Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด (โดยไม่ใช้ยา)…
บทที่ 2 การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด (โดยไม่ใช้ยา) และการ
ส่งเสริมสุขภาพในระยะคลอด
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดในระยะคลอด
การเจ็บครรภ์เป็นการรับรู้ถึง ความรู้สึกไม่สุข สบายที่เกิดขึ้นจากมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการคลอด การเจ็บครรภ์คลอดเกิดจากปัจจัยหลาย ส่วนภายในร่างกาย ได้แก่ การหดตัวของมดลูก การยืดและขยายส่วนล่างของมดลูกและปากมดลูกการยืดขยายของปากมดลูกในระหว่างการคลอด รวมทั้งการยืดของช่องคลอดและกล้ามเนื้อบริเวณ perineum จะท าให้ให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ทำให้มี การขาดเลือด และมีการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดตามมา
ทฤษฎีต่างๆ
ทฤษฎีการยืดขยายของมดลูก (uterine stretch theories)
เชื่อว่าการคลอดจะเริ่มต้น เมื่อมดลูกมีการยืดขยายถึงจุดสูงสุด เกิดกระบวนการมีการทำงานประสานกันของมดลูกกกส่วนบนและส่วนล่าง
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระหว่างEstrogen และ progesterone
เกิดจากในระยะท้ายๆของการตั้งครรภ์โดย จะมีestrogenในเลือดมากขึ้น กระตุ้นให้ Alpha receptor ท างานมากขึ้นส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัว และเกิดการเจ็บครรภ์คลอด
ทฤษฎีการหลั่งฮอร์โมน Prostaglandin
เชื่อว่าต่อมหมวกไตของทารกจะหลั่งสารที่กระตุ้นให้เยื่อหุ้มทารกชั้น chorion และ amnion รวมทั้ง decidual ของผู้คลอดสร้าง Prostaglandin ออกมา ส่งผลให้มีการหดรัดตัวของมดลูกและมีอาการเจ็บครรภ์คลอด
ทฤษฎีกระตุ้นฮอร์โมน Oxytocin
เชื่อว่าการคลอดเป็นภาวะเครียดของร่างกาย ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหลังของผู้คลอดหลั่ง Oxytocin ออกมามากขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง Oxytocin receptor ในกล้ามเนื้อมดลูกก็จะทำงานทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก
แนวปฏิบัติในการบรรเทาการเจ็บครรภ์คลอดจากหลักฐานเชิงประจักษ์
1. วิธีการไม่ใช้ยา / ใช้ร่วมกับการใช้ยา
1.1 การเตรียมความรู้ก่อนคลอด (Childbirth education)
การเตรียม ความรู้เกี่ยวกับการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์จะทำให้ผู้คลอดมีความเชื่อมั่น โดยเน้นการมี ส่วนรวมของสตรีตั้งครรภ์ให้มากที่สุด
1) ลักษณะปวด ความรุนแรง ความแรงที่สัมพันธ์กับระยะการรอคลอด
2) เครื่องมือที่ใช้ประเมินการเจ็บครรภ์และแนวทางการรายงานการเจ็บครรภ์
3) การมีส่วนร่วมของครอบครัว
4) การพยาบาลเพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา
5) การวางแผนการพยาบาลเพื่อบรรเทาจากการเจ็บครรภ์ร่วมกันระหว่างผู้คลอด ผู้ดูแล
ญาติ/ครอบครัว เจ้าหน้าที่ในทีมการดูแลผู้คลอด
1.2 โปรแกรมการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ
การประเมินการเจ็บครรภ์
วิธีการพยาบาลเพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา
ผลข้างเคียงจากวิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ
1.3 การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Labor Support)
ควรมีทางเลือกให้ผู้คลอดน าญาติหรือสามีเข้ามาดูแลในระยะรอคลอด
ดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เจ็บครรภ์ช่วงแรก (latent phase) ในการดูแล ผู้ดูแลต้องมีส่วนในการ
ช่วยเหลือทั้ง ด้านร่างกาย เช่น การสัมผัส จับมือ นวดหลัง และการดูแลความสุขสบาย ทางด้านจิตใจ
1.4 การปรับท่าทางและการเคลื่อนไหวในระยะคลอด (Maternal movement and positioning)
ทำให้สุขสบาย ลดการเจ็บครรภ์และส่งเสริมความก้าวหน้าการคลอด
1.ในรายที่ปากมดลูกเปิดน้อย (latent phase) และไม่มีข้อห้าม ควรส่งเสริมให้ผู้คลอด เดิน/
ยืน ท าให้ความเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของมดลูกลดลง
2.ในขณะรอคลอดควรปรับในผู้คลอดอยู่ในท่า Upright โดยการนั่งพิง/ท่าคลาน ทำให้ความ
เจ็บปวดจากการปวดหลังลดลง
3 ในรายที่ปากมดลูกเปิด 6-8 ซม. ควรปรับให้ผู้คลอดอยู่ในท่านั่งดีกว่าท่านอน และส่งเสริม
ให้เปลี่ยนท่าทุก 30-60 นาที เพื่อเพิ่มความสุขสบายและลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
1.5 การนวดและการสัมผัส (Touch and massage)
1 นวดที่บริเวณศีรษะ หลัง มือ เท้า ตามบริเวณที่ผู้คลอดชอบ เป็นเวลานานอย่างน้อย
20 นาที จะช่วยลดอาการไม่สุขสบายจากการเจ็บครรภ์
2 นวดแบบกดเน้นบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อศีรษะ
ทารกเคลื่อนต่ำ
การสัมผัสโดยพยาบาลหรือผู้ดูแลเป็นการสัมผัสเพื่อให้กำลังใจเป็นเวลาอย่างน้อย 5- 10 นาที นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ยังช่วยลดความวิตกกังวลด้วย โดยเฉพาะในช่วงปากมดลูก เปิด 8-10 ซม.
1.6 การบำบัดด้วยน้ำ (Hydrotherapy-warm or cool)
เป็นการใช้ความร้อนหรือความเย็น
จากน้ำ
การประคบร้อน
ใช้ผ้าประคบร้อน ประคบบริเวณท้องส่วนล่าง ต้นขา ขาหนีบ ฝีเย็บ และหลัง ความร้อนลดจะช่วยความเจ็บปวดและช่วยกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่บริเวณผิวหนัง
ตามทฤษฎีควบคุมประตู
การประคบเย็น
ใช้ผ้าเย็นเช็ดใบหน้าลำตัว ช่วยให้สุขสบายหรือประคบบริเวณหลังและลำคอส่วนหลัง ตามความชอบของผู้คลอด
1.7 การผ่อนคลายหรือการหายใจ (Relaxation and breathing)
การใช้เทคนิคหายใจ (Breathing) การหายใจที่ถูกต้อง จะทำให้มีการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างเต็มที่และยังช่วยเบี่ยงเบนความกลัว วิตกกังวล เครียดและความไม่สุขสบายจากการเจ็บครรภ์
การใช้เทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation) เป็นการใช้เทคนิคผ่อนคลายจากการอบรม เพื่อเตรียมคลอด ทำให้การรับรู้ความเจ็บปวดลดลง ความทนต่อความเจ็บปวด
การเกร็งและคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย ตั้งแต่ ใบหน้า ลำคอ อก แขน ท้อง อุ้งเชิง
กราน ขา เท้า โดยในขณะที่ฝึกการเกร็งกล้ามเนื้อทีละส่วน ให้คลายกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆพร้อมกันไปด้วย
2. วิธีการใช้ยา
การใช้ยาแก้ปวดแล้ว หากผู้คลอดไม่สามารถเผชิญ ความเจ็บปวดได้เหมาะสม ควรส่งเสริมให้ผู้คลอดนำเทคนิคบรรเทาปวดที่ใช้ได้ผลก่อนหน้านี้มาใช้ต่อเนื่อง เช่น เทคนิคหายใจ ผ่อนคลาย ปรับท่าทาง
การดูแลเพื่อบรรเทาความปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
1. การลดตัวกระตุ้นความปวด
1.1 การเคลื่อนไหว
1 ท่าศีรษะและลำตัวสูง (upright position)
ทำให้แนวลำตัวของผู้คลอดส่วนบนสูงกว่าส่วนล่างจึงส่งผลให้ทารกอยู่แนวตรงกับลำตัวของมารดา น้ำหนักของมดลูกทิ้งบนกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่มากดบริเวณหลัง ผู้คลอด sacroiliac ligaments ไม่ตึง มดลูกไม่กดทับเส้นเลือด inferior vena cava
2 ท่าคุกเข่า (all four or hands and knees position)
ช่วยลดอาการปวดหลังกรณีที่ทารกมีท้ายทอยอยู่ด้านหลังช่องเชิงกรานมารดา (occipitoposterior position) และอาจช่วยการหมุนของศีรษะให้ท้ายทอยมาอยู่ด้านหน้าช่องเชิงกรานมารดาได้ ท่านี้ช่วยในรายที่มีการคลอดติดไหล่และช่วยให้คลอดง่าย
3 ท่าพีเอสยูแคท (PSU Cat)
ให้ผู้คลอดหันหน้าไปทางหัวเตียงที่ยกสูง 45-60 องศา วางหน้าและอกผู้คลอดบนหมอน เข่ายันพื้นแยกห่างกันพอประมาณ ให้แนวลำตัวส่วนบนสูงกว่าส่วนล่างเล็กน้อย
เกิดการส่งแรงผ่านตัวทารกได้ดี ส่วนนำของทารกยันกับช่องทางคลอดส่วนล่างของมารดาดีขึ้น
4 ท่าคุกเข่าโน้มตัวไปข้างหน้าโอบแขนและพักบนลูกบอลที่มีความสูงระดับไหล่
ช่วยให้ทารกที่มีท่าท้ายทอยอยู่
ด้านหลังช่อง
5 ท่านั่งยอง
แนวแกนร่างกายของมารดาและทารกอยู่แนวเดียวกัน และอยู่ในแนวแรงโน้มถ่วงของโลก จึงช่วยเพิ่มแรงดันภายในมดลูกขณะมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ขนาดของช่องเชิงกราน
ข้อเสีย
ทำให้ทรงตัวยาก เนื่องจากขารับน้ำหนักมากทำให้ปวดเมื่อยปากมดลูกบวมง่าย ผู้คลอดอาจรู้สึกอายเมื่อนั่งท่านี้และการเบ่งคลอดในท่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมดลูกหย่อนตามมาได้
2. การกระตุ้นประสาทส่วนปลาย
การประคบร้อน และเย็น
การประคบร้อนและเย็นบริเวณผิวหนังช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะคลอดได้ โดยประคบความร้อนบริเวณท้องส่วนล่าง ขาหนีบ และฝีเย็บ ส่วนการประคบเย็นทำบริเวณหลัง ก้น และฝีเย็บใช้เวลาในการประคบ 10 นาที
การบ้าบัดโดยใช้น้ำหรือวารีบ้าบัด
การแช่ในน้ำทำให้สารเอนดอร์ฟินหลั่งเพิ่มขึ้น ความปวดลดลง และการไหลเวียนเลือดดีขึ้น
การสัมผัส การนวด และการกดจุด
การลูบ
การลูบถือเป็นการนวดเพียงเบา ๆ ใช้ปลายนิ้วมือลูบเป็นวงกลมด้วยจังหวะสม่ำเสมอไม่ออกแรงกดกล้ามเนื้อ ตำแหน่งที่ลูบเพื่อบรรเทาความปวดในระยะที่ 1 ของการคลอด
การนวด
การนวดในระยะคลอดให้เน้นบริเวณไหล่ หลัง กระเบนเหน็บ และต้นขา ช่วยลดอาการเจ็บครรภ์ได้
ผู้นวดต้องผ่านการอบรมและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญก่อน จึงจะนวดลดปวดให้
ผู้คลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกดจุด
การกดจุดเป็นการกระตุ้นปลายประสาทขนาดใหญ่ ในระยะคลอดจะกดจุดที่ตำแหน่งเอสพี 6 (SP6) ซึ่งอยู่เหนือข้อเท้า แอลไอ 4 (LI4) หรือจุดเหอกู่ (Hegu) ซึ่งอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ส่วนแรก และบีแอล 67 (BL67) อยู่บริเวณปลายนิ้วก้อยของนิ้วเท้า โดยใช้น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม กดนาน 10 วินาที ปล่อย 2 วินาที รวมเวลา 20-30 นาที จะช่วยบรรเทาปวดได้
3. การส่งเสริมการยับยั้งการส่งกระแสประสาทจากไขสันหลังในระดับสมอง
การใช้ดนตรี
ดนตรีบรรเลงช่วยให้ผู้ฟังผ่อนคลายมากกว่าเพลงที่มีเนื้อร้อง
เสียงดนตรีเพื่อการผ่อนคลายควรมีระดับเสียง 45-50 เดซิเบล
การเพ่งและเบี่ยงเบนความสนใจ (attention-focusing and distraction)
การเพ่งและเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นวิธีช่วยให้เผชิญความเจ็บปวด โดยให้ผู้คลอดเพ่งดูที่จุดหนึ่งจุดใดอย่างแน่วแน่ขณะมดลูกหดรัดตัวเพื่อให้เกิดสมาธิเกิดสัญญาณที่แรงกว่าไปทดแทนสัญญาณจากการหดตัวของมดลูก มีผลให้ระดับการรับรู้ต่อความรู้สึกเจ็บปวดลดลง
ระยะปากมดลูกเปิด 1-4 ซม. แนะนำให้เดิน พูดคุย หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น
ระยะปากมดลูกเปิด 4-8 ซม. แนะนำให้ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นับลมหายใจเข้าออกขณะ
มดลูกหดรัดตัว
ระยะปากมดลูกเปิด 8-10 ซม. แนะนำให้หายใจลึกๆ เพ่งตามองที่จุดหนึ่งจุดใดอย่างแน่วแน่ขณะมดลูกหดรัดตัว
สุคนธบำบัด
การใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชหอม สกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ เนื้อไม้ ราก และเมล็ด ส่วนใหญ่จะใช้ในรูปแบบการสูดดมสารในน้ำมันหอมระเหย มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ต่อความปวด
การใช้เทคนิคการหายใจ (breathing technique)
1. วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดช้า
ระยะปากมดลูกเปิดไม่เกิน 3 เซนติเมตร ควรแนะนำการหายใจแบบช้า (slow-deep chest breathing) คือ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ นับ 1-4 แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 หรือใช้วิธีหายใจเข้าและออกลึกๆ ทางจมูกช้าๆ ทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว
2 วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
ใช้ผู้คลอดจะควบคุม
ตัวเองไม่ค่อยได้
หายใจแบบเร็วตื้นและเบา (shallow accelerated decelerated breathing)
ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 4-7 เซนติเมตร คือ เมื่อมดลูกเริ่มต้นหดรัดตัว ให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง จากนั้นให้หายช้าๆ จนกระทั่งมดลูกหดรัดมากขึ้น จึงหายใจเข้าและออกผ่านทั้งทางปากและจมูกตื้น เร็ว และเบา
หายใจแบบหอบสลับเป่าปาก (shallow breathing with forced blowing out หรือ pant-blow breathing)
สำหรับระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional phase) ปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร ระยะนี้มดลูกหดรัดตัวรุนแรงมาก เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้หายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด 1 ครั้ง หายใจเข้าและออกทางปากตื้นๆ เร็วๆ เบาๆติดต่อกัน 3 ครั้ง แล้วเป่าลมออก 1 ครั้ง จนมดลูกคลายตัว จึงหายใจล้างปอดอีกครั้ง
การเบ่งคลอด (pushing)
ให้ผู้คลอดเบ่งเองตามที่รู้สึกอยากเบ่ง หรือเบ่งภายใต้การสอนและควบคุมโดยพยาบาลผดุงครรภ์
การส่งเสริมความสุขสบายในระยะคลอด
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
พยาบาลผดุงครรภ์ต้องดูแลสุขอนามัยผู้คลอดทั้งทางร่างกาย และปากฟันให้สะอาด โดยเฉพาะช่วงที่งดน้ำและอาหาร เพราะช่องปากจะแห้ง ริมฝีปากอาจแตก ต้องดูแลให้ผู้คลอดบ้วนปากบ่อยๆ ให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดด่ำตามแผนการรักษาของแพทย์
การช่วยให้ผู้คลอดเผชิญกับความปวดและความไม่สุขสบาย
ดูแลผู้คลอดให้เผชิญความปวดโดยไม่ใช้ยานั้นเพื่อให้เผชิญกับความเจ็บปวดได้
การดูแลสิ่งแวดล้อม
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเป็นส่วนตัวมากเท่าที่จะทำได้ เช่น กั้นม่าน เป็นต้น ปูเตียงด้วยผ้า สะอาด แห้ง ให้เรียบตึง เสื้อผ้าที่สะอาดและแห้ง มีผ้ารองเลือดหรือน้ำคร่ำใต้ก้นผู้คลอด
การจัดการความเจ็บปวดในระยะคลอดโดยการใช้ยา
ยา Pethidine ( Meperidine )
ประเมินอัตราการหายใจ /ชีพจรหลังให้ยา 10-15 นาทีถ้า RR<12 ครั้ง/นาที PR<60ครั้ง/นาทีหรือ 120ครั้ง/นาที BP < 90 / 60 mm/Hg ให้รายงานแพทย์
เนื่องจากยามีผลในการกดการหายใจทั้งมารดาและทารกในครรภ์จึงควรเตรียมยา Narcan (Naloxone) ให้พร้อมใช้ทันที ในการพิจารณาการให้ยา ควรให้ยาก่อนคลอดอย่างน้อย 1 ชม.
การเก็บรักษา
เก็บไว้ในลิ้นชัก มีกุญแจล็อค แยกเก็บจากยาที่ใช้โดยพยาบาล
เป็นผู้รับผิดชอบถือกุญแจ
มีการบันทึกการใช้ โดยระบุชื่อ – สกุล เลขที่โรงพยาบาล และจำนวนที่ใช้ ในแบบบันทึกยาเสพติด
มีการตรวจนับทุกเวรโดยพยาบาล
เก็บแยกกับยา MO ให้ชัดเจน เนื่องจากหลอดยาคล้ายคลึงกัน
ยา Fentanyl
การเก็บรักษา
เก็บไว้ในลิ้นชัก กุญแจล็อค แยกเก็บจากยาที่ใช้โดยพยาบาลเป็น
ผู้รับผิดชอบถือกุญแจ
มีการบันทึกการใช้ โดยระบุชื่อ-สกุล เลขที่โรงพยาบาลและจ านวนที่ใช้ใน
การบันทึกยา
มีการตรวจนับทุกเวรโดยพยาบาล
การใช้ยา
ไม่สั่งผสมยาฉีด Fentanyl ร่วมกับยาอื่น
หลีกเลี่ยงการสั่งยาโดยวาจา แพทย์ควรเขียนค าสั่งด้วยตนเอง
ไม่รับคำสั่งปากเปล่า (โดยไม่จ าเป็น) ให้แพทย์Order ใช้ชัดเจน
การเตรียมยา
จัดเตรียมยาโดยเจือจาง sterile water for injection Fentanyl 1 amp มี 2 ml (0.05 mg/ml) 1 am มี 0.1 mg. (100 mcg)
Fentanyl 0.1 mg (2 cc.)แปลงเป็น mcg โดย x 1000 = 100 mcg
Diluteเป็น 10 ml มี Fentanyl 100 mcg จะได้ 1 ml/10 mcg
ขนาดยาที่ใช้คือ 1 mcg/kg ดังนั้นโดยทั่วไปฉีดครั้งละ 50 -100 mcg /5-10 ml