Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน - Coggle Diagram
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
4.1 สถานการณ์พลังงานโลก
ช่วงเเรกมนุษย์ใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ช่วงศตวรรษที่18-19 ยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมและเศรษฐกิจฐานการเกษตรกลายไปเป็นสังคมและเศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม ได้นำพลังงานต่างๆมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมมากมาย จนเข้ายุคปัจจุบัน ความต้องการใช้พลังงานก็ยังสูงขึ้น สถานการณ์พลังงานของโลกจึงขึ้นอยู่กับ จำนวนประชากร ปริมาณการใช้ พลังงานในอนาคต ปริมาณเเหล่งสำรองของพลังงาน ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมจากการใช้ด้วย
4.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์พลังงานโลก
4.2.2 ปริมาณการใช้พลังงานในปัจจุบันและความต้องการใช้พลังงานในอนาคต
แหล่งพลังงานหลักของโลกมาจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เพียง 13% ของพลังงานทั้งโลกได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรืพลังงานทดแทน ในจํานวนนี้ได้มาจากพลังงานที่มีการเผาไหม้และพลังงานขยะของพลังงานหมุนเวียน 10.6% และส่วนที่เหลืออีก 2.4% เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ได้มาจากพลังงานน้ํา พลังงานจากธรณีพิภพ แสงอาทิตย์ลม น้ําขึ้นน้ําลง และคลื่น
เอ็กซอนโมบิล (2555) รายงานการคาดการณ์อนาคตพลังงานโลกเอ็กซอนโมบิล (2555) รายงานการคาดการณ์อนาคตพลังงานโลกอีก 30 ปีข้างหน้า (ค.ศ. 2040) ดังนี้
ปีค.ศ. 2040 ความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30%
2.ในทางกลับกันประเทศ Non OECD จะต้องการพลังงานสูงขึ้นถึง 60% โดยเฉพาะจีนจะต้องการพลังงานสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษหน้า และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเศรษฐกิจและจํานวนประชากรเติบโตสูงสุด
3.ความต้องการพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังคงเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปี ค.ศ. 2040 การผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นกว่า 40% เพื่อสนองความต้องการบริโภคไฟฟ้าของโลก 4. ความต้องการถ่านหินจะเข้าสู่จุดสูงสุดและเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ
เชื้อเพลิงที่นํามาใช้อย่างแพร่หลายยังคงเป็นนํ้ามัน ก๊าซ และถ่านหิน และยังมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของทั้งโลก ทั้งนี้คิดเป็น 80% ของการบริโภคพลังงานในปีค.ศ. 2040
6.ก๊าซธรรมชาติจะเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นและมาแทนที่ถ่านหิน จนเป็นอันดับสองรองจากนํ้ามัน เมื่อถึงปี ค.ศ.2040 ความต้องการก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นเป็น 60% ทั้งนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติจะมาจากแหล่งที่แตกต่างไปจากเดิม
4.2.3 ปริมาณสํารองของแหล่งพลังงานที่มีเหลืออยู่
พบว่าแหล่งน้ํามันส่วนใหญ่อยู่ในตะวันออกกลาง(49%) รองลงมาอเมริกาใต้รวมกับอเมริกากลางที่มีประมาณ (20%) อเมริกาเหนือมีประมาณ (13%) บริเวณยุโรปรวมกับยูโรเชียมีปริมาณ(8%) ส่วนบริเวณที่มีเหลือค่อนข้างน้อยคือ บริเวณแอฟริกามีประมาณ(8.0%) และเอเชียแปซิฟิกมีเหลืออยู่เพียง(3%)
4.2.1 การเพิ่มจํานวนประชากรโลก
ผลจากการเพิ่มจํานวนประชากร และการขยายตัวทางเศรษฐกิจทําให้ความต้องการพลังงานในปี 2050 มีแนวโน้มขยายตัวตามไปด้วย ทั้งนี้เมื่อดูจากการประมาณของ International Energy Agency พบว่า ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี ค.ศ. 2010
4.3. สถานการณ์พลังงานของแต่ละภูมิภาค
ความต้องการพลังงานของประเทศอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นช้าลง แต่ประเทศกําลังพัฒนาจะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะเพิ่มจาก 40% ในปัจจุบัน เป็น 55% ในปีค.ศ. 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย
4.2.2 อเมริกาเหนือ จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 0.7%
4.3.3 เอเชียจะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 3.7%
4.3.1 สหภาพยุโรป จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 0.4% โดยเชื้อเพลิงที่ยังคงเป็นที่ต้องการมากที่สุด
ยังคงเป็นน้ํามัน (39%) ความต้องการก๊าซจะเพิ่มขึ้นเป็น 27% ส่วนถ่านหินและลิกไนต์จะตกลงไปเป็น 16%
4.3.4 กลุ่มประเทศลาตินอเมริกามีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 2.4% โดยสัดส่วนของการใช้น้ํามันจะลดน้อยลง และจะเปลี่ยนไปใช้ก๊าซ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงมีอยู่เป็นจํานวนมากในภูมิภาคนี้
4.4 สถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทย
4.4.1 ปริมาณการใช้พลังงานและแหล่งพลังงาน การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับการใช้พลังงานของประเทศต่าง ๆ ในโลก กล่าวคือ พลังงานเชิงพาณิชย์ (commercial energy) ซึ่งพลังงานที่มีการใช้มากที่สุดได้แก่
4.4.2 รายงานสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย
เบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้น้ํามันเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว
ก. การใช้น้ํามัน จะเพิ่มขึ้น 3.5% เนื่องจากราคาน้ํามันยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ํา ทําให้มีการใช้น้ํามัน
ข. การใช้ก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5% จากการใช้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า
ค. การใช้ถ่านหิน คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4% จากการใช้ที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทดแทน
ง. การใช้ลิกไนต์ คาดว่าจะลดลง 21.2% ตามการใช้ที่ลดลงจากการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
จ. การใช้ไฟฟ้าพลังน้ําและไฟฟ้านําเข้าจาก สปป. ลาว คาดว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ําจะลดลง 4.5%
4.5 ผลกระทบของพลังงานกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ทําให้มีการปล่อยก๊าซหลายชนิด ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทําให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก ได้แก่ การเกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนไป (climate change) และมลพิษทางอากาศ (air pollution)