Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระมหากัจจายนะ : พระสัง, buddhateaching
พระภัททากัจจานาเถรี, พระอานนท์…
พระมหากัจจายนะ :
ประวัติ
พระมหากัจจายนะ เป็นพุทธสาวกที่มีความรุ้แตกฉาน ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศในการอธิบายหลักธรรมให้เข้าใจได้ง่าย
พระมหากัจจายนะ เดิมชื่อ กัญจนะ หรือ กาญจนะ (แปลว่า ทอง) ท่านเกิดในสกุลพราหมณ์กัจจายนโคตร บิดาของท่านเป็นปุโรหิตอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าจันณฑโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมืองหลวงของแคว้นอวันดี เมื่อเจริญวัยได้เรียนจนจบไตรเพท ครั้นบิดาถึงแก่กรรม กาญจนะหรือกัญจนะได้รับแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตแทนบิดา จึงได้ชื่อว่า กัจจายนปุโรหิต ตามตระกูล เมื่อพระเจ้าจันฑปัชโชตทรงทราบว่า มีศาสดาองค์ใหม่ซึ่งประชาชนพากันเรียกว่า พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นในแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร กำลังเสด็จออกสั่งสอนประชาชน ธรรมที่พระงอค์ทรงสั่งสอนนั้นเป็นธรรมอันประเสริฐให้สำเร็จผลประโยชน์แก่ผูประพฤติปฏิบัติ จึงมีพระราชประสงค์จะนิมนต์พระพุทธเจ้ามาประกาศศาสนาที่กรุงอุชเชนี จึงทรงแต่งตั้งคณะทูตขึ้นคณะหนึ่งมีกัจจายนปุโรหิตเป็นหัวหน้าไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ในการเดินทางไปครั้งนี้กัจจายนปุโรหิตได้กราบทูลขอลาบวชด้วย เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว กัจจายนปุโรหิตพร้อมด้วยคณะ 7 คน ไดเดินทางไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและได้เข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ในที่สุดคณะทูตทั้ง 8 ก็ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมกันทั้งหมด จากนั้นจึงได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาติให้บวชเป็นพระภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ครั้นอุปสมบทแล้ว กระกัจจายนะจึงกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชหระสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่งให้พระกัจจายนะพร้อมด้วยพระภิกษุบริวารทั้ง 7 เดินทางไปแทนพระองค์ พระกัจจายนะพร้อมด้วยพระภิกษุบริวารจึงได้เดินทางกลับกรุงอุชเชนี เข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชตและแสดงธรรมถวาย จนพระเจ้าจัณฑปัชโชตฟังแล้วเกิดความเลื่อมใส ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะหรือพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา
พระกัจจายนะจำพรรษาอยู่ในกรุงอุชเชนีช่วงเวลาหนึ่งได้ประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเมือง ทำให้ชาวเมืองจำนวนมากเกิดความเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาพระกัจจายนะได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ตโปทาราม กรุงราชคฟห์ ขณะที่พักอยู่ร่วมพระอารามกับพระพุทธเจ้านั้น ได้มีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้โดยย่อแล้วไม่เข้าใจ ได้มาขอให้พระกัจจายนะอธิบายให้ฟัง พระกัจจายนะจึงอธิบายขยายความของธรรมนั้นอย่างละเอียด จนพระสงฆ์กลุ่มดังกล่าวเข้าใจเป็นอย่างดี
-
พระภัททากัจจานาเถรี
ประวัติ
พระภัททากัจจานาเถรี เป็นพุทธสาวิกาที่เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้มีคุณธรรมพิเศษ จึงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติของท่านจึงมีคุณค่าควรแก่การศึกษา และยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
พระภัททากัจจานาเถรีเป็นจ้าหญิงแห่งโกลิยวงศ์ พระนามเดิม คือ พิมพา (แปลว่า สวย) เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ เจ้าผู้ครองกรุงเวทหะ กับพระนางอมิตตา กนิษฐภคินีของพระเจ้าสุทโธทนะ และเป็นพระกนิษฐาของเจ้าชายเทวทัต พระนางพิมพามีพระนามที่เรียกกันหลายชื่อ ได้แก่ ยโสธรา (แปลว่า สง่างามน่าเกรงขาม) ภัททา (แปลว่า เจริญตา) และกัจจานา (แปลว่า ทอง) แต่ส่วนมากเรียกกันว่า พระนางพิมพา หรือ ยโสธรา เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสเป็นชายาของเจ้าชานสิทธัตถะ ทั้งสองพระองค์เสวยสุขในราชสมบัติจนพระชนมายุได้ 29 พรรษาเท่ากัน เพราะประสูติในวันเดียวกัน เจ้าหญิงทรงมีพระโอรสกับเจ้าสายสิทธัตถะพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล
ในวันหนึ่งที่พระนางประสูติพระโอรสนั่นเอง เจ้าชายสิทธัตถะก็ได้เสด็จออกผนวช ทำให้พระนางทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก แต่ก็ทรงติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ตลอดเวลาด้วยความเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทรงทราบข่าวว่าในระหว่างแสวงหาสัจธรรมเจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิบัติเช่นไรก็จะปฏิบัติตามเช่นนั้นทุกอย่าง เช่น ทรงทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงลดอาหารก็ลดตาม ทรงทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะนุ่งห่มด้วยผ้าฝาดของเปลือกไม้ ก็ทรงนุ่งห่มอย่างนั้น เหตุการณ์เช่นนี้ได้ดำเนินไปตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชไปเรื่อย จนถึงวาระที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนางก็ทรงคอยสดับข่าวอยู่สมอว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เมื่อไร
-
พระอานนท์
พระอานนท์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ กับพระนางกีสาโคตมี เมื่อลำดับญาติแล้วพระอานนท์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้แล้วเพื่อโประพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชบิดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อประทับอยู่พอสมควรแก่เวลา ก็เสด็จไปยังเมืองไพสาลีพร้อมพระอรหันต์สาวก ขณะเสด็จถึงอนุปัยนิคม แคล้วนมัลละ เจ้าชายอานนท์พร้อมด้วยเจ้าชายในราชสกุลศากยะได้ตามเข้าเฝ้าและขอบวชจากรพะพุทธเจ้า พระอานนท์เมื่ออุปสมบทไม่นาน ท่านได้ฟังโอวาทากพระปุณณมันตานีบุตร ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน พระอานนท์จึงนับถือพระปุณณมันตานีบัตรเป็นอาจารย์เสมอมา นับจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้ามิได้มีพระอุปัฏฐากประจำ พระภิกษุต้องคอยผลัดเปลี่ยนมารับใช้ตามโอกาส บางครั้งไม่มีพระอุปัฏฐากก็ได้รับความลำบาก พระภิกษุสงฆ์จึงประชุมกันว่าน่าจะมีพระสาวกรูปใดรูปหนึ่งเป็นพระอุปัฏฐาก คือ คอยรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ ในที่ประชุมมีพระเถระรูปใหญ่หลายท่าอาสาขอทำหน้าที่นี้ แต่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ ที่ประชุมจึงเลือกพระอานนท์ให้ทำหน้าที่นี้แทน ก่อนการเข้ารับหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐาก พระอานนท์ได้ทรงทูลขอพร 8 ประการ ถ้าพระพุทธเจ้าประทานให้ก็จะรับหน้าที่
-
-