Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่2 การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด (โดยไม่ใช้ยา) …
บทที่2 การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด (โดยไม่ใช้ยา)
และการส่งเสริมสุขภาพในระยะคลอด
อาการปวด คือประสบการณ์ด้านการรับรู้และอารมณ์ที่ไม่ พึงประสงค์อันเกิดเนื่องจาก เนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ
อาการเจ็บครรภ์ในระยะคลอด หมายถึงการรับรู้ถึง ความรู้สึกไม่สุขสบายที่จากบาดเจ็บของ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมดลูก และการยืดขยายและหดรัดตัว เนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ เกิดการขาดเลือด ชั่วขณะ
อาการเจ็บครรภ์และทฤษฎีการเริ่มต้นการคลอด
ทฤษฎีกระตุ้นฮอร์โมนOxytocin
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระหว่าง Estrogen progesterone
ทฤษฎีการหลังฮอร์โมนProstaglandin
ทฤษฎีการยืดขยายของมดลูก
อาการเจ็บครรภ์และกลไกระบบต่างๆ ในร่างกาย
ทฤษฎีควบคุมประตู(Gate control theory) พลังประสาทของความเจ็บปวด จะถูกปรับสัญญาณในระดับไขสันหลังก่อน ส่งขึ้นไปรับรู้ในสมอง
ปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดในระยะคลอด
ด้านมารดา
กระตุ้นบบประสาทซิมพาเธติค PR RR BP สูงขึ้นหลอดเลือดหดตัวปลายมือปลายเท้าเย็นคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกขนลุก
ระดับเปลือกสมอง วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ อารมณ์เปลี่ยน หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ แยกตัว เหนื่อยล้า ความอดทนลดลง
กล้ามเนื้อลายและหลอดเลือดหดตัวเกิด lactic acid และ acidosis ปวดกล้ามเนื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่ายลดลง
ปฏิกิริยาทางจิตสรีระ น้ำเสียงเปลี่ยนไป กระสับกระส่าย
มดลูกไวต่อความเจ็บปวด
ด้านทารก
FHR มีภาวะlate deceleration
สมองของทารกอาจได้รับความกระทบกระเทือนจากการหดรัดตัวของมดลูก
ขณะเจ็บครรภ์เกิด fetal distress
วิธีการดูแลเพื่อบรรเทาความปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
การลดตัวกระตุ้นความปวด
การเคลื่อนไหว
การนั่ง การนั่งเก้าอี้โยก(rocking. )
การนั่ง เอียงไปมาบนลูกบอล(swaying)
ท่า
1 ท่าศีรษะและลำตัวสูง (upright position)
ท่านั่ง (sitting position) ท่านั่งยอง (squatting position)
2 ท่าคุกเข่า (all four or hands and
knees position)
ช่วยการหมุนของศีรษะให้ท้ายทอยมาอยู่ด้านหน้าช่องเชิงกราน
ท่าพีเอสยูแคท (PSU Cat)
หันหน้าไปทางหัวเตียงที่ยกสูง45-60องศาวางหน้า และอกผู้คลอดบนหมอน เข่ายันพื้นแยกห่างกันพอประมาณ
ท่าคุกเข่าโน้มตัวไปข้างหน้าโอบแขนและพักบนลูกบอลที่มีความสูงระดับไหล่
ช่วยให้ทารกที่มี ท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังช่อง เชิงกรานมารดา ก้มมากขึ้นและเคลื่อนสู่ช่องเชิงกรานมารดา
ท่านั่งยอง
ทามุมกับพื้นราบ60-90 องศา
เป็นท่าที่ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวดิ่ง
การเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
การลุกนั่ง การนั่งเก้าอี้โยก การนั่งโยกบนลูกบอล
การเดิน การเต้นรำช้าๆ
มีผลช่วยลดเวลาในระยะที่1
การกระตุ้นประสาทส่วนปลาย
การประคบร้อนและเย็น
ประคบความร้อนบริเวณท้องส่วนล่าง ขาหนีบ และฝีเย็บ อุณหภูมิประมาณ40-50 องศาเซลเซียส
ประคบเย็นทำบริเวณหลัง ก้น และฝีเย็บ อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส
การสัมผัส การนวด และการกดจุด
กระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ ทำให้มี การปิดประตูตามทฤษฎีควบคุมประตู
เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดี
การส่งเสริมการยับยังการส่งกระแสประสาท
จากไขสันหลังในระดับสมอง
การใช้ดนตรี
45-50 เดซิเบล
เปลี่ยนการสั่นสะเทือนของเสียง
เป็นกระแสประสาทส่งไปสมอง
การเพ่งและเบี่ยงเบนความสนใจ
(attention-focusing and distraction)
Cx เปิด 4-6 ซม. ให้ตั้งใจจด่อ นับลมหายใจเข้าออก
Cx เปิด 8-10 ซม. ให้หายใจลึกๆเพ่งมองที่จุดหนึ่งจุดใดอย่างแน่วแน่
CX เปิด 1-4 ซม. ให้เดิน พูดคุย หรืออ่านหนังสือ
สุคนธบำบัด
การใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืช เช่น ดอกไม้ ใบไม้ เปลือกไม้
การใช้ เทคนิคการหายใจ(breathing technique)
เกิดความสมดุลกับการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่ และแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมการเพ่งจุดสนใจไปที่การหายใจ ทั้งยังช่วยให้มีความสมดุลของปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย
วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดช้า ระยะ Cx < 3 เซนติเมตร
ควรรหายใจแบบช้า(slow-deep chest breathing)
วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิด เร็ว
หายใจแบบเร็วตื้นและเบา(shallow
accelerated decelerated breathing)
ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด4-7 เซนติเมตร
หายใจแบบหอบสลับเป่าปาก(shallow breathing with forced blowing out ปากมดลูกเปิด8-10เซนติเมตร
การเบงคลอด (pushing)
การเบ่งคลอดแบบวัลซัลวา
(valsalva pushing) หรือกลั้นหายใจนานมากกว่า6 วินาทีขณะเบ่งคลอด
การเบ่งคลอดแบบเปิดกล่องเสียง (opened glottis pushing)
แต่การเบ่งคลอดแบบเปิดกล่องเสียง
ออกเสียงเบาๆ ขณะเบ่งได้ ใช้เวลาเบ่งแต่ละครั้นาน4–8วินาที
การส่งเสริมความสุขสบายในระยะคลอด
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เช็ดตัวเปลี่ยนเสือผ้าให้หากพบว่าเปื้อน
หรือมีสิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอดเปรอะเปื้อน
ต้องเช็ดทำความสะอาด และใช้ผ้าแห้งรองใต้ก้น
ให้ผู้คลอดบ้วนปากบ่อยๆ
ให้ได้รับสารน้ำทางหลอด เลือดดำเพียงพอเพราะNPO
ช่องปากจะแห้ง ริมฝีปากอาจแตก
การช่วยให้ผ้คลอดเผชิญกับความปวด
และความไม่สุขสบาย
เลือกเพียงหนึ่งวิธีหรือใช้หลายวิธีมาผสมผสานกัน
คำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อความปวดของผู้คลอด ทั้งทางกาย
สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
สามารถให้ยาลดปวดได้ตามแผนการรักษาของแพทย์
การดูแลสิ่งแวดล้อม
จัดให้มีความเป็นส่วนตัวมากเท่าที่จะทำได้
กั้นม่าน เป็นต้น ปูเตียง ด้วยผ้าสะอาด
แห้ง ให้เรียบตึง เสื้อผ้าที่สะอาดและแห้ง
มีผ้ารองเลือดหรือน้ำคร่ำใต้ก้นผู้คลอด เปลี่ยนผ้าให้ทุกครั้ง
อนุญาตให้ญาติเฝ้าคลอดได้
การจัดการความเจ็บปวดในระยะคลอดโดยการใช้ยา
กรณีที่ผู้คลอดอยู่ในระยะActive ปากมดลูกเปิดมากกว่า3ซ.ม.
ผู้คลอดไม่สามารถเผชิญความเจ็บปวดได้เหมาะสม
พิจารณาให้ยาแก้ปวดPethidine หรือยาFentanyl ในผู้คลอดเป็นหอบหืด
แนวทางการจัดการยาFentanyl
ห้ามให้ผู้ป่วยที่แพ้มอร์ฟิน สารที่ออกฤทธิ์เหมือนมอร์ฟิน
ขนาดยาที่ใช้คือ1mcg/kg เตรียมยาเจือจางsterile water for injection
ให้ยาแบบ IV push ช้า ๆ ใช้เวลาอย่างน้อย3-5 นาที
เตียมยาNarcan (Naloxone) ซึ่งเป็นAntidose ของ Fentanyl
ฤทธิ์ของยาและฤทธิ์ข้างเคียง
เช่นภาวะกดการหายใจ กล้ามเนื้อกระตุก อาการหน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน
ให้ผู้ป่วยหลับตาขณะ push ยา เพื่อลดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้
แนวทางการจัดการยาPethidine
( Meperidine )
ไม่สั่งผสมยาฉีดPethidine ร่วมกับยาอื่น
ดูแลให้ยา pethidine 50 mg IV push ช้าๆใช้เวลาอย่าง น้อย3- 5 นาที
สั่งยาPethidine เป็น mg และวิธีการให้ยาชัดเจน
สังเกต / ซักถามอาการของผู้คลอดขณะให้ยาตลอดเวลา
ติดตามอาการข้างเคียง ได้แก่อาการหน้ามืดใจสั่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนเฝ้าระวังป้องกัน นำไม้กั้นเตียงขึ้น ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ยามีผลในการกดการหายใจทั้งมารดาและทารก
ครรภ์จึงควรเตรียมยา Narcan (Naloxone) ให้พร้อมใช้ทันที
ในการพิจารณาการให้ยา ควรให้ยาก่อนคลอดอย่างน้อย1ชม.