Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย, นางสาวขวัญพร วุ่นซิ้ว…
บทที่ 8
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงเป็นอยู่ตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงเป็นการต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological) หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสมาชิกตัวประกอบ การเลือก คุณภาพทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมีความแตกต่างกันไปในด้านคุณภาพและด้านศักยภาพของมนุษย์ในแต่ละสังคม ซึ่งมีผลต่อความสามารถของสังคมในการเปลี่ยนแปลงและการแสดงออกทางแนวคิดและคุณสมบัติอื่น ๆ
ปัจจัยทางประชากร (Population) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรและองค์ประกอบของประชากรนับว่ามีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือชุมชนที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนหรือแม้กระทั่งอัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐานและปริมาณของเพศ ก็ย่อมเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยิ่งอีกด้วย ทั้งที่เกิดสภาวการณ์ต่าง ๆ การก่อให้เกิดปัญหาในสังคมและการพัฒนาส่วนรวมด้วย
ปัจจัยทางกายภาพ (Physical) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์มีความเชื่อว่าดวงดาวและดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตทั้งทางดีและไม่ดี และสามารถกำหนดความเป็นไปแห่งชีวิตได้
ปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural) จากการที่บุคคลติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมส่งผลให้การขยายตัวของวัฒนธรรม การเลียนแบบและการหยิบยืมวัฒนธรรม รวมทั้งการผสมผสานทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุและมิใช่วัตถุ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลซึ่งกันและกัน จากนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือสังคม
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological) การนาเอาเทคโนโลยีหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่มาใช้จะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสถาบันและประเพณีบางอย่าง ซึ่งออกเบิร์น (Ogburn,1964 : 562) มีฐานคิดว่า การประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาจะเพิ่มความสลับซับซ้อนของวัฒนธรรม ชีวิตของมนุษย์ก็จะสับสนขึ้นตามเนื้อหาของวัฒนธรรมนั้น และเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยด้านขบวนการสังคม (Social Movement) นักสังคมวิทยาบางกลุ่มพยายามอธิบายให้เห็นว่าขบวนการสังคมทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้เพราะขบวนการสังคมใด ๆ ก็ตามเมื่อดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological) นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าปัจจัยนี้มีความสาคัญอย่างมากที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง มักจะกล่าวว่าสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาจากจิตใจของมนุษย์ เพราะมนุษย์โดยธรรมชาติชอบที่จะเปลี่ยนแปลง ค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ หาประสบการณ์ใหม่ ๆ มนุษย์ในสังคมทุกแห่งจะมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของตน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ความพยายามในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันแสดงออกในรูปของนโยบายสาคัญต่าง ๆ โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับทิศทางการดำเนินการของรัฐหรือถูกดึงให้กลายเป็นประเด็นโต้แย้งทางการเมืองจนก่อให้เกิดปัญหาได้
ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลง การดำเนินการให้เกิดการพัฒนานั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนหรือต้องการใช้จ่ายทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรเงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา แรงงาน ทุน
ปัญหาอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงพัฒนาซึ่งประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ในเรื่องหนึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นที่ไม่คาดคิดมาก่อน
ปัญหาความไม่สมดุลของการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบมิติด้าน ต่าง ๆ ของสังคมเสมอ วิธีการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดก็คือการคาดคะเนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดดุลยภาพหรือความสมดุลของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางภาษา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษา
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาการเปลี่ยนแปลงภายในตัวภาษานั้นขึ้นกับคุณสมบัติของภาษา 2 ประการ
ความสมมาตร (Symmetry) ในภาษาซึ่งเห็นได้ในระบบเสียง
ความประหยัด หมายถึงการที่ภาษาจะไม่อนุญาตให้คำที่มีรูปเหมือนกัน 2 รูป
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา
ปัจจัยทางสังคมปัจจัยทางสังคมเป็นปัจจัยภายนอกภาษาที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การอพยพย้ายถิ่น ซึ่งทำให้กลุ่มชนย้ายไปอยู่ในที่ที่พูดภาษาต่างจากตน การติดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่
ระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีการพิมพ์
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
การปฏิรูปการศึกษา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453)
ภาษาไทยยุคใหม่กับโลกสมัยที่เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยสมัยใหม่ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยสมัยใหม่การเปลี่ยนแปลงภาษามีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ผลที่ตามมาจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป
การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
การเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมภาษาดั้งเดิมของไทยซึ่งสลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก ส่งผลให้ละเลยและหลงลืมเด็กยุคใหม่หลงลืมวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นสิ่งดีงามไปแต่กลับไปเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก
ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามา เช่น การพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นับเป็นสื่ออันสำคัญที่ทำให้วัยรุ่น ได้รับข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ ยอมรับและปรับเปลี่ยนภาษาไทยมากขึ้น โดยมุ่งความทันสมัย ไม่คำนึงถึงรากฐานวัฒนธรรมภาษาเดิม
ความเจริญทางด้านสังคมและชุมชนต่าง ๆ
ความอยู่รอดของภาษาไทยในยุคดิจิตอล
ปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่าน พ่อแม่ผู้ปกครองควรปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่านให้กับบุตรหลาน
ปลุกจิตสำนึกในการหวงแหนภาษาไทยและรู้กาลเทศะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
เปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อเรารู้ว่าคำใดใช้ผิดหรือถูก คำใดควรหรือไม่ควรใช้กับบริบท
ภาษาไทยในยุค 4.0
เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
นางสาวขวัญพร วุ่นซิ้ว รหัสนิสิต 60205665 วิทยาลัยการศึกษาชีววิทยา เซค 7