Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาการคิด - Coggle Diagram
การพัฒนาการคิด
4.2 สุนทรียสนทนา
4.2.1 ความหมาย
สุนทรียสนทนา (dialogue) หมายถึง
การไหลเวียนของคำและประโยคในวงสนทนาของบุคคลที่ถือว่าเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน ปราศจากอคติ (bias)
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนเกิดปัญญาญาณ (intuitive knowledge)
สุนทรียสนทนาจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาศักยภาพทางปัญญา เป็นการเปิดมิติการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.2.2 แนวทางปฏิบัติในวงสุนทรียสนทนา
ผู้ร่วมวงสุนทรียสนทนาต้องปฏิบัติ 3 ประการ ต่อไปนี้
4.2.2.1 ฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
4.2.2.2 มีความอิสระ ผ่อนคลาย ไม่ถูกกดดันจากสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น
4.2.2.3 ให้เกียรติทุกคนในวงสนทนาว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
4.2.3 หลักการจัดวงสุนทรียสนทนา
ในการจัดวงสุนทรียสนทนาผู้จัดและผู้ที่อยู่ในวงสนทนาต้องมีความเข้าใจ ยอมรับ และฝึกฝนตนเองให้เกิดสิ่งต่อไปนี้
4.2.3.1 เข้าใจแนวคิดและปรัชญาของการสนทนาในครั้งนั้นให้ชัดเจน
4.2.3.2 เป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน
ถอดตำแหน่งและศักดิ์ศรีออกไปจากความคิดและความรู้สึก เมตตาต่อตนเอง คือ ปรารถนาให้ตนเองดำรงตนอยู่ในความดีงาม
4.2.3.3 รู้เท่าทันและติดตามความรู้สึกของตน ควบคุมตนเองไม่ให้เกิดอารมณ์และอคติ
เพราะอคติเป็นสิ่งปิดกั้นอิสรภาพในการรับรู้ ทำให้ไม่เกิดปัญญา
4.1 สิ่งที่นักคิดควรจำแนกได้
4.1.1 ความจริง (truth) กับ ความเชื่อ (belief)
ความเชื่อ หมายถึง ความรู้สึกมั่นใจและไว้วางใจในบางสิ่งบางอย่างว่าเป็นความจริงนั้นเป็นอัตวิสัย (subjective)
ขึ้นอยู่กับทัศนะและ ค่านิยมของแต่ละบุคคล ความเชื่อมักได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมและศาสนาด้วย
ความจริง หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่จริงของสิ่งต่าง ๆ สิ่งนั้นเป็นอยู่เช่นนั้น ไม่ขึ้นกับสิ่งอื่น เป็นภววิสัย (objective)
พิสูจน์ได้ด้วยหลักฐาน เช่น โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
4.1.2 ข้อเท็จจริง (fact) กับ ข้อคิดเห็น (opinion)
ข้อเท็จจริง หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทั่วไปและพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นขึ้นเกิดขึ้นและมีอยู่จริง
ข้อคิดเห็น หมายถึง ข้อสรุปตามทัศนะของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น
4.1.3 การกล่าวอ้าง (allusion หรือ assertion) กับ หลักฐาน (evidence)
การกล่าวอ้าง ในที่นี้หมายถึง (1) คำพูดของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือ (2) คำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา หรือ (3)
ความคิดเห็นของคนที่น่าเชื่อถือตามความคิดของผู้กล่าวอ้าง หรือ (4)
การนำเสนอเรื่องราวเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับสารของตนเองเห็นด้วยกับเนื้อหาในสาร
หลักฐาน หมายถึง (1) เครื่องแสดงประกอบเพื่อยืนยัน (2) สิ่งที่ใช้พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง
การกล่าวอ้างอาจทำให้ผู้รับฟังคิดว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งแท้จริงแล้วการกล่าวอ้างนั้นอาจผิด (ไม่เป็นจริง) หรือถูก (เป็นจริง) ก็ได้
จึงจำเป็นต้องมีการพิสูจน์การกล่าวอ้างด้วยหลักฐาน
4.1.4 ความคุ้นเคย (familiarity) กับ ความสมเหตุสมผล (reasonability หรือ validity)
ความคุ้นเคย หมายถึง การที่เคยเห็น เคยทำบ่อย ๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน
ความสมเหตุสมผล หมายถึง การมีเหตุผลสมควร การมีเหตุผลสอดรับกัน
ความคุ้นเคย ความเคยชิน ในทางบวกทำให้เชื่อว่าเป็นความจริง ส่วนในทางลบก็ทำให้เชื่อว่าต้องไม่จริง
แม้ว่าจะมีเหตุผลและหลักฐานสนับสนุนหนักแน่นและสมเหตุสมผลก็จะมองข้าม ผลที่ได้รับคือ การตัดสินประเด็นผิดพลาด
พึงระลึกว่า “ความคุ้นเคยไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง”