Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Cholecystitis - Coggle Diagram
Acute Cholecystitis
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 40 ปี
วินิจฉัยแรกรับ : Acute Cholecystitis หมายถึง ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
การวินิจฉัยโรคปัจจุบัน : Acute Acute Choecystitis หมายถึง ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
-
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปวดท้องข้างขวา ปวดร้าวไปด้านหลัง คลื่นไส้ อาเจียน ได้รับการตรวจที่โรงพยาบาลบางใหญ่ แพทย์วินิจฉัยเป็น Acute Cholecystitis หมายถึง ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน มารักษาที่บางใหญ่ตามสิทธิการรักษา
การรักษา
-
การรักษาด้วยยา
การรักษาทางยาในรายที่ถุงน้ำดีอักเสบไม่มาก และผู้ป่วยยังไม่พร้อมผ่าตัด โดยการให้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งชนิดกรัมบวกและกรัมลบ เช่น Metronidazole,Gentamycin เป็นต้น ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันร้อยละ 90 อาการจะดีขึ้นเมื่อได้รับยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะ
-
-
พยาธิสภาพ
Acute Cholecystitis ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบเกิดขึ้น เนื่องจากมีการระคายเคืองจากน้ำดีที่เข้มข้น ทำให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบจากการระคายเคืองของสารเคมีในน้ำดี เนื่องจากมีนิ่วมาอุดกั้นหรือติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยผนังถุงน้ำดีอักเสบจะหนาตัวขึ้นและบวม ผนังท่อน้ำดีบวม ทำให้เกิดอาการปวดตื้อๆและรุนแรงขึ้นเรื่อยมีไข้ เม็ดเลือดขาวสูงขึ้น อาการตัวตาเหลือง กดเจ็บบริเวณท้องส่งบน และคลำได้ก้อนของถึงน้ำดีที่อักเสบบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา รู้สึกถุงน้ำดีโป่งตึง จากการมีสิ่งขับหลั่ง exudate จากการอักเสบและน้ำดีออกมา การอักเสบอาจลุกลามไปถึงอวัยวใกล้เคียง โดยเฉพาะเยื่อบุท้อง ถ้ายังปล่อยทิ้งไว้ ถุงน้ำดีจะเต็มไปด้วยหนอง empyrean of the gallbldder และจะแตกออก หนองเข้าไปในช่องท้องได้ประมาณ 95% ของผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมักเกิดจากนิ่ว ที่เหลือสัมพันธ์กับโรคไข้ไทฟอยด์หรือการติดเชื้อจากการมีไข้
สาเหตุ
ถุงน้ำดีอักเสบ โดยปกติถุงน้ำดีและระบบทางเดินน้ำดีเป็นระบบที่สะอาดปราศจากเชื้อ การระบายน้ำดีเป็นการไหลลงจากถุงน้ำดีโดยแรงหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ผนังถุงน้ำดีบีบไล่น้ำดีลงสู่ลำไส้เล็กเพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหารและไขมัน การหดเกร็งของถุงน้ำดีเป็นกลไกลการตอบสนองต่ออาหารที่รับประทานเข้าไปทางปาก ดังนั้นเมื่อมีสาเหตุใดที่ทำให้การระบายน้ำดีลงสู่ลำไส้เล็กไม่สะดวกทำให้มีการคั่งของน้ำดี เช่น ก้อนนิ่วอุดตัน เป็นต้น และมีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่มีมาตามกระแสเลือดหรือย้อนขึ้นมาจากลำไสเล็กมาอยู่ในถุงน้ำดีมากพอจนก่อนให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ เชื้อที่พบบ่อยจึงเป็นเชื้อโรคที่พบได้ในระบบทางเดินอาหาร
อาการ
ถุงน้ำดีอักเสบเกิดจากนิ่วอุดตันในท่อถุงน้ำดี ส่งผลให้น้ำดีไหลผ่านไปยังลำไส้เล็กไม่ได้ เมื่อน้ำดีอยู่ภายในถุงน้ำดีมากเกินไป จะยิ่งเพิ่มแรงดันภายในถุงน้ำดี ก่อให้เกิดอาการบวมและอักเสบ ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบจะปรากฏอาการของโรค ดังนี้
ปวดบริเวณท้องส่วนบนด้านขวาหรือตรงกลาง ซึ่งมักปวดไม่น้อยกว่า 30 นาที
โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือปวดตุบ ๆ บริเวณดังกล่าว อาการปวดท้อง
ปวดร้าวไปที่หลังหรือ บริเวณใต้สะบักด้านขวา อาการปวดแย่ลงเมื่อหายใจลึก ๆ
เกิดอาการปวดท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารในปริมาณมาก
หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเยอะ รู้สึกระบมที่ท้องด้านขวา ทั้งนี้ เมื่อกดบริเวณท้องจะปวดมาก
และอุจจาระออกสีเทาคล้ายดินโคลน ท้องอืด มีไข้ขึ้นสูง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกมาก เบื่ออาหาร
ผิวและตาขาวมีสีเหลืองคล้ายดีซ่าน
-
-
-
-