Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบต่อมไร้ท่อ, image, image, image, image, image…
บทที่ 9
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบต่อมไร้ท่อ
ยาเบาหวาน ( Antidiabetic drugs )
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานจำแนกตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ 4 ประเภท
ได้แก่
1.ยาที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน (Insulin secretagogues) ยา
ในกลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม
1.1 Sulfonylureas ออกฤทธิ์โดยการจับกับ Sulfonylurea receptor ที่เบต้าเซลล์ของตับอ่อน ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Chlorpropamide, glibenclamide , glipizide , gliclazide, gliquidone และ glimepiride
1.2 Non-sulfonylurea insulin secretagogues ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน เช่นเดียวกับ Sulfonylurea แต่ที่ตำแหน่งต่างกัน ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Repaglinide และ nateglinide
ยาที่ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ( Insulin sensitizer)
2.1 Metformin ออกฤทธิ์โดยการยับยังการสร้างกลูโคสจากตับเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังช่วยให้การออกฤทธิ์ของอินซูลินที่กล้ามเนื้อดีขึ้นด้วย
2.2 Thiazolidinediones ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้น peroxisome proliferator activated receptor gamma ซึ่งอยู่ในเซลล์ไขมันเป็นหลักและมีผลท้าให้การออกฤทธิ์ของอินซูลินดีขึ้นทั้งที่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน ยาในกลุ่มนี ได้แก่ Rosiglitazoneและ Pioglitazone
ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ alpha-glucosidase ที่ผนังลำไส้ ( alpha-glucosidase inhibitors) ท้าให้การดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหารเกิดขึ้นช้าลง ยาในกลุ่มนี ได้แก่ Acarbose และ Voglibose
Dipeptidyl Peptidase (DPP) IV inhibitors เป็นยาที่ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการทำลายฮอร์โมนที่หลั่งจากลำไส้ คือ glucagon-like peptide -1 ( GLP-1) และglucose-dependent insulinotropic polypeptide (GIP) ยาในกลุ่มนี ได้แก่ Sitagliptin และ Vidagliptin
คุณสมบัติของยาเบาหวานแต่ละชนิด
1. Sulfonylureas
ยาที่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้บ่อย
ยามีประสิทธิภาพในการลดระดับ HbA1c ได้ประมาณ 1.5-2 %
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ภาวะน้ำาตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
2. Non-Sulfonylurea Insulin secretagogue
ยาในกลุ่มนี้ที่จ้าหน่ายในประเทศไทยมีแต่ Repaglinide ยานี้ออกฤทธิ์เร็วและระยะเวลาในการออกฤทธิ์สั้น จึงแนะนำให้กินก่อนอาหาร 15 นาที และต้องรับประทานยาก่อนอาหารทุกมื้อจึงจะได้ผลดี
3. Metformin
ยานี้มีข้อดีคือ ไม่ท้าให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำโดยเฉพาะใช้เป็นยาเดี่ยว เนื่องจากยา
ไม่ได้กระตุ้นการหลั่งอินซูลินและไม่ท้าให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
4. Alpha-glucosidase inhibitors
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Acarbose และ Voglibose ยานี้อกฤทธิ์โดยการยับยั้งเอนไซม์ alpha-glucosidase ที่ผนังลำไส้ การยับยั้งเอนไซม์นี จึงทำให้การดูดซึมกลูโคสช้าลง ยานี้มีผลลดระดับน ้ำตาลหลังมื้ออาหารเป็นส่วนใหญ่
5. Thiazolidinediones
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ rosiglitazone และ pioglitazone เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลโดยการลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
6. Dipeptidyl peptidase -4 inhibitors
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Sitagliptin และ vidagliptin
ผลข้างเคียง น้อยมาก
ชนิดของอินซูลิน
สามารถแบ่งอินซูลินตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ได้เป็น 5 ประเภท คือ
Rapid acting insulin เป็นอนุพันธ์ของอินซูลิน (insulin analogue)
Short acting Insulin
Intermediate-acting insulin
Long acting insulin
Premixed insulin
โรคทางต่อมไทรอยด์
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.กลุ่มที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroiddysfunction) ได้แก่ ภาวะ hyperthyroidism และภาวะ hypothyroidism
โรคก้อนของต่อมไทรอยด์ (Nodular thyroid disease) ได้แก่ solitary thyroid nodules และ multiple nodular goiter
ฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง
(Hyperparathyroidism)
อาการของฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง
• คลื่นไส้และอาเจียน
• เซื่องซึม
• มีภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจท้าให้เกิดอาการ เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติและมีสีเข้มวิงเวียน อ่อนเพลีย ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง เป็นต้น
สาเหตุของฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง
เมื่อมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมามากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มการปล่อยแคลเซียมออกด้วยการสลายกระดูกและเพิ่มปริมาณการดูดซึมแคลเซียมที่ไตและล้าไส้ จึงส่งผลให้มีระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น
การใช้ยา
• ยากลุ่ม Calcimimetics อย่างยา Cinacalcet ซึ่งจะช่วยยับยั่งการผลิตและการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ แต่ยานี้อาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย คลื่นไส้ และติดเชื่อในระบบทางเดินหายใจ
• ยากลุ่ม Bisphosphonate เช่น Ibandronate Zoledronate ช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียมใน
กระดูกและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนจากภาวะ Hyperparathyroidism แต่ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความดันโลหิตต่ำ มีไข้ และอาเจียน
• ฮอร์โมนทดแทน จะช่วยรักษาภาวะขาดแคลเซียมในกระดูกของผู้หญิงวัยหมดประจำดือนที่มีอาการของ
โรคกระดูกพรุน แต่วิธีนี ไม่อาจรักษาภาวะหรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับต่อมพาราไทรอยด์ได้ และหากใช้ในระยะยาวก็อาจเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งและลิ่มเลือด อีกทั้งอาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการปวดเต้านม วิงเวียน และปวดศีรษะด้วย
• วิตามินดีและแคลเซียมเสริม ส้าหรับผู้ป่วยที่ขาดแคลเซียมและวิตามินดี อย่างผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง แพทย์อาจแนะน้าให้ใช้วิตามินดีและแคลเซียมเสริมร่วมกับการใช้ยาและการฟอกไต
• Calcitonin ยาไปลด bone resorption และลด renal calcium reabsorption
• Bisphosphonates • ยากลุ่มนี ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก (bone resorption) มีผลข้างเคียงน้อย ปลอยภัยเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน
Hypothyroidism ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่่า
• คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยทำให้เกิดการสร้างและหลั่งฮอร์โมนสู่
กระแสเลือดน้อยลง
• อาการแสดง ได้แก่ อาการบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้น เชื่องช้า ท้องผูก ผิวแห้ง ขี้หนาว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสียงแหบ
• การวินิจฉัย การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ คือค่า FT4 T4 และ T3 จะ
ลดลง โดยจะพบค่า FT4 และ T4 จะต่ำก่อน T3 และตรวจระดับ TSH
ยารักษา Hypothyroid
• การให้ Synthetic hormone ของ Thyroxin (T4)
• ชื่อยา Levothyroxin ซึ่งเป็นไทรอยด์ฮอร์โมนสังเคราะห์
• ผลข้างเคียง น้ำหนักลด ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย นอนไม่หลับ
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธ์สตรี
»ยาคุมก่าเนิด
ยาคุมกำเนิด หมายถึงยาที่กินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนี่ได้จากการสังเคราะห์มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนโปรเจสโตโรนตามธรรมชาติ
»ยาเลื่อนประจ่าเดือน
การใช้ยาเลื่อนประจำเดือน ในหญิงตั้งครรภ์ มีผลทารกในครรภ์มีโคโมโซมที่ผิดปกติเป็นผล
ให้ทารกในครรภ์พิการได้ หรือ จะทำให้เกิดการแท้งได้
การใช้ยาเลื่อนประจำเดือนในหญิงให้นมบุตร เมื่อใช้นานเกิดไป จะทำให้เกิดอาการเจ็บ
คัดเต้านม,เต้านมโต
»ยาปรับฮอร์โมน
ชื่อ สามัญ Medroxyprogesterone [acetate]
ชื่อ การค้า Provera (5 ,10 mg)
รูปแบบยา ยาเม็ด
ยานีใ้ช้สาหรับ
ยานี้ใช้เพื่อรักษาภาวะประจำเดือนผิดปกติ การขาดประจำเดือน หรือมีเลือดออกผิดปกติจากมดลูกซึ่งเป็นผลจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ยังใช้ป้องกันการเจริญของเยื่อบุมดลูกที่มากเกินไปและอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งมดลูกในผู้ป่วยซึ่งได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่
วิธีใช้ยา
ยานี้อยู่ในรูปแบบยาเม็ดใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ1ครั้งต่อวันในวันที่กำหนดแน่นอนของรอบเดือน หรือใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ
และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
»ฮอร์โมนทดแทน
• ฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน (Conjugated estrogens) หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อยาฮอร์โมนพรีมาริน (Premarin) เป็นฮอร์โมนที่นำมาให้ทดแทนในสตรีที่มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจนมีสรรพคุณดังนี้
• บรรเทาอาการภายหลังหมดประจำเดือน (วัยหมดประจำเดือน) ด้วยมีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ
• บรรเทาอาการโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
• บรรเทาอาการแห้ง แสบคันของช่องคลอด (ภาวะช่องคลอดแห้ง)