Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 การดำเนินการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางอย่างมีประสิทธิภาพ - Coggle…
บทที่6 การดำเนินการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
ทราบวิธีการวางแผนและดำเนินการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางในห้องเรียนได้
ทราบว่าควรจะใช้วิธีการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางนี้เมือไร
ตระหนักถึงทักษะที่นักศึกษาครูจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการจัดการชั้นเรียนปบบครูเป็นศูนย์กลาง
บทนำ
ครูที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถใช้กลยุทธ์ในการสอนได้อย่างหลากหลาย ซึ่งการสอนที่มีความหลากหลายจะทำให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนการสอน
การสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางคืออะไร?
คือการให้ครูเป็นผู้ควบคุมการเรียนการสอนโดยตรง
การดำเนินการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง
กลยุทธ์ในการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
ก่อนการสอน
ระหว่างการสอน
ภายหลังการสอน
การนำเสนอ
ก่อนการสอน
ครูต้องเตรียมการนำเสนอโดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้
กำหนดหัวข้อที่ตรงกับแผนการจัดการเรียนรู้หรือประมวลวิชา
กำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียน
พิจารณาถึงความรู้และทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่ก่อน
เลือกและทบทวนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเรียน
เลือกรูปแบบในการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
จัดระเบียบข้อมูลให้สอดคล้องกับแผนการสอน
ระหว่างสอน
อธิบายวัตถุประสงค์ของบทเรียน
จัดระเบียบข้อมูล
นำเสนอข้อมูลใหม่
ในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพนั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
ความชัดเจนของการนำเสนอ
เรียบเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบตามขั้นตอนจากข้อมูลทั่วไปไปสู่ข้อมูลจำเพาะ
อธิบายให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสาเหตุและผลลัพธ์พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ใช้คำเชื่อมเพื่อให้ผู้เรียนจับใจความหลักได้ทันและเพื่อเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด
การใช้สื่อการสอนครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
สรุปประเด็นสำคัญ
ภายหลังการสอน
การนำเสนอภายหลังการสอนเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้เรียนไปหรื่อไม่ ครูอาจตั้งคำถามภายในชั้นเรียน สั่งการบ้าน ทดสอบและใช้วิธีการอื่นๆได้ การอภิปรายในชั้นเรียนก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการขยายขอบเขตความคิดของผู้เรียน
การสอนโดยตรง
ก่อนเรียน
ก่อนจะเริ่มการสอนโดยตรง ครูจะต้องเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้
กำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียน
วิเคราะห์เนื้อหาในแต่ละส่วนเพื่อให้ครูดำเนินการสอนได้อย่างเป็นระบบ
ระหว่างการสอน
นำเสนอวัตถุประสงค์ของบทเรียน
ให้ขัอมูลหรือทักษะอย่างถูกวิธี
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติ
ตรวจสอบความเข้าใจและให้ความเห็น
ภายหลังการสอน
ครูอาจเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเป็นรายบุคคลโดยฝึกภายในห้องเรียนหรือให้ไปทำเป็นการบ้าน จากนั้นครูอาจใช้วิธีทดสอบเพื่อประเมินความรู้หรือทักษะของผู้เรียนได้
การสอนแนวคิด
การนำเสนอโดยตรง
คือการสอนโดยที่ผู้เรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดที่จสอนนี้มาก่อน ซึ่งครูจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจกับแนวคิดนั้นได้
การเรียนรู้แนวคิดได้ด้วยตนเอง
คือการสันนิษฐานว่าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดที่จะสอนนี้อยู่บ้างแล้ว ดังนั้นครูจึงไม่ต้องบอกผู้เรียนว่าแนวคิดที่จะสอนนั้นคืออะไร ครูจะเป็นผู้แสดงและไม่แสดงแต่แต่ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจแนวคิดได้อย่างมีเหตุมีผล
ก่อนสอน
เลือกแนวคิดที่จะสอนจากแผนการเรียนหรือประมมวลรายวิชา
วิเคราะห์แนวคิด
ระบุแนวคิด
เลือกการใช้หรือไม่ใช้ตัวอย่างประกอบ
จัดรูปแบบการใช้และไม่ใช้ตัวอย่างประกอบจากง่ายไปหายาก
ตัดสินว่าจะใช้การสอนแนวคิดรูปแบบใด
ระหว่างการสอน
นำเสนอวัตถุประสงค์ของบทเรียน
ระบุแนวคิดพร้อมยกตัวอย่างหรือไม่ยกตัวอย่างประกอบ
ทดสอบเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิด
วิเคราะห์ความคิดและการเรียนรู้ของผู้เรียน
ภายหลังการสอน
ครูอาจต้องการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนถึงแนวคิดที่ได้เรียนไปโดยให้ผู้เรียนเขียน อธิบาย หรือทำแบบทดสอบ นอกจากนี้แค่ครูขอให้ผู้เรียนอธิบายแนวคิดให้ัง ครูก็อาจประเมินความสามรถของผู้เรียนได้ด้วยเช่นกัน
การจัดการสภาพแวดล้อมในการเรียนสำหรับการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง
ครูจะต้องรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการผู้เรียน
ความสามารถของครูที่สามารถรับรู้ได้ตลอดเวลาว่าเกิดอะไรขึ้นภายในชั้นเรียนบ้าง
ความสามารถของครูในการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเวลาเดียวกัน
การจัดการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตลอกชั่วโมงเรียน
การดึงความสนใจของผู้เรียนให้จดจ่ออยู่กับบทเรียนได้ตลอดชั่วโมง
การขจัดความเบื่อหน่ายของผู้เรียน เมื่อผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียนน้อยลง พวกเขาก็จะมีส่วนร่วมกับการเรียนน้อยลงด้วยเช่นกัน
ครูควรคำนึงถึงสิ่งที่จะช่วยให้ครูจัดการกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนได้อย่างประสบความสำเร็จก็คือ
การตั้งกฎเพื่อควบคุมความประพฤติของผู้เรียน
การกำหนดกระบวนการเพื่อสร้างกิจกรรมของผู้เรียนซึ่งจะช่วยส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนได้
การจดจ่อกับการเรียนในขณะที่ครูกำลังสอนอยู่
การควบคุมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตลอดชั่วโมงเรียน
ใช้เวลาในการเรียนการสอนให้คุ้มค่าและประสบความสำเร็จ