Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 : มารดาอายุ 32 ปี G2P0 อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 2 : มารดาอายุ 32 ปี G2P0 อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
สตรีตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์ มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด 2 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มารดาไม่สุขสบายจากการปวดหลัง
ข้อมูลสนับสนุน
S : - มารดาบ่นปวดหลังมาก
O : - เวลา 08.00 น. ประเมิน contraction ได้ interval 3 นาที 30 วินาที duration 30 วินาที, severity
-FHR 148 ครั้ง/นาที มารดาบ่นปวดหลังมาก สูติแพทย์ PV ปากมดลูกเปิด 3 cm, effacement 75%, station 0, membrane intact
-ศีรษะทารกมี caput และตรวจพบทารกในครรภ์ท่า OPP
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
เกณฑ์การประเมินผล
ขณะมดลูกหดรัดตัวมารดาสามารถใช้ เทคนิคต่าง ๆ เพื่อควบคุมความเจ็บปวดได้
มารดามีอาการกระสับกระส่ายน้อยลง สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้มารดาได้รับยา pethidine 50 mg IV stat ตามแผนการรักษาของแพทย์ และติดตามผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น
ดูแลความสุขสบาย เช่น วางผ้าชุบน้ำเย็นบริเวณหน้าผาก และดูแลความสะอาดของปากและฟันบ่อย ๆ
นวดบริเวณก้นกบของมารดาเมื่อมารดารู้สึกปวด
จัดท่าให้มารดา เพื่อช่วยส่งเสริมการหมุน ของท่า OP เป็นท่า OT และเป็นท่า OA ตามลำดับ โดยให้ มารดาอยู่ในท่านอนตะแคง ท่าเข่าชิดอก หรือท่าคลาน 4 ขา
ส่งเสริมให้มารดาใช้เทคนิคการผ่อนคลาย ขณะมดลูกคลายตัว เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น
อยู่เป็นเพื่อน พูดปลอบโยน และให้กำลังใจ ตลอดจนบอกความก้าวหน้าของการคลอดให้มารดาทราบ เป็นระยะ ๆ
2 มารดาและทารก มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้คีมช่วยคลอด เช่น ทารกบาดเจ็บจากการคลอด มารดาเกิดการฉีกขาดของช่องทางคลอดระดับรุนแรง
ข้อมูลสนับสนุน
S : - มารดาบ่นปวดฝีเย็บ
O : - มารดา G2 P0 ได้รับการช่วยคลอดโดยใช้ในการคีมช่วยคลอด
จากการคลอดทารกได้ทารกเพศหญิง น้ำหนักตัว 3,400 กรัม
แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ4
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันและเฝ้า ระวังไม่ให้มารดาและทารกเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้คีมช่วยคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
ทารกไม่เกิดภาวะขาดออกซิเจน แผลถลอกบริเวณใบหน้า และอัมพาตบริเวณใบหน้า
มารดาไม่เกิดการฉีกขาดของช่องทางคลอด ระดับรุนแรง ไม่เกิดก้อนเลือดคั่งบริเวณแผลฝีเย็บ และ ไม่เกิดการบาดเจ็บของกระเพาะปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
สวนปัสสาวะตามแผนการรักษาของ แพทย์ก่อนการช่วยคลอดด้วยคีมช่วยคลอด
ประเมิน บันทึก และรายงาน FHR ให้ แพทย์ทราบก่อนแพทย์ใส่คีมช่วยคลอด
เมื่อแพทย์ใส่คีมช่วยคลอด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และบอกให้แพทย์ทราบเมื่อมดลูกหดรัดตัว
ประเมิน FHR ทุก 5 นาที หรือติดเครื่อง EFM เพื่อประเมิน FHR อย่างต่อเนื่อง และรายงานแพทย์ ถ้า FHR น้อยกว่า 110 ครั้ง/นาที
เตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นชีวิตทารก แรกเกิดไว้ให้พร้อม และรายงานกุมารแพทย์
เมื่อทารกคลอดออกมา ประเมิน Apgar score
ประเมินการบาดเจ็บของทารกแรกเกิด เช่น บาดแผลบริเวณใบหน้า อัมพาตบริเวณใบหน้า เป็นต้น
ประเมินการบาดเจ็บของมารดา เช่น การฉีกขาดของช่องทางคลอด การมีก้อนเลือดคั่งบริเวณ แผลฝีเย็บ การถ่ายปัสสาวะไม่ออก (urine retention) เป็นต้น
ประเมินลักษณะของแผลฝีเย็บ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการปวดแผลฝีเย็บไม่ได้เกิดจากความผิดปกติ ของแผลฝีเย็บ
10.ดูแลให้มารดาได้รับยา paracetamol 1 tab oral prn ทุก 4-6 ชั่วโมง
11.ใช้ ice pack ประคบแผลฝีเย็บในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เพื่อลดอาการปวดบวมที่เกิดขึ้น และหลังจาก 12 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ประคบแผลฝีเย็บ หรือแช่ก้นในน้ำอุ่น
การติดตามอาการของมารดาและทารก
แรกรับเวลา 02.00 น. ตรวจครรภ์พบว่า HF = ¾ > ระดับสะดือ น้ำหนักตัวทารกในครรภ์ประมาณ 3,300 กรัม FHR 142 ครั้ง/นาที ฟังได้ยินบริเวณหน้าท้องด้านขวา มดลูกหดรัดตัวทุก 7-8 นาที วัด vital sign T 36.8 องศาเซลเซียส P 90 ครั้ง/นาที R 20 ครั้ง/นาที BP 120/80 mmHg, PV ปากมดลูกเปิด 2 cm, effacement 70%, station -1, membrane intact, จึงรับไว้ในห้องคลอด
เวลา 08.00 น. ประเมิน contraction ได้ interval 3 นาที 30 วินาที duration 30 วินาที, severity ++, FHR 148 ครั้ง/นาที มารดาบ่นปวดหลังมาก สูติแพทย์ PV ปากมดลูกเปิด 3 cm, effacement 75%, station 0, membrane intact, ทำ ARM ได้ clear AF ประมาณ 30 cc และมีแผนการรักษาให้ pethidine 50 mg IV stat
เวลา 09.30 น. มดลูกหดรัดตัวดี interval 2 นาที 50 วินาที, severity ++, PV ปากมดลูกเปิด 5 cm, effacement 80%, station 0, membrane rupture, FHR 138 ครั้ง/นาที
ต่อมาเวลา 11.00 น. มารดาบอกว่าอยากเบ่ง จึง PV ซ้ำ ปากมดลูกเปิด 7 cm, effacement 80%, station 0+, membrane rupture, ปากมดลูกบวม ศีรษะทารกมี caput และตรวจพบทารกในครรภ์ท่า OPP ,FHR144 ครั้ง/นาที สูติแพทย์มีการรักษาให้ 5% D/NSS 1000 ml IV drip 120 ml/hr หลังจากนั้นมารดาเบ่งเรื่อยๆ บอกว่าเบ่งแล้วหายปวด
เวลา 12.45 น. PV ปากมดลูกเปิด 9 cm, effacement 80%, station +1, ปากมดลูกบวมและศีรษะทารกมี caput มากขึ้น FHR 142 ครั้ง/นาที
เวลา 14.30 น. PV พบว่า fully dilate, station +1, พยาบาลเชียร์เบ่งนาน 1 ชั่วโมง ศีรษะทารกไม่เคลื่อนต่ำ บางครั้ง FHR drop อยู่ในช่วง 90-100 ครั้ง/นาที มารดาบอกว่าไม่มีแรงเบ่ง สูติแพทย์ให้เตรียมคีมช่วยคลอด ทารกคลอด F/E due to OPP
เวลา 16.00 น. ได้ทารกเพศหญิง น้ำหนักตัว 3,400 กรัม Apgar score ที่ 1 นาทีเท่ากับ 8 และที่ 5 นาทีกับ 10 บริเวณใบหน้าทั้ง2ข้างตรวจพบรอยกดของคีมช่วยคลอด แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ4 สูติแพทย์เย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บ และมีแผลการรักษาให้ยา ampicillin 500 mg 1 cap qid ac oral และยา paracetamol 1 tab oral prn for pain ทุก 4-6 ชั่วโมง