Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pt. อายุ 16 ปี G1P0A0 เป็นภาวะ Preeclampsia with severe feature, 1, 2, 3,…
Pt. อายุ 16 ปี G1P0A0 เป็นภาวะ
Preeclampsia with severe feature
ประเด็นปัญหา / คำสำคัญ
เครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อิเล็กทรอนิค (Electronic Fetal Monitoring; หรือ เครื่องEFM)
เครื่องการตรวจประเมินการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์ การหดรัดตัวของมดลูก แสดงผลและมีการบันทึกไว้อย่างต่อเนื่อง ในที่นี่หมายถึงเฉพาะเครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์แบบภายนอก
Preeclampsia
ความดันโลหิตสูง ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะที่เกิดขึ้นใหม่หลัง 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ และ กลับมาปกติในช่วงหลังคลอด มักมีอาการบวมร่วมด้วย
Urine albumin1+
ใช้แถบตรวจปัสสาวะ urine dipstick test เป็นวิธีในการคัดกรอง Proteinuria โดยผลการตรวจ urine dipstick ระวัง 1+ หรือมากกว่าถือว่ามีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิด Preeclampsia
เจาะ Lab Toxemia
มีความดันโลหิต เท่ากับหรือมากกว่า 140/90 mmHg และมีโปรตีนในปัสสาวะ 1+
จากการตรวจด้วยแผ่นตรวจ urine dipstick ในปัสสาวะเพียงครั้งเดียว สูติแพทย์จะให้การวินิจฉัยเบื้องต้นเป็น Preeclampsia
Late deceleration
การลดลงของ FHR อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปและกลับคืนสู่baseline อย่างช้า ๆ สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
เกณฑ์การวินิจฉัย Hypertensive disorder in pregnancy จาก Urine protein 24 hours
การวินิจฉัยว่าเป็น Preeclampsia หรือ Chronic hypertension with superimposed preeclampsia ตลอดการตั้งครรภ์ต้องเฝ้าระวัง คือ การดำเนินโรคที่รุนแรงขึ้น เรียกว่า การเกิด 'Severe feature'
เกณฑ์การวินิจฉัยเป็น Preeclampsia with severe feature ประเมินจากการเกิดภาวะผิดปกติ
อย่างน้อย 1 ข้อขึ้นไป
ดังนี้
Systolic BP (SBP) ≥ 160 mmHg หรือ Diastolic BP (DBP) ≥ 110 mmHg เมื่อวัด 2 ครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง
Thrombocytopenia เกล็ดเลือด < 100,000 cell/mm3
Impaired liver function คือ AST/ALT สูงกว่า 2 เท่าของค่า Upper normal limit หรือ มีอาการ-ปวดจุกใต้ลิ้นปี่ รุนแรงและไม่หายไป (Severe persistence)
Renal insufficiency คือ Serum creatinine ≥ 1.1 หรือมากกว่า 2 เท่าของค่า Serum creatinine เดิมโดยไม่มี โรคไตอื่น
Pulmonary edema
มีอาการปวดศีรษะหรือตาพร่ามัวทันที
:<3: Proteinuria :<3:
Urine protein 24 hours ≥ 300 mg
Urine protein/creatinine ratio/index (UPCI) ≥ 0.3 mg/dL
Urine Dipstick or Urine analysis reading ≥ 2+
สาเหตุของโรค/ การวินิจฉัย
ตั้งครรภ์ครั้งแรก
รกและทารกในครรภ์ ก่อภูมิต้านทานทำให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของ
หญิงตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง
ตั้งครรภ์ อายุ 16 ปี
พบว่าอายุน้อยกว่า 20 ปี มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์
ดังนั้น เคสนี้มีภาวะ Preeclampsia with severe feature
จากความดันโลหิต 150-170/100-110 mmHg
urine albumin/sugar = 3+negative
พยาธิสภาพ/ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แนวทางการดูแลรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ระยะคลอด
:warning: ระยะ Latent Phase of Labor
จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ ลดแสง เสียง สัมผัส เพื่อให้นอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุด และช่วยลดความดันในท่านอนตะแคงซ้าย
วัดความดันโลหิต ทุก 2-4 ชั่วโมง
เก็บ Urine Protein 24 ชั่วโมง ส่งตรวจเพื่อประเมินการทำงานของไต
ประเมินความเครียดและความวิตกกังวล โดยแนะนำและฝึกวิธีการบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด เช่น การฝึกควบคุมการหายใจ การลูบหน้าท้องและการนวดผ่อนคลาย
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินอาการบวมความรุนแรง
:warning: ระยะ Active Phase of Labor
วัดความดันโลหิตทุก 1 นาที จนกระทั่งคงที่เปลี่ยนเป็นทุก ชั่วโมง จนคลอด
ดูแลให้ได้รับยาป้องกันภาวะชักคือ Magnesium sulfate ตามแนวทางการรักษา
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายและให้ออกซิเจน
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการให้ยาเพื่อป้องกัน การชักจากภาวะความดันโลหิตสูง รวมถึงผลข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้น
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยให้ใส่ผ้าอนามัยเพื่อติดตามภาวะตกเลือด
ติดตามภาวะ HELLP syndrome เช่น Hemolytic anemia (เลือดจางจากการแตกของเม็ดเลือด) Elevated Liver enzyme (ระดับเอนไซม์ตับในเลือดเพิ่มสูงขึ้น) Low Platelet count (เกล็ดเลือดต่ำ)
MgSo4 level มีผลลดการชัก แต่ละระดับมีผลอย่างไร
อาการที่แสดงว่าอาจมีระดับยาสูง ต้องเพิ่มความระมัดระวัง
ติดตามผลหรือแจ้งแพทย์
Mild to moderate
: คลื่นไส้อาเจียน, ท้องเสีย, flushing (IV, dose – related)
Severe
: Lethargy, hyporeflexia, weakness, paralysis, hypotension (IV, rate –
related), ECG changes (prolonged PR and QRS intervals), CNS depression, seizures, respiratory depression
อาการ อาการแสดง
Preeclampsia
ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ ความดันโลหิตสูงตรวจพบในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป
โปรตีนในปัสสาวะ คือ urine protein 24 hr. ≥ 300 mg
แบ่งเป็น Mild preeclampsia (BP<160/110 mmHg) และ Severe preeclampsia (BP>160/110 mmHg)
Chronic hypertension with Superimposed preeclampsia or Eclampsia
ความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ ร่วมกับภาวะครรภ์เป็นพิษ
มีความดันโลหิตสูง (BP>160/110 mmHg) พบก่อนตั้งครรภ์หรือก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
มีภาวะโปรตีนในปัสสาวะร่วมด้วย
Eclampsia
ความดันโลหิตสูง (BP>160/110 mmHg)
มีอาการชัก โดยการชักไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น
Chronic hypertension
ความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์
มีความดันโลหิตสูง (BP>160/110 mmHg) พบตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ หรือยังมีความดันโลหิตสูงหลังจาก 12 สัปดาห์หลังคลอด
ไม่พบภาวะ proteinuria
ผลกระทบต่อทารก
IUGR น้ำคร่ำน้อย
Preterm labor
MAS
DFIU
ได้รับอาการข้างเคียงจากยา
วิเคราะห์ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดและภาวะ PPH กับ Hypertensive disorder in pregnancy
PPH การเสียเลือด
มากกว่าหรือเท่ากับ 500 ml จากการคลอดปกติ
เสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 1000 ml จากการผ่าตัดคลอด รวมถึงการวินิจฉัยจากความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงลดลงมากกว่าร้อยละ 10 จากก่อนคลอด
เมื่อเกิดภาวะตกเลือดทำให้เกิดการสูญเสียเลือดปริมาณมาก ทไให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายขาดออกซิเจนและเสียสมดุล โดยเฉพาะสมองส่วน Hypothalamus และต่อมใต้สมองที่ส่งผลต่อฮอร์โมนสำคัญในระยะหลังคลอด ถ้าได้รับการรักษาที่ล่าช้า ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ Sheehan’s syndrome โลหิตจางรุนแรง ช็อก ทุพพลภาพ และเสียชีวิตได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและกิจกรรมทางการพยาบาล
1. เสี่ยงต่อภาวะชักเนื่องจากความดันโลหิตสูง
:red_flag: กิจกรรมทางการพยาบาล :red_flag:
ประเมินอาการและอาการแสดงที่ชักนำก่อนการเกิดการชัก
ตรวจสัญญาณชีพทุก 15 นาที
ดูแลการให้ยากันชักตามแผนการรักษาของแพทย์
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นจากแสง
จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม
3. มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากได้รับยาป้องกันการชัก
:red_flag: กิจกรรมทางการพยาบาล :red_flag:
อธิบายเหตุผลและการให้ยา และอาการข้างเคียงจากการได้ยา เช่น มีอาการร้อนบริเวณที่ฉีดและร้อนวูบวาบทั่วตัว
ให้ยาช้าๆ นาน 10-15 นาที
บันทึกจำนวนน้ำเข้า-ออกจากร่างกายทุก 1 ชั่วโมง
ประเมิน Deep tendon reflex ทุก 1-4 ชั่วโมง
เตรียม 10% Calcium gluconate ไว้ให้พร้อมใช้
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
เฝ้าระวังภาวะตกเลือดจากการได้รับยา MgSO4
เตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินให้พร้อมใช้
2. เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูก
หดรัดตัวไม่ดี
:red_flag: กิจกรรมทางการพยาบาล :red_flag:
1.ตรวจสอบความสูงของยอดมดลูก การหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที
2.ตรวจสอบลักษณะแผลฝีเย็บและจำนวนน้ำคาวปลาทุก 30 นาที
3.ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อลดการขัดขวางมดลูก
4.ดูแลให้ได้รับยา oxytocin ตามแผนการรักษา
4. มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและขาดความรู้เกี่ยวกับโรค
:red_flag: กิจกรรมทางการพยาบาล :red_flag:
แสดงความเป็นมิตร ปลอบโยนให้รู้สึกอบอุ่น
ถามและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าถึงสาเหตุของความวิตกกังวล
อธิบายถึงสาเหตุ ลักษณะอาการ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูง
ให้กำลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวล
นางสาวสุภัสสร พรหมมี รหัสนักศึกษา 60116811
section 2 สถานการณ์ที่ 1