Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 บทบาทความรับผิดชอบของพยาบาลในการดูแลผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหาย…
บทที่ 10
บทบาทความรับผิดชอบของพยาบาลในการดูแลผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
การให้ออกซิเจนประเภทต่างๆ
Nasal Cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้ 24-44 % สายเล็กๆ ที่นำออกซิเจนควรอยู่ลึกในจมูกประมาณ 1 ซม. ข้อดี คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายกว่าอุปกรณ์แบบอื่น และมีราคาถูก
ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน
ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับแปรผันตามการหายใจ ถ้าหายใจเร็ว หอบอยู่ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และถ้าเปิดออกซิเจนแรง จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก
Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจนใช้อัตรา 5-10 ลิตร/นาที ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้ 60-100 % การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า
ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน
ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5-10 ลิตร/นาที เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย
Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือ หน้ากากออกซิเจนมีถุง
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 1-10 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตว่าถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของคนไข้
ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน
ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 1-10 ลิตร/นาที เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย
การพยาบาลผู้ป่วยขณะได้รับออกซิเจน
การดูแลผู้ป่วยขณะที่ให้ออกซิเจน จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเน้นที่การดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถประเมินได้จากอาการผู้ป่วย และการหมั่นตรวจดูอุปกรณ์ ที่ให้ออกซิเจนและต้องการดูแลให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจด้วย
1. หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
1.1 ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดูลักษณะ และอัตราเร็วของการหายใจ ความดันโลหิตและชีพจร
1.2 ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนังว่ามีอาการเขียวหรือไม่ ในรายที่ให้ออกซิเจนทางกระโจมสังเกตอาการหนาวสั่นด้วย
1.3 ระดับความรู้สึกตัว
1.4 วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง (Tridal Volume) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักและมีเครื่องมือวัดโดยเฉพาะ
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
2.1 ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เลื่อนหลุดจากที่รอยต่อต่างๆ ต้องคงที่ไม่บิดงอ ไม่อุดตัน
2.2ขวดทำความชื้นมีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
3.ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way) ให้โล่งตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดออกซิเจน จาการ
3.1 การจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย และปอดขยายได้เต็มที่โดยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
3.2 ดูดเสมหะที่ค้างตามท่าทางเดินหายใจเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
3.3 สอนการไออย่างถูกวิธี เพื่อให้ระบายเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก2-3 ชั่วโมง ผู้ป่วยมักคอแห้ง มีกลิ่นปาก เจ็บคอ พยาบาลควรดูแล
4.1 ให้จิบน้ำบ่อยๆ
4.2 ถ้าเจ็บคอ ให้ล้างปากด้วยน้ำยา หรือบ้วนด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ
กิจกรรมการพยาบาล
1.เพิ่มความสามารถในการขับเสมหะของผู้ป่วย
การทํากายภาพบําบัดทางเดินหายใจ การดูดเสมหะ (tracheal suction) การให้ละอองไอน้ำและความชื้น
การดูดเสมหะ
พบปัจจัยเสี่ยงต่อเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยขับเสมหะออกเองไม่ได้ เสมหะปริมาณมาก ลักษณะเสมหะเหนียว
การประเมินที่ควรหาความผิดปกติอื่นๆ ด้วย เนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจนของผู้ป่วยอาจมีสาเหตุนอกเหนือจากเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
อุปกรณ์
เครื่องดูดเสมหะ
สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ(เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย)
ท่อต่อลักษณะรูปตัว Y
ถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ
Mask
สำลีปราศจากเชื้อ
แอลกอฮอล์ 70%
น้ำสะอาดปราศจากเชื้อ/ น้ำต้มสุก ใส่ในขวดขนาด 500-1000 ml. สำหรับล้างสายดูดเสมหะ
ภาชนะใส่ถุงมือและสายดูดหลังภายหลังกานใช้งาน