Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู, นางสาวขวัญพร วุ่นซิ้ว…
บทที่ 5
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ภาษาช่วยธำรงสังคม
ภาษาใช้แสดงไมตรีจิตต่อกัน เช่น การทักทายปราศรัยกัน
ภาษาใช้แสดงกฎเกณฑ์ของสังคมว่าคนในสังคมควรปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ศีล ๕ เป็นแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน
ภาษาใช้แสดงความสัมพันธ์ของบุคคล แต่ละบุคคลมีฐานะ บทบาท และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นต่างๆ กันไป การใช้ภาษาจึงแสดงฐานะและบทบาทในสังคมด้วย
ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ภาษาจะช่วยสะท้อนลักษณะดังกล่าวของบุคคล ทำให้ทราบถึงอุปนิสัย อารมณ์ รสนิยม
ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
มนุษย์อาศัยภาษาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ต่อๆ กันมา ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น
ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
มนุษย์อาศัยภาษาช่วยกำหนดอนาคตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำแผน ทำโครงการ คำสั่ง สัญญา คำพิพากษา
ภาษาช่วยจรรโลงใจ
มนุษย์อาศัยภาษาช่วยให้ความชื่นบาน ให้ความเพลิดเพลิน เช่น บทเพลง นิทาน คำอวยพร
ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์
วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน
วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาและสนองความต้องการของมนุษย์
วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
คุณลักษณะความเป็นครู
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
T – Teaching (การสอน)
E – Ethics (จริยธรรม)
A – Academic (วิชาการ)
C – Cultural Heritage (การสืบทอดวัฒนธรรม)
H – Human Relationship (มนุษยสัมพันธ์)
E – Evaluation (การประเมินผล)
R – Research (การวิจัย)
S – Service (การบริการ)
บทบาทหน้าที่ของครูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง แสดงออกอย่างอิสระและมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม
จัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ใช้แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ ในชุมชน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ แหล่งผลิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฯลฯ
พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ
เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม ปฏิบัติต่อเพื่อนครูและผู้เรียน
จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียน บรรยากาศดึงดูดความสนใจ ท้าทายให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วม
จัดการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน
จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการการเรียนรู้ ประสานข้อมูลระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
บทบาทของครูต่อสังคม
ครูมีบาทบาทต่อสังคม ควรทำตนเป็นผู้นำของชุมชน ช่วยให้การพัฒนาชุมชนให้สงบสุข
ครูควรร่วมในองค์การ สมาคม หรือชมรมที่ส่งเสริมศาสนาวัฒนธรรมและงานสังคมสงเคราะห์
ช่วยส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ช่วยให้คำแนะนำแก่ชุมชน ในเรื่องความมั่นคงของชาติ ป้องกันผู้บ่อนทำลายชาติ
บทบาทของครูต่อเยาวชน
ในฐานะที่เป็นศิลปะทายก มีหน้าที่สั่งสอนวิชาการต่างๆ เพื่อให้ศิษย์นำไปใช้ประกอบอาชีพ
ในฐานะที่เป็นเสมือพ่อแม่คนที่สอง และเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ศิษย์ดำเนินชีวิตโดยราบรื่น ก้าวหน้า สามารถพึ่งตนเองได้ ทำประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ
บทบาทของครูต่อศาสนา
ครูมีบทบาทต่อศาสนา ต้องช่วยทะนุบำรุงรักษาศาสนาให้เจริญมั่นคง
เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อศาสนา ครูจะต้องมีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ
3.อบรมสั่งสอนนักเรียนให้ศรัทธา เลื่อมใสในศาสนามีธรรมะที่เหมาะสมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
เพื่อให้นักเรียนมีความใกล้ชิดกับศาสนามากขึ้น ครูควรนำนักเรียนไปวัดเป็นประจำ
ครูควรมีศาสนสัมพันธ์อันดีกับผู้นับถือศาสนาอื่น
ครูทุกคนควรสนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนา
ครูจะต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนและบุคคลอื่น
บทบาทของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม
เอาความรู้มาประยุกต์ในการสอน โดยต้องใช้ความชำนาญ ความรู้ ประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน ครูจึงเปรียบเสมือนผู้สร้างเครื่องมือสำหรับการใช้ในการพัฒนาสังคม เพียงแต่เครื่องมือที่กล่าวถึงนี้เป็น “คน” ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติต่อไป
บทบาทของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง
บทบาทประการหนึ่งของครูคือต้องเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องและส่งเสริมระบบการปกครอง และในขณะเดียวกัน ก็ต้องช่วยพัฒนาการเมืองการปกครองให้มั่นคง เจริญก้าวหน้า
บทบาทของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
ครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านในโรงเรียน และการออมทรัพย์
บทบาทของครูในการสร้างสันติสุข
พัฒนานักเรียนให้ผู้มีระดับสติปัญญาสูงขึ้น มีความรอบรู้ในสรรพวิทยาการต่างๆ
จัดสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยการให้นักเรียนรู้จักคิด มีเหตุผล จะพูดจะทำหรือจะคิดอะไรมักจะใช้วิจารณญาณ
พยายามปลูกฝังลักษณะนิสัยสำคัญๆ ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน เช่น ความตรงต่อเวลา ความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทน การทำงานหนัก ความรักงาน ตัวครูเองควรเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณภาพ ความประพฤติเหล่านี้
การปลูกฝังค่านิยมและมโนทัศน์ที่ถูกต้องให้นักเรียน
การปลูกฝังความเป็นนักประชาธิปไตยให้แก่นักเรียน
การให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น
การปลูกฝังทางด้านอาชีพ ให้นักเรียนมีทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการอาชีพต่างๆ
บทบาทในการปลูกฝังวัฒนธรรม
บทบาทในการพัฒนาสังคมเมื่อเข้าไปอยู่ในชุมชนใดๆ ก็ตาม ต้องพยายามที่จะหาทางที่จะพัฒนา
บทบาทในการแก้ไขปัญหาในชุมชนเมื่อพบว่า ชุมชนนั้นๆ มีปัญหาแล้วก็ควรหาทางแก้ไขปรับปรุง
การให้ความรู้เกี่ยวกับการนำทรัพยากรธรรมชาติมาให้เป็นประโยชน์
บทบาทของครูในการธำรงความมั่นคงของประเทศ ในการพัฒนาประเทศจะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ
ลักษณะครูที่ดี
ลักษณะครูที่ดีตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา
ปิติ-น่ารัก
ครุ-น่าเคารพ
ภาวนีโย-น่าเจริญใจ
วัตตา-รู้จักพูดให้ได้ผล
วจนักขโม-อดทนต่อถ้อยคำ
คัมภีร์รัญจะ กถัง กัตตา-แถลงเรื่องลึกล้ำได้
โน จักฐาเน นิโยชเย- ไม่ชักนำในเรื่องเหลวไหล
ลักษณะครูที่ดีตามพระราชดำรัส
“ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดทน อดกลั้น ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบ
แบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตนต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องรักษาความซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตา และหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องหมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล”
“ครูนั้นจะเป็นครูจีน ครูไทย ครูฝรั่ง ครูแขก ชาติใดก็ตาม ผู้ที่เป็นครูนั้นจะต้องมีจิใจสูงถ้าครูมีจิตใจสูงก็จะทำงานของตนด้วยความสำเร็จจะเป็นที่นับถือของลูกศิษย์ และเป็นที่เคารพของผู้ที่เป็นประชาชนทั่วๆ “ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประจำปีพุทธศักราช 2524 เมื่อวันที่ 8 กรกาคม พ.ศ. 2524
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
หมวดที่ 1 รอบรู้ สอนดี ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้ ดั
ด้านความรู้และความสามารถในวิชาชีพครู
รู้แผนการศึกษาแห่งชาติ
รู้หลักสูตร
รู้เนื้อหาวิชาที่สอน
ทำการสอนย่างมีประสิทธิภาพ
รู้หลักการวัดและประเมินผล
สอนซ่อมเสริม
พัฒนาการสอน
ด้านสนับสนุนการเรียนการสอน
1) บริการเชิงแนะแนว
2) บริการด้านกิจการนักเรียน
3) บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
4) งานธุรการ
ด้านรอบรู้สถานการณ์บ้านเมืองและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1) ติดตามความเคลื่อนไหวและสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
2) จับประเด็นปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมได้
หมวดที่ 2 มีคุณธรรม จรรยาบรรณ ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้
มีเมตตากรุณา
มีความยุติธรรม
มีความรับผิดชอบ
มีวินัย
มีความขยัน
มีความอดทน
มีความประหยัด
มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู
มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต
หมวดที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนา ประกอบด้วยคุณลักษณะ พฤติกรรมหลักและพฤติกรรมบ่งชี้
1) รู้จักสำรวจและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
2) สนใจใฝ่รู้
3) เพิ่มพูนวิทยฐานะ
4) คิดค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ
เข้าร่วมประชุมกิจกรรมของชุมชนตามความเหมาะสม
ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามวิถีทางประชาธิปไตยแก่ชุมชนโดยประพฤติตนเป็นแบบอย่างและ ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามในโอกาสอันควร
มีส่วนร่วมให้โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการชุมชน พร้อมทั้งพยายามใช้แหล่งวิทยาการชุมชนให้ เป็นประโยชน์
ประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อทำประโยชน์ต่อชุมชน
นำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสู่ชุมชน
เป็นผู้นำในการิเริ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์ประเมินสรรหาครูดีเด่นของคุรุสภา
บุคลิกที่ดี คือ รูปร่างท่าทางดี แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ และมีลักษณะเป็นผู้นำ
มีความรู้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง กระตือรือร้นและสุขภาพแข็งแรง
การสอนดีและปกครองดี คือ อธิบายได้แจ่มแจ้งชัดเจนครบทุกกระบวนความ สอนสนุกสนาน ปกครองดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม
ความประพฤติดี คือ เว้นจากอบายมุขทุกอย่าง แต่ความดีทั้งกาย วาจา ใจ มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง มีความซื่อสัตย์ เสียสละ มีเมตตากรุณา มีความยุติธรรม และมีมานะอดทน
มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี คือ มีอัธยาศัยไมตรีกับคนทุกเพศ ทุกวัย และมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย
นางสาวขวัญพร วุ่นซิ้ว รหัสนิสิต 60205665 วิทยาลัยการศึกษา สาขาชีววิทยา เซค 7