Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาดุลยภาพของน้ำเเละสารต่างๆ ในร่างกาย - Coggle Diagram
การรักษาดุลยภาพของน้ำเเละสารต่างๆ ในร่างกาย
ไต (kidney)
โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ (cortex) ชั้นในเรียกว่า เมดัลลา (medulla) ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต (nephron) มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด
หน้าที่ของไต
1.ขับถ่ายของเสีย ซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึมของร่างกาย
2.เกิดสารบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
3.ควบคุมสมดุลน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ของร่างกาย
4.ควบคุมความเป็นกรดเบสของของเหลวในร่างกายโดยการขับไฮโดรเจนไอออน (H+)
สร้างสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ขับถ่ายสารแปลกปลอมที่ร่างกายรับมา
ในร่างกายคนมีน้ำอยู่ประมาณ
65%- 70% ซึ่งร่างกายจะต้องรักษาดุลยภาพนี้ไว้ การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกายทำได้โดยการควบคุมปริมาตรน้ำที่รับเข้าและที่ขับออกจากร่างกายซึ่งมีช่องทางและผ่านกระบวนการต่างๆ
หน่วยไต (Nephron)
หน่วยเป็นท่อ มีปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะที่ ประกอบด้วยเยื่อบาง ๆ สองชั้น คือ โบวแมนส์แคปซูล (Bowman’s Capsule) ภายในโบวแมนส์แคปซูล จะมีกลุ่มเส้นเลือดฝอย เรียกว่า โกลเมอรูลัส (Glomerulus) โบวแมนส์ แคปซูล อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ ท่อส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นของเมดุลลา ท่อที่ติดต่อกับโบวแมนส์ แคปซูล ทำหน้าที่ดูดน้ำและสารที่ร่างกายกลับคืนการกรองจะเกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส โดยผนังเส้นเลือดฝอยทำหน้าที่เป็นเยื่อกรองการลำเลียงน้ำหรือสารอาหารต่าง ๆ เข้าออกจากเซลล์
ไตกับการรักษาสมดุลของน้ำ
ในสภาพที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปหรือร่างกายขาดน้ำจะมีผลทำให้น้ำในเลือดน้อยหรือแรงดันออสโมติกของเลือดสูง(เลือดมีความเข้มข้นสูง) เลือดที่มีแรงดันออสโมติกสูงนี้เมื่อผ่านเข้าไปที่ไฮโปทาลามัส จะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้ายให้หลั่งฮอร์โมน ADH หรือฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก(antidiuretic hormone) เข้าสู่กระแสเลือด แล้วไปกระตุ้นท่อของหน่วยไตให้ดูดน้ำกลับคืนเข้าสู่กระแสเลือดทำให้ปริมาณของน้ำในเลือดสูงขึ้น และร่างกายมีการขับถ่ายน้ำปัสสาวะลดลงและเข้มข้นขึ้น
การดูดกลับของสารที่ไตเกิดขึ้นโดยอาศัย 2 กระบวนการ คือ
– ACTIVE TRANSPORT เป็นการดูดกลับของสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
OSMOSIS เป็นการดูดกลับของน้ำ
การรักษาดุลของร่างกาย (HOMEOSTASIS)
คือ ความสามารถในการปรับระดับของสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของเซลล์ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
การรักษาดุลยภาพของร่างกาย ได้แก่
การปรับระดับของของเหลวในร่างกาย
การปรับระดับของอิออน
การปรับระดับของความเป็นกรดด่าง (pH)
การปรับระดับของความเข้มข้นของสารละลาย
การปรับระดับของการไหลเวียนโลหิต
การปรับระดับของอุณหภูมิ
การปรับระดับของภูมิคุ้มกันต่างๆ
1) การปรับระดับของของเหลวในร่างกายน้ำ
กลไกการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย มีศูนย์กลางควบคุมน้ำอยู่ที่สมองส่วนของไฮโพทาลามัส ดังนั้น ปริมาณน้ำในเลือดหรือความเข้มข้นของสารภายในร่างกาย จะเป็นตัวกระตุ้นไฮโพทาลามัส ทำให้มีอาการกระหายน้ำเกิดขึ้น
2) การปรับระดับของอิออน & ความเข้มข้นของสารละลาย
2.1 การรักษาดุลยภาพของปลาน้ำจืด
ปลาน้ำจืดมีค่าแรงดันออสโมซิส )ค่าแรงดันออสโมซิสแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้นของสารภายในร่างกาย) สูงกว่าค่าแรงดันออสโมซิส่ของน้ำที่ปลาน้ำจืดชนิดนี้อาศัยอยู่
2.2 การรักษาดุลยภาพของปลาทะเล
ปลาทะเลมีความเข้มข้นของเกลือแร่ในร่างกายต่ำกว่าในน้ำทะเล ปลาชนิดนี้จึงมีวิธีปรับตัวเพื่อให้เกิดดุลยภาพ
2.3 การรักษาดุลยภาพของสัตว์ทะเลชั้นต่ำ
ไม่มีกลไกเหมือนปลา แต่มีแรงดันออสโมติกของของเหลวในร่างกายเท่ากับหรือใกล้เคียงกับแรงดันออสโมติกของน้ำทะเล
การรักษาดุลยภาพของคน
ตเป็นอวัยวะที่มีการดูดกลับของแร่ธาตุและน้ำ
การรักษาดุลยภาพของกรด-ด่างในร่างกายคน
ถ้าร่างกายออกกำลังหรือทำงานมาก จะมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ทำให้ pH ของเลือดเป็นกรด
CO2 + H2O H2CO3 H+ + HCO3–
3.1 ระบบหายใจ
3.2 ระบบบัฟเฟอร์
3.3 ระบบขับออกของไต
3.4 การปรับระดับของอุณหภูมิ