดลูก - มักเริ่มที่บริเวณรกเกาะแล้วลามไปเยื่อบุโพรงมดลูกชั้นอื่นๆ
อาการ&อาการแสดง - มักเริ่มต้นใน 48 ชม. แรกหลังคลอด
ไข้สูงระหว่าง 38.5-40 ํC
ปวดท้องน้อยบริเวณมดลูก
ตรวจภายในพบมดลูกกดเจ็บ อักเสบ - มดลูกเข้าอู่ช้า - มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือน้ำคาวปลากลิ่นเหม็น - การติดเชื้อ beta-hemolytic streptococci มีน้ำคาวปลาปริมาณเล็กน้อยและไม่มีกลิ่นได้
การวินิจฉัย จากอาการและอาการแสดง - จากการตรวจร่างกาย พบระดับมดลูกโตกว่าที่ควรจะเป็น กดเจ็บที่มดลูก/ปีกมดลูก เมื่อตรวจทางช่องคลอด - จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ - เพาะเชื้อบริเวณที่ติดเชื้อ-พบเชื้อก่อโรค จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ - เพาะเชื้อบริเวณที่ติดเชื้อ-พบเชื้อก่อโรค - ตรวจเลือดพบ NE สูงขึ้น
การรักษา - ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
Supportive treatment
ถ้ามีเศษรกค้างจำเป็นต้องขูดมดลูก - สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก คลึงมดลูกถ้ามดลูกไม่หดรัดตัว - แนะนำให้มารดานอนคว่ำใช้หมอนรองท้องน้อย เพื่อให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที - นอนท่า Fowler's position ส่งเสริมการไหลของน้ำคาวปลา
แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์
งดการสวนล้างช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
การติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บ (Episiotomy wound infection)
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง : มีไข้หลังวันที่ 2 ของการคลอด เจ็บแผลฝีเย็บมาก แผลแยก หรือฝีหนอง
จากการเพาะเชื้อ
การพยาบาล : - แนะนำการชำละล้างบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งที่ขับถ่าย และซับให้แห้ง เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มป้องกันการหมักหมม - Hot sitz bath/ heat lamp ลดปวด และกระตุ้น blood circulation ช่วยให้แผลหายเร็ว - กระตุ้นให้ลุกเดินบ่อยๆ กระตุ้น blood circulation - ติดตามประเมินลักษณะฝีเย็บทุกวัน - ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา