Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Right Spontaneous Pneumothorax (ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดด้านขวา) - Coggle…
Right Spontaneous Pneumothorax (ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดด้านขวา)
:silhouette: ประวัติผู้ป่วย : ผู้ป่วยชายไทย วัยสูงอายุ อายุ 82 ปี เข้ารับการรักษาวันที่ 7 กันยายน 2563
:star:การวินิจฉัยโรค Right Spontaneous Pneumothorax (ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดด้านขวา)
พยาธิสภาพ
ตามทฤษฎี
การเกิด pneumothorax ที่เกิดขึ้นเองไม่มีการกระทบกระเทือนจากภายนอกต่อทรวงอกหรือมีลมซึมผ่านจากนอกทรวงอก
Primary Spontaneous Pneumothorax ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดขึ้นเองในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพที่ปอดมาก่อน มักพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
Secondary Spontaneous Pneumothorax ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเกิดในปอดที่มีพยาธิสภาพอยู่เดิมพบในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้หญิง โดยพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) นอกจากนั้นยังพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งปอด และผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของปอด รวมถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
เปรียบเทียบกับผู้ป่วย
ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ จะมีลมรั่วจากปอดเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดจนปอดแฟบ โดยพบว่าปอดกลีบบนจะเกิดพยาธิสภาพจากความดันในปอดสูง ยอดปอดมีถุงลมพองใหญ่กว่าปอดส่วนล่าง ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีแรงแรงดันในปอดสูงขึ้นทำให้ปอดแตกและมีลมในเยื่อหุ้มปอด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกหายใจลำบากและเจ็บแน่นหน้าอก ดรวจร่างกายพบว่าทรวงอกขวามีขนาดใหญ่กว่าข้างซ้าย ฟังปอดข้างขวาได้ยินเสียง breath sound ลดลง
:star:ประวัติการเจ็บป่วย
อาการสำคัญ รับ refer จากรพ.เดิมบางนางบวช ด้วยอาการหายใจหอบเหนื่อย 2 วันก่อนมารพ.
การเจ็บป่วยปัจจุบัน 2 วันก่อนมารพ.มีอาการหายใจเหนื่อยหอบหลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ขณะเดินไปเข้าห้องน้ำรู้สึกเหมือนมีอะไรแตกในทรวงอก หลังจากนั้นเมื่อหายใจมีเสียงดังเหมือนมลมรั่วและหายใจไม่ออก ญาติจึงนำตัวส่งรพ.เดิมบางนางบวช CXR พบ Spontaneous Pneumothorax O2 sat 70% จึง On Rt ICD แบบ 2 ขวด และให้ atmit วันที่ 5 กันยายน 2563
วันที่ 7 กันยายน 2563 ได้ทำ CXR พบ Pneumothorax เพิ่มขึ้น จึงขอ refer มารพ.เจ้าพระยายมราช
เมื่อมาถึงรพ.เจ้าพระยายมราช แรกรับรู้สึกตัวดี หายใจไม่หอบเหนื่อย On ICD แบบ 2 ขวด Rt คลำพบ subcutaneous emphysema บริเวณอกและชายโครงขวา จึงต่อ ICD แบบ 3 ขวด with suction ที่ ER ก่อนย้ายมาศัลยกรรมอุบัติเหตุชาย เมื่อมาถึง ผู้ป่วยไม่มีอาการหอบเหนื่อย On ICD with suction คลำพบ subcutaneous emphysema บริเวณอกและชายโครงขวา On O2 mask with bag 10 LPM หลัง CXR ซ้ำพบ Lung full exprare จึงเปลี่ยนให้ On O2 Canula 5 LPM
อาการและอาการแสดง
ตามทฤษฎ๊
เจ็บหน้าอกข้างเดียวกับที่มีลมรั่ว
เหนื่อย หายใจไม่สะดวก
แน่นหน้าอก
หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย
เปรียบเทียบกับผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
การตรวจวินิจฉัย
ตามทฤษฎี
การตรวจ Thoracic expansion การคลำดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกการคลำดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก
การคลำการสั่นสะเทือนของเสียงสะท้อน tactille fremitus
การฟังเสียงถุงลม Vesicular breath Sound
เปรียบเทียบกับผู้ป่วย
ตรวจร่างกายพบว่าทรวงอกข้างขวามีขนาดใหญ่กว่าข้างซ้าย แต่ข้างขวามี Lung expansion น้อยกว่า
tactille fremitus ปอดข้างขวาลดลง
ฟังปอดข้างขวาได้ยินเสียง breath sound ลดลง
คลำพบ subcutaneous emphysema บริเวณอกและชายโครงขวา
การรักษา
ตามทฤษฎี
open thoracotomy การผ่าตัดเข้าไปในทรวงอก
chest x-ray
on intercotal drainage
on 02
เปรียบเทียบกับผู้ป่วย
ผู้ป่วย on intercotal drainage แบบ 3 ขวด with suction
chest x-ray พบ Spontaneous Pneumothorax
On O2 canula 5 LPM
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงจากการมีลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด
2.ปวดแผลบริเวณที่ใส่ท่อระบายทรวงอกเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับการกระทบกระเทือน
3.พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้น้อย
4.วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเนื่องจากพร่องความรู้เกี่ยวกัการปฎิบัติตน