Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระ…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหารและน้ำ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การใส่สายจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร Nasogastric tube / NG tube
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นทางให้อาหาร น้ําหรือยา
เป็นการลดแรงดันจากกระเพาะอาหารและลําไส้
เป็นทางเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร เพื่อยับยั้งการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลําไส้ส่วนต้น
เพื่อล้างในกระเพาะอาหาร
เพื่อดูดเอาสิ่งที่ค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์
ถาดสี่เหลี่ยม 1 ใบ สําหรับใส่ของใช้
สาย Nasogastric tube disposable
กระบอกฉีดยาหัวโต
K-Y Jelly หรือ Xylocaine Jelly
ชามรูปไต 1 ใบ
ผ้ากอซ 1-2 ผืน
ผ้ากันเปื้อน 1 ผืน 8. ไม้พันสําลี ชุบ N.S.S. 0.9%
หูฟัง (Stetchtoscope) 10. น้ําดื่ม 1 แก้ว พร้อมหลอดดูด
ถุงมือสะอาด 1 คู่
การให้อาหารทางสายยาง (feeding)
การให้อาหารเหลวผ่านทางสายกระเพาะอาหารโดยใส่เข้าทางจมูกหรือปาก ลงสู่กระเพาะอาหารโดยตรง
วัตถุประสงค์การให้อาหาร
เพื่อป้องกันและบําบัดภาวะขาดสารอาหาร
อุปกรณ์
ถาดสําหรับใส่ของใช้ 1 ใบ
หูฟัง
ชามรูปไต
แก้วใส่น้ําสะอาด 50-100 ซี.ซี.
อาหารเหลวตามตามแผนการรักษา
กระบอกฉีดยา
ผ้ารองกันเปื้อน 1 ผืน
สําลีชุบ N.S.S 0.9 %
เพื่อให้อาหารและน้ําแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการให้อาหารทางปากแต่การทํางานของระบบทางเดินอาหารปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
วัตถุประสงค์
เพื่อล้างลําไส้ใหญ่ให้สะอาดก่อนการสวนเก็บ
เพื่อล้างลําไส้ใหญ่ให้สะอาดในรายที่เตรียมผ่าตัด
เพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระออกจากลําไส้
น้ํายาที่ใช้สําหรับสวนอุจจาระ
น้ําสบู่ การสวนด้วยน้ําสบู่เรียกว่า S.S.E. (Soap Sud Enema) อัตราส่วนผสมสบู่เหลว 30 ml. ต่อ
น้ําอุ่น 1,000 ml.
น้ําแกลือ การสวนด้วยน้ําเกลือ (NSS. = Normal Saline 0.9 %)
น้ําต้มอุ่น
หลักทั่วไปและข้อคํานึงในการสวนอุจจาระ
อย่าสวนอุจจาระบ่อยเกินไป เพราะจะทําให้ติดนิสัย
ต้องให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายเสมอ
ผู้ที่คลอด ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร เด็กเล็ก ๆ หรือผู้ที่มีการเย็บบริเวณฝีเย็บ ต้องใช้สายสวนในการระบายก๊าซ ห้าม ใช้หัวสวน
ถ้ามีแผลบริเวณทวารหนักต้องระวังแผลสกปรก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับปัสสาวะการประเมินการขับถ่ายปัสสาวะ
อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะลําบาก (Dysuria) มีลักษณะถ่ายไม่ออก ถ่ายขัด ถ่ายไม่สุด
ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งหรือถ่ายปัสสาวะกระปริบกระปรอย
ถ่ายปัสสาวะไม่ออก (Urinary retention) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะจํานวนมากคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะแต่ไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะออกได้
กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence) เป็นภาวะที่ปัสสาวะเล็ดไหลออกมาหรือกลั้นไม่ได้ ถ่าย
ออกทันทีที่ปวด เป็นต้น
การสวนปัสสาวะ (Catheterization)
การสวนปัสสาวะแบบเป็นระยะ ๆ หรือเป็นครั้งคราว (Intermittent catheter) การสวนปัสสาวะแบบเป็นระยะ ๆ หรือเป็นครั้งคราว เป็นการสอดใส่สายสวนที่ปราศจาคเชื้อผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
-ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้เนื่องจากบริเวณไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
-ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากปัสสาวะครั้งสุดท้ายเนื่องจากท่อปัสสาวะ
-ต้องการให้กระเพาะปัสสาวะว่างในกรณีที่ต้องทําการผ่าตัดหรือเตรียมตรวจ
-วัดปริมาณของปัสสาวะค้าง (Residual urine)
การสวนปัสสาวะค้างไว้ (Retention of urethral catheter)
การสวนปัสสาวะค้างไว้ เป็นการสอดใส่สายสวนที่ปราศจากเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะให้ไหลออกสู่ภายนอกและคาสายส่วนไว้เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกได้ตลอดเวลา
อุปกรณ์ในการสวนปัสสาวะ
ชุดสวนปัสสาวะ ซึ่งประกอบด้วย ขันใบใหญ่ขันใบเล็ก สําลีแห้ง ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
สายสวนปัสสาวะ (foley ‘s Cath) กรณีส่วนทิ้งใช้สายตรง กรณีส่วนคาใช้สายสวนปัสสาวะชนิด2 หาง เด็กใช้ขนาด 8-10 Fr. ผู้ใหญ่เพศหญิงใช้ขนาด 14-16 Fr. ผู้ใหญ่เพศชายใช้ขนาด 16-20 Fr.
กรณีสวนล้างกระเพาะปัสสาวะให้ใช้สายสวนปัสสาวะชนิด 3 หาง ขนาด 18-20 Fr.
ถุงรองรับปัสสาวะ (urine Bag) กรณีสวนคา
สารละลายฆ่าเชื้อ ได้แก่Savlon 1:100 หรือ Normal Saline Solution (0.9% NSS)
สารหล่อลื่น, Transfer forceps
มือ Sterline 2 คู่
ผ้าปิดตาถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกพร้อมชามโรคไต เตรียมกระบอกฉีดยาขนาด 10 ml. และน้ําสะอาดปราศจากเชื้อ (Sterile water) 10 ml. กรณีส่วนคา พลาสเตอร์ หรือ Transpore