Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระเทวทัตสังฆเภท - Coggle Diagram
พระเทวทัตสังฆเภท
-
พระเทวทัตในสมัยพุทธกาล
พระเทวทัต เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ กับพระนางอมิตา โดยพระโกลิยราชวงศ์ของพระเทวทัต เป็นพระประยูรญาติใกล้ชิดกับราชวงศ์ศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์มาแต่เดิม พระเทวทัตจึงมีศักดิ์เป็นพระญาติวงศ์กับพระพุทธเจ้า โดยพระเทวทัตนั้นมีอายุไล่เลี่ยกับพระพุทธองค์
พระเทวทัตออกบวชพร้อมกับพระราชาและเจ้าชายแห่งศากยวงศ์รวม 6 พระองค์คือ พระเจ้าภัททิยะ พระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์, เจ้าชายอนุรุทธะ, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตแห่งโกลิยะวงศ์ และนายอุบาลี ช่างภูษามาลา อีกท่าน รวมเป็น 7 คน ณ อนุปิยอัมพวันแห่งมัลลกษัตริย์[4] โดยพระพุทธองค์ทรงอุปสมบทให้ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งหลังจากบวชได้ไม่นาน เจ้าชายทั้งหมดและนายอุบาลีภูษามาลาก็ได้บรรลุธรรมทั้งโสดาบัน และพระอรหันต์ ยังคงเว้นแต่พระเทวทัตเท่านั้นที่ได้เพียงโลกิยสมาบัติ
เรื่องราวของพระเทวทัตหลังจากบวชปรากฏว่า พระเทวทัตได้ละความเพียรในการบำเพ็ญสมณธรรมอันสมควร เพราะว่าหลังจากได้ฤทธิ์ (จากโลกิยฌาน)แล้ว พระเทวทัตได้ประพฤติร้ายกาจ ด้วยการแสดงฤทธิ์แปลงกายพร้อมทั้งเหาะไปในอากาศให้เจ้าชายอชาตศัตรูเห็น เพื่อให้ยินยอมเป็นศิษย์บำรุงอุปัฏฐากตน[5] และด้วยการยุยงว่าร้ายของพระเทวทัตนั้นเอง จึงเป็นสาเหตุให้เจ้าชายอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดา เพื่อขึ้นครองราชสมบัติของแคว้นมคธ
นอกจากการยุยงส่งเสริมแบบผิด ๆ แก่พระเจ้าอชาตศัตรูจนกระทำปิตุฆาต พระเทวทัตยังได้พยายามลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าอีกหลายครั้ง[6] เช่น ปล่อยช้างตกมันเข้าทำร้ายพระพุทธองค์, จ้างนายธนู 10 ผลัด ไปลอบยิงพระพุทธองค์ แต่ทุกครั้งไม่สามารถทำอะไรพระพุทธเจ้าได้ และกลับเป็นว่าผู้ที่ส่งไปทำร้ายเกิดศรัทธาและเคารพในพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น ทำให้พระเทวทัตลงมือพยายามลอบปลงพระชนม์เองโดยการกลิ้งหินให้ตกจากหน้าผาเขาคิชฌกูฏใส่พระพุทธเจ้า แต่หินกลับกระเด็นไปไกลจากพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ แต่ถึงกระนั้นสะเก็ดหินก็ทำให้พระพุทธเจ้าทรงห้อพระโลหิตที่ข้อพระบาท[7]
ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ พระเทวทัตยังคงเห็นผิดเป็นชอบ อยากจะเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธเจ้าเสียเอง ทูลขอการปกครองสงฆ์ พระเทวทัตกระทำวิปริตมุ่งให้พระพุทธเจ้าปลดวางภาระทั่วสังฆมณฑลแล้วยกตนเป็นองค์ศาสดาแทนที่ ซึ่งเป็นเรื่องร้ายแรงเกินกว่าจะเป็นไปได้[8] พระเทวทัตสำคัญผิดอ้างการบำเพ็ญตบะที่เคร่งครัดอย่างยิ่งยวดเพื่อแบ่งแยกคณะสงฆ์ เช่น เสนอข้อบัญญัติทางธรรมวินัยที่ไม่เป็นไปโดยสมัครใจ ขอการกำหนดเป็นเด็ดขาด ด้วยเรื่องอาหาร การอยู่ป่า การรับนิมนต์ และการใช้ผ้า แก่พระพุทธเจ้าเพื่อทรงบัญญัติ[9] เมื่อผู้คนทราบความตั้งใจอันไม่เอื้อเฟื้อซึ่งเป็นสำคัญผิดเช่นนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงออกห่าง ไม่รับอุปถัมภ์บำรุง พระเทวทัตโดนดูหมิ่นจากชาวบ้านและพระสงฆ์แล้ว ในภายหลังจึงได้เกิดสำนึกผิด และขณะเดินทางไปเพื่อขอขมาต่อพระพุทธเจ้า แต่กระนั้นก็ทำไม่ได้ เพราะว่าด้วยการกระทำที่ร้ายเลวรุนแรงสาหัสมากมาตลอดนั้น จึงทำให้พระเทวทัตต้องถูกธรณีสูบ[10] ลงสู่
-
ตามความในคัมภีร์อรรถกถาได้ขยายความพระไตรปิฎกและเรื่องราวพระเทวทัตถูกธรณีสูบนี้ก็ปรากฏอยู่ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ 1 เรื่องพระเทวทัต โดยกล่าวเรื่องราวตอนพระเทวทัตถูกธรณีสูบไว้ว่า[11]
แม้พระเทวทัตแล ลุกจากเตียงแล้วนั่งวางเท้าทั้งสองบนพื้นดิน เท้าทั้งสองนั้นก็จมแผ่นดินลง. เธอจมลงแล้วโดยลำดับเพียงข้อเท้า, เพียงเข่า, เพียงเอว, เพียงนม, จนถึงคอ, ในเวลาที่กระดูกคางจดถึงพื้นดิน ได้กล่าวคาถานี้ว่า
“ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นบุคคลเลิศ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสารถี ฝึกนรชน มีพระจักษุรอบคอบ มีพระลักษณะ (แต่ละอย่าง) เกิดด้วยบุญตั้งร้อย ว่าเป็นที่พึ่งด้วย กระดูกเหล่านี้พร้อมด้วยลมหายใจ.”
(เป็นคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์) นัยว่า “พระตถาคตเจ้าทรงเห็นฐานะนี้ จึงโปรดให้พระเทวทัตบวช. ก็ถ้าพระเทวทัตนั้น จักไม่ได้บวชไซร้, เป็นคฤหัสถ์ จักได้ทำกรรมหนัก, จักไม่ได้อาจทำปัจจัยแห่งภพต่อไป, ก็แลครั้นบวชแล้ว จักทำกรรมหนักก็จริง, (ถึงดังนั้น) ก็จะสามารถทำปัจจัยแห่งภพต่อไปได้” เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงโปรดให้เธอบวชแล้ว.
-
พระเทวทัต (บาลี: เทวทตฺต) เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดีจากเรื่องราวในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตในพุทธวิสัยตั้งแต่ครั้งพระพุทธโคดมยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิดถึงกับกระทำอนันตริยกรรมคือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและทำสังฆเภท[1]
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าในที่สุดพระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรกหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร[2] แต่ด้วยการกระทำที่เคยบำเพ็ญบุญบารมีมาแล้วในอดีตมากนับประมาณ และประกอบกับการเห็นถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิเมื่อก่อนสิ้นใจกลับสำนึกผิดมอบถวายกระดูกคางด้วยเป็นพระพุทธบูชาแม้ในขณะวินาทีสุดท้ายในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า[3]