Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด(โดยไม่ใช้ยา)และการส่งเสริมส…
การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด(โดยไม่ใช้ยา)และการส่งเสริมสุขภาพในระยะคลอด
แนวปฏิบัติในการบรรเทาการ
เจ็บครรภ์คลอดจาก
หลักฐานเชิงประจักษ์
วิธีการไม่ใช้ยา /
ใช้ร่วมกับการใช้ยา
การปรับท่าทางและการเคลื่อนไหวในระยะคลอด
1 .ในรายที่ปากมดลูกเปิดน้อย และไม่มีข้อห้าม ควรส่งเสริมให้ผู้คลอด เดิน/ยืน ทำให้ความเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของมดลูกลดลง
ในขณะรอคลอดควรปรับในผู้คลอดอยู่ในท่า Upright โดยการนั่งพิง/ท่าคลาน ทำให้ความเจ็บปวดจากการปวดหลังลดลง
ในรายที่ปากมดลูกเปิด 6-8 ซม. ควรปรับให้ผู้คลอดอยู่ในท่านั่งดีกว่าท่านอน และส่งเสริมให้เปลี่ยนท่าทุก 30-60 นาที เพื่อเพิ่มความสุขสบายและลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
การนวดและการสัมผัส
นวดที่บริเวณศีรษะ หลัง มือ เท้า ตามบริเวณที่ผู้คลอดชอบ เป็นเวลานานอย่างน้อย 20 นาที
นวดแบบกดเน้นบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อศีรษะ ทารกเคลื่อนต่ำ
การสัมผัสโดยพยาบาลหรือผู้ดูแล เป็นการสัมผัสเพื่อให้กำลังใจเป็นเวลาอย่างน้อย 5- 10 นาที
การดูแลอย่างต่อเนื่อง
ควรมีทางเลือกให้ผู้คลอด ญาติหรือสามีเข้ามาดูแลในระยะรอคลอด
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง
การบำบัดด้วยน้ำ
1 การประคบร้อน โดยการใช้ผ้าประคบร้อน ประคบบริเวณท้องส่วนล่าง ต้นขา ขาหนีบ ฝีเย็บและหลัง ความร้อนลดจะช่วยความเจ็บปวดเฉียบพลันและอาการปวดหลังได้ดี
2 การประคบเย็น เป็นการใช้ผ้าเย็นเช็ดใบหน้า ล าตัว ช่วยให้สุขสบาย หรือประคบบริเวณหลังและลำคอส่วนหลัง ตามความชอบของผู้คลอด
โปรแกรมการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ
การประเมินการเจ็บครรภ์
วิธีการพยาบาลเพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา
ผลข้างเคียงจากวิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์
การให้ความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์ กับผู้คลอด
เทคนิคของวิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์แบบไม่ใช้ยาแต่ละชนิด
ปัจจัยที่เกี่ยงข้องกับการเจ็บครรภ์
ประเด็นจริยธรรมในการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์
การผ่อนคลายหรือการหายใจ
1 การใช้เทคนิคหายใจ การหายใจที่ถูกต้อง จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างเต็มที่
2 การใช้เทคนิคผ่อนคลาย การเกร็งและคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย ตั้งแต่ ใบหน้า ลำคอ อก แขน ท้อง อุ้งเชิงกราน ขา เท้า
การเตรียมความรู้ก่อนคลอด
เนื้อหาความรู้ที่ให้แก่ผู้คลอด ผู้ดูแล หรือญาติและครอบครัว และเจ้าหน้าที่ในทีมการ ดูแลผู้คลอด เกี่ยวกับ
ลักษณะปวด ความรุนแรง ความแรงที่สัมพันธ์กับระยะการรอคลอด
เครื่องมือที่ใช้ประเมินการเจ็บครรภ์และแนวทางการรายงานการเจ็บครรภ์ให้
เจ้าหน้าที่ ในทีมสุขภาพ ที่ดูแลผู้คลอด
การมีส่วนร่วมของครอบครัว
การพยาบาลเพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา
การวางแผนการพยาบาลเพื่อบรรเทาจากการเจ็บครรภ์ร่วมกันระหว่างผู้คลอด
ผู้ดูแล ญาติ ครอบครัว เจ้าหน้าที่ในทีมการดูแลผู้คลอด
วิธีการ อื่นๆ
1 การปรับสภาพแวดล้อมในห้องรอคลอด เช่น การลดแสงกระตุ้น การลดเสียงรบกวน ทำให้มีผลลดอาการเจ็บครรภ์
2 การส่งเสริมความเป็นส่วนตัว ปิดม่านขณะทำกิจกรรม ทำให้ผู้คลอดเพิ่มความรู้สึกในการควบคุมอาการเจ็บครรภ์
วิธีการใช้ยา
หลังจากใช้ยาแก้ปวดแล้ว หากผู้คลอดไม่สามารถเผชิญ ความเจ็บปวดได้เหมาะสม ควรส่งเสริมให้ผู้คลอดนำเทคนิคบรรเทาปวดที่ใช้ได้ผลก่อนหน้านี้มาใช้ต่อเนื่อง เช่น เทคนิคหายใจ ผ่อนคลาย ปรับท่าทาง
การดูแลเพื่อบรรเทาความปวด
ในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
การกระตุ้นประสาทส่วนปลาย
1. การประคบร้อนและเย็น
โดยประคบ ความร้อนบริเวณท้องส่วนล่าง ขาหนีบ และฝีเย็บ ส่วนการประคบเย็นท าบริเวณหลัง ก้น และฝีเย็บ อุณหภูมิที่ ใช้ต้องไม่สูงหรือต่ำมาก การประคบร้อนใช้อุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส ส่วนการประคบเย็นใช้อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส
2. การบ้าบัดโดยใช้น้ำหรือวารีบ้าบัด
อุณหภูมิของน้ำ 34-38 องศาเซลเซียสจะเหมาะกับการแช่ตัว และอุณหภูมิน้ าต้องไม่เกิน 42 องศาเซลเซียส เพราะหากเกินกว่า นี้จะกระตุ้นให้ปวดได้
3. การสัมผัส การนวด และการกดจุด
ได้แก่ การลูบ (effleurage) การนวด (massage) เช่น การนวดแผนไทย (Thai Traditional Massage) การนวดด้วยน้ำแข็ง (ice massage) เป็นต้น
การส่งเสริมการยับยั้งการส่งกระแสประสาท
จากไขสันหลังในระดับสมอง
1. การใช้ดนตรี
ดนตรีบรรเลงช่วยให้ผู้ฟังผ่อนคลายมากกว่าเพลงที่มีเนื้อร้อง
เสียงดนตรีเพื่อการผ่อนคลายควรมีระดับเสียง 45-50 เดซิเบล
2. การเพ่งและเบี่ยงเบนความสนใจ
ระยะปากมดลูกเปิด 1-4 ซม. แนะน าให้เดิน พูดคุย หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น
ระยะปากมดลูกเปิด 4-8 ซม. แนะน าให้ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นับลมหายใจเข้าออกขณะ มดลูกหดรัดตัว
ระยะปากมดลูกเปิด 8-10 ซม. แนะน าให้หายใจลึกๆ เพ่งตามองที่จุดหนึ่งจุดใดอย่างแน่วแน่ ขณะ มดลูกหดรัดตัว
3. สุคนธบำบัด
ใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชหอม สกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ เนื้อไม้ ราก และเมล็ด ส่วนใหญ่จะใช้ในรูปแบบการสูดดม โดยกลิ่นจะถูกส่งผ่านทางเส้นประสาทรับกลิ่น ไปยังสมองส่วนลิมบิก ส่วนฮิปโปแคมปัส และอะมิกดาลา ซึ่งเป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองด้านอารมณ์ สารในน้ำมันหอมระเหย มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการ รับรู้ต่อความปวด
4. การใช้เทคนิคการหายใจ
4.1 วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดช้า
ระยะปากมดลูกเปิดไม่เกิน 3 ซม. คือ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดหายใจยาว และลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ นับ 1-4 แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 หรือใช้วิธีหายใจเข้าและออกลึกๆ ทางจมูกช้าๆ ทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว ให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อ ล้างปอด 1 ครั้ง เมื่อมดลูกคลายตัว ให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง จากนั้นหายใจตามปกติ
4.2 วิธีหายใจในระยะ
ปากมดลูกเปิดเร็ว
1. หายใจแบบเร็วตื้นและเบา
ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 4-7 ซม. คือ เมื่อมดลูกเริ่มต้นหดรัดตัว ให้ผู้คลอดหายใจยาวและ ลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง จากนั้นให้หายช้าๆ จนกระทั่งมดลูกหดรัดมากขึ้น จึงหายใจเข้าและออกผ่านทั้งทาง ปากและจมูกตื้น เร็ว และเบา ให้รู้สึกว่าหายใจแค่คอ ไม่ต้องออกแรง เมื่อมดลูกเริ่มคลายตัว ให้กลับไปหายใจ แบบช้า จนมดลูกคลายตัวเต็มที่
2. หายใจแบบหอบสลับเป่าปาก
สำหรับระยะเปลี่ยนผ่าน ปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร ระยะนี้มดลูกหดรัดตัวรุนแรงมาก เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้หายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง 60 จากนั้นหายใจเข้าและออกทางปากตื้นๆ เร็วๆ เบาๆติดต่อกัน 3 ครั้ง แล้วเป่าลมออก 1 ครั้ง ต่อเนื่องไป จน มดลูกคลายตัว จึงหายใจล้างปอดอีกครั้ง
4.3 การเบ่งคลอด (pushing)
การเบ่งคลอดแบบวัลซัลวา
คือให้ผู้คลอดเบ่งหลายๆ ครั้งขณะมดลูกหดรัดตัวแต่ละครั้ง หรือกลั้นหายใจนานมากกว่า 6 วินาทีขณะเบ่งคลอด การเบ่งแบบนี้แม้ว่าจะมีผลให้เวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดลดลง แต่อาจส่งผลให้เลือดของสายสะดือเป็นกรดมากขึ้นตามเวลาที่กลั้นเบ่ง ทารกในครรภ์มีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และมีผลต่อคะแนนแอพการ์ของทารกแรกเกิด
การเบ่งคลอดแบบเปิดกล่องเสียง
คือให้ผู้คลอดออกเสียงเบาๆ หรือมีลมเล็ดลอดขณะ เบ่งได้ และใช้เวลาเบ่งแต่ละครั้งนาน 4–8 วินาที พบว่าทำให้ช่วงระยะเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดลดลง ทารกแรกเกิดมีคะแนน
แอพการ์ที่ดี และเลือดที่สายสะดือมีความเป็นกรดน้อย
การลดตัวกระตุ้นความปวด
2. ท่า
.
1 ท่าศีรษะและลำตัวสูง
เป็นท่าที่ศีรษะและกระดูกสันหลังท ามุม 30- 90 องศากับแนวราบ ได้แก่ ท่ากึ่งนั่ง ท่าร็อกกิ้ง ท่านั่ง ท่านั่งยอง ท่าคุกเข่า ท่ายืน
2 ท่าคุกเข่า
การที่ผู้คลอดอยู่ในท่าคุกเข่า ช่วยลดอาการปวดหลังกรณีที่ทารกมีท้ายทอยอยู่ด้านหลัง ช่องเชิงกรานมารดา ได้แก่ ท่าพีเอสยูแคท (PSU Cat) ท่าคุกเข่าโน้มตัวไปข้างหน้าโอบแขนและพักบนลูกบอลที่มีความสูงระดับไหล่ ท่านั่งยอง การเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
1. การเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวในระยะคลอด ได้แก่ การนั่ง การนั่งเก้าอี้โยก การนั่งเอียงไปมาบนลูกบอล การนั่งเก้าอี้ที่กลับหลังและซบหน้าบนพนักพิงเก้าอี้ นั่ง ยอง การเดิน และการเต้นรำช้า ๆ