Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนทางการพยาบาล - Coggle Diagram
การวางแผนทางการพยาบาล
3.เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากมารดามีปริมาณน้ำนมน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
S:มารดาเล่าว่า “ได้หยุดให้นมลูกไป2 วันทำให้พอลูกกลับมาดูดกลับไม่ค่อยมีน้ำนม และไม่มีใครบอกให้บีบนมไว้ทุกวัน ”
O: (9/9/63)BW 2,240 gms Wt 43 gms
กราฟน้ำหนัก-ส่วนสูง =ผอม
กราฟส่วนสูง-อายุ =เตี้ย
กราฟน้ำหนัก- อายุ=น้อยกว่าเกณฑ์ ความต้องการพลังงานต่อวัน 224-246 kcal/วัน พลังงานที่ได้รับ 9/9/63 BM102+BF= 68 kcal/วัน I/O:BM102+BF/265/PP ไม่อุจจาระ = -163
Urine ที่ควระจะขับถ่ายออกต่อวัน = 54-215 cc/day
วัตถุประสงค์: ทารกได้รับสารน้ำสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน1. ทารกสามารถรับนมได้ ไม่มี Feeding Intolerance คือ สำรอกนม, มี content ค้าง, Bowel ลดลง เป็นต้น 2. ทารกได้รับสารอาหาร และพลังงานเพียงพอต่อความต้องการ ตามแผนการรักษา BM/pregestimil 35 ml x 8 feed3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 20-30 กรัมต่อวัน4. มีความสมดุลของสารน้ำเข้าและออกร่างกาย5. bowel sound 8-12 ครั้ง/นาที
การพยาบาล
1.ประเมินความรู้ความเข้าใจของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
2.สังเกตอาการของความสามารถในการรับนมของทารกลดลง (Feeding intolerance) เช่น Bowel sound ลดลง Gastric contentมีมาก ท้องอืด
3.ดูแลให้ได้รับนมตามแผนการรักษา
-BM/pregestimil 35 ml x 8 feed
4.แนะนำให้มารดากระตุ้นลูกให้ดื่มนมทุก 2-3 ชั่วโมง ตามหลัก 4 ด
5..บันทึกสารน้ำเข้า-ออก I/O ทุก 8 ชม.
6.ประเมิน bowel sound
7.1 แนะนำ 4 วิธี นวดเต้า ช่วยน้ำนมไหลดี
ท่าที่1 ให้คุณแม่นั่งหรือยืนในท่าสบาย ๆ ใช้มือทั้งสองข้างค่อย ๆ นวดศีรษะ ไล่มาที่ต้นคอ ไหล่ ต้นแขน โดยนวดเบา ๆ
ท่าที่ 2 เอามือทั้งสองข้าง วางทาบที่หน้าอก ลักษณะเหมือนผีเสื้อ จากนั้นใช้นิ้วมือค่อย ๆ นวดวนเป็นวงกลมรอบ ๆ เต้านม ประมาณ 5 นาที
ท่าที่ 3 ชูนิ้วขึ้นมา 3 นิ้ว แล้ววางทาบวัดจากหัวนมขึ้นไป 2 ทบ แล้วค่อย ๆ นวดเป็นวงกลม จากเนินเต้าไล่เข้าหาหัวนม นวดให้ทั่วเต้านม หากพบก้อนตรงไหน ให้ค่อย ๆ นวดเป็นวงกลมแล้วดันเข้าหาหัวนม จะช่วยให้น้ำนมไหลดี
ท่าที่ 4 ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือวางระหว่าง หัวนม บีบหัวนม แล้วดันเข้าหาตัวแล้วบิดทำ 3-4 ครั้ง การนวดแบบนี้ ไม่ได้ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม แต่ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายลดอาการปวดเต้า และทำให้น้ำนมไหลดีขึ้น
7.2 แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นวันละ 3,000
ml/day
7.3 แนะนำให้ประคบอุ่นที่เต้านมครั้งละ 5-10 นาที
7.4 แนะนำมารดาเรื่องอาหารกระตุ้นน้ำนม เช่น หัวปลี ใบกะเพรา เมล็ดขนุนต้ม ใบผักชีลาว พริกไทย ขิง ฟักทอง มะรุม ใบแมงลัก กุยช่าย ตำลึง
7.5แนะนำให้หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารต่อไปนี้ ข้าวหมาก ไวน์ สุรา ชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสจัด ของหมักดอง
7.6 แนะนำให้มารดาใช้น้ำสะระแหน่
ทาบริเวณหัวนม ก่อนการให้นมบุตร ทาทิ้งไว้15-30 นาทีก่อนให้นมบุตร แล้วล้างออก/ไม่ล้าง
4.เสี่ยงต่อการเกิดพัฒนาการไม่สมวัยเนื่องจากมารดาขาดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการบุตร
ข้อมูลสนับสนุน :S : มารดาเล่าว่า “ถ้าลูกป่วยกลัวลูกจะมีพัฒนาการช้ากว่าคนอื่น คุณหมอมีวิธีแนะนำแม่ไหมเผื่อกลับบ้านจะได้สอนลูกเพราะแม่ไม่รู้ต้องทำยังไงลืมไปหมดแล้วเพราะลูกห่างกันตั้ง12 ปี” O : ทารกแรกเกิดอายุ 1 เดือน 8วัน (9/9/63)
วัตถุประสงค์: เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องพัฒนาการที่เป็นของเด็กแรกเกิด- 1 เดือน 2.ผู้ปกครองทราบวิธีฝึกทักษะพัฒนาการของเด็กแรกเกิด-1 เดือน
การพยาบาล
1.ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กแรกเกิด-1 เดือน
2.ให้คำแนะนำผู้ปกครองในการฝึกทักษะพัฒนาการของเด็กทั้ง 5 ด้าน
2.1 ด้านการเคลื่อนไหว (GM) “สามารถนอนคว่ำยกศีรษะและหันไปข้างใดข้างหนึ่งได้”วิธีฝึกทักษะ จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำเขย่าของเล่นที่มีเสียงห่างจากหน้าเด็ก 30 cm เมื่อเด็กมองที่ของเล่นแล้วเคลื่อนของเล่นมาทางด้านซ้าย/ขวาเพื่อให้เด็กหันศรีษะตามถ้าเด็กทำไม่ได้ช่วยประคองศรีษะทำซ้ำอีกครั้งโดยเปลี่ยนให้เคลื่อนของเล่นมาทางด้านตรงข้าม
2.2 ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (FM) “มอง-จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายคว่ำหน้าให้อยู่ใกล้ๆเด็กห่างจากหน้าเด็กประมาณ 20 cmตามถึงกึ่งกลางลำตัว”- เรียกให้เด็กสนใจโดยเรียกชื่อเด็กเมื่อเด็กสนใจมองให้เคลื่อนหรือเอียงหน้าไปทางด้านข้างลำตัวเด็กอย่างช้าๆเพื่อให้เด็กมองตาม- เรียกให้เด็กสนใจโดยเรียกชื่อเด็กเมื่อเด็กสนใจมองให้เคลื่อนหรือเอียงหน้าไปทางด้านข้างลำตัวเด็กอย่างช้าๆเพื่อให้เด็กมองตาม- ฝึกเพิ่มเติมโดยใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กสนใจและมองตาม
2.3 ด้านการเข้าใจภาษา (RL)“สะดุ้ง/เคลื่อนไหวร่างกายเมื่อได้ยินเสียงพูดระดับปกติ”
วิธีฝึกทักษะ
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายเรียกชื่อ/พูดคุยกับเด็กจากด้านข้างทีละข้างโดยพูดเสียงดังกว่าปกติ
หากเด็กสะดุ้งหรือขยับตัวให้ยิ้มและสัมผัสตัวเด็กลดเสียงพูดคุยลงเรื่อยๆจนให้อยู่ในระดับปกติ
2.4 ด้านการใช้ภาษา (EL) “ส่งเสียงอ้อแอ้”อุ้มหรือสัมผัสตัวเด็กสบตาแล้วพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงสูงๆต่ำๆเพื่อให้เด็กสนใจและหยุดรอให้เด็กส่งเสียงอ้อแอ้ตอบ
2.5 ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม (PS) “มองจ้องหน้าได้นาน 1-2 วินาที”- จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายหรืออุ้มเด็ก
สบตาพูดคุยส่งเสียงยิ้มหรือทำตาลักษณะต่างๆเช่น ตาโต กระพริบตาเพื่อให้เด็กสนใจมอง