Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู - Coggle Diagram
บทที่ 5
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู
ความสำคัญ
ความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับความเป็นครู ช่วยเสริมสร้างความรู้และเข้าใจในบริบทสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่าง ทั้งภูมิภาคของประเทศไทย ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออกและตะวันตก
คุณลักษณะความเป็นครู
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
หน้าที่สําคัญของคนเป็นครู คือ การสอน และการสอนนั้นเป็นกระบวนการที่ผสมกันระหว่าง ศาสตร์กับ ศิลปะ จะเห็นได้ว่า ครูใหม่บางคนที่ไม่เคยเป็นครูมาก่อนและเริ่มสอนหนังสือเป็นครั้งแรก จะขาดประสบการณ์ มีแต่ความรู้ตามหลักทฤษฎี แต่ครูพวกนี้ก็สามารถใช้วิธีบางอย่างที่ทําให้นักเรียนอ่าน ออกเขียนได้ เพราะฉะนั้นการเป็นครู มิใช่มีแต่ความรู้ในหลักวิชาการเท่านั้น ยังต้องอาศัยแรงจูงใจในหลายด้านประกอบกัน เช่น ความมีศรัทธาในอาชีพครู ความรักเด็ก รักการสอน เป็นต้น
นอกจากคือการให้ความรู้แก่นักเรียน และสอนให้นักเรียนเป็นคนดี ครูยังต้องเป็นผู้ปฏิบัติดี มีคุณธรรมให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ด้วย ซึ่งการได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของครูนับเป็นความรู้เบื้องต้นที่คนจะเป็นครูทุกคนต้องตระหนักรู้ เพราะเป็นจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์สูงสุดที่ครูพึงปฏิบัติตาม ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างพลเมืองที่ดีในอนาคตให้แก่ประเทศชาติของเรา
คุณลักษณะที่ดีของครู
บุคลิกที่ดี คือ รูปร่างท่าทางดี แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ และมีลักษณะเป็นผู้นำ
ความประพฤติดี คือ เว้นจากอบายมุขทุกอย่าง แต่ความดีทั้งกาย วาจา ใจ มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง มีความซื่อสัตย์ เสียสละ มีเมตตากรุณา มีความยุติธรรม และมีมานะอดทน
การสอนดีและปกครองดี คือ อธิบายได้แจ่มแจ้งชัดเจนครบทุกกระบวนความ สอนสนุกสนาน ปกครองดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม
มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี คือ มีอัธยาศัยไมตรีกับคนทุกเพศ ทุกวัย และมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย
มีความรู้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง กระตือรือร้นและสุขภาพแข็งแรง
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรม
มุมมองต่อวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน
บนโลกนี้ จึงมีวัฒนธรรมอันเฉพาะตัวของแต่ละสังคมที่หลากหลายมากมาย และอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาพแวดล้อม ยุคสมัย และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ
การดำเนินชีวิตของมนุษย์
วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
บางครั้ง การเชิดชูวัฒนธรรมหลักอาจนำมาสู่การลดทอนความสำคัญของวัฒนธรรมรองอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นหรือกลุ่ม เช่น การละเลยความสำคัญของผู้นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ การที่เยาวชนรังเกียจหรืออายที่จะพูดภาษาท้องถิ่น
วัฒนธรรมไทยประจำภูมิภาค
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชนพื้นเมืองถิ่นอีสานดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคอีสายเป็นการนำแนวความคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่ได้สั่งสมลืบทอดเป็นมรดกต่อกันมา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ แต่ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และค่านิยมในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ลักษณะวัฒนธรรมและนบธรรมเนียมประเพณีโดยรวมมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อในการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
เป็นแหล่งรับอารยธรรมพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดการบูรณาการเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่ยังคงยึดมั่นในขบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีและความเอื้อเฟิ้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน
ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
เทคนิคในการถ่ายทอดของครู
กลยุทธ์การถ่ายทอด
กลยุทธ์และใช้เทคนิคการถ่ายทอดน่าสนใจโดยให้ผู้เรียนเป็นกลุ่ม การสอดแทรกกิจกรรมที่สนุก และมีบรรยากาศการแข่งขันให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองเพื่อทราบศักยภาพตนเอง
กลยุทธ์ในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการถ่ายทอด ครูต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกคนใช้ศิลปะในการใช้ภาษาท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาบางโอกาสก็ใช้อารมณ์ขันช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ
กลยุทธ์การถ่ายทอดได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอน นำเสนอกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน จากง่ายไปหายาก ทำการทดสอบผู้เรียนเป็นระยะๆ และสรุปประเด็นเพื่อทำการเสนอแต่ละกิจกรรม
กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียน การพูดของครูต้องใช้เสียงสูงต่ำ พลังเสียงต้องปลุกความสนใจ การตั้งคำถามควรท้าทายผู้ฟัง
กลยุทธ์เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ครูต้องบอกประโยชน์ บอกแนวทางในการสอน ตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดติดตาม สิ่งสำคัญครูต้องเปลี่ยนอิริยาบถของผู้เรียน
กลยุทธ์การสร้างความพร้อมของครู ผู้ถ่ายทอดต้องมีความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา พูดพร้อมกับใช้ภาษาท่าทาง แสดงออกอย่างมีศิลปะเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้พร้อม ทำการถ่ายทอดแบบเพื่อนเป็นกันเอง
การเรียนการสอนในโลก Online
การใช้ Online ของเด็ก
รุ่นก่อน พวกเขามีความรู้สึกว่าเร็วดี ได้ผลงานเยอะ และไม่ใคร่เครียด
การทำลายอย่างในเวลาเดียวกันมี 2 รูปแบบ คือ ทำสลับกัน (task-switching) ทำไปพร้อมกัน (parallel processing) เช่น อ่านหนังสือและฟังดนตรี กินอาหารและดูโทรทัศน์ การทำงานประเภทนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพได้ ถ้าเป็นงานใช้แรงงานประเภทเดียวกัน เช่น ขับรถและพูดโทรศัพท์ อาจจะเป็นอันตรายได้ เพราะใช้คนละทักษะกัน
สอนเด็กให้ใช้ online
ฝึกให้เด็กรู้จักกระทำข้อมูลที่ได้รับ สรุป ตัดต่อ วิเคราะห์รวบรวมเพิ่มเติม ให้เข้าเป็นเนื้อหาเดียวกัน ภายใต้หัวข้อใหม่หรือตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
รับฟังความคิดเห็นหลากหลายด้วยใจเปิดกว้างจากแหล่งหลายมุมมอง เพื่อเพิ่มเติมความรู้ แนวความคิด และทักษะในการเขียนของตน
ฝึกให้เด็กเขียนบทความ เรื่องราว นิทานลงใน web ให้เด็กรู้จักสิทธิส่วนบุคคล ลิขสิทธิ์ ความปลอดภัย การลอกเลียน จรรยาบรรณของนักเขียน
สอนให้เด็กกำหนดวัตถุประสงค์ และคำสำคัญของเรื่องที่ต้องการค้น (Keyword) แล้วใช้ RSS (Really Simple Syndication) หรือ search engines ซึ่งจะพบเรื่องที่เด็กจ้องการจากหลายแหล่ง
ฝึกให้เขียนหลายรูปแบบไม่ใช่มีเพียงตัวอักษรเท่านั้น แต่มีกราฟ สถิติ และภาพประกอบด้วย และควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง
ก่อนจะเลือกใช้แหล่งใดควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือแหล่งข้อมูล ความแม่นยำของข้อมูล ความสมเหตุสมผล ความสอดคล้องของเนื้อหา
บทบาทของโรงเรียน
การเรียนการสอน ครูควรบูรณาการทั้งภาษาหนังสือ ภาษาภาพ และการ์ตูน และ Online เข้าด้วยกันโดยครูเป็นผู้ร่วมเรียนแบบ life long learning เทคโนโลยีเป็นเครื่องเสริมปริมาณและคุณภาพของการเรียน เด็กอาจจะติดเกม ติดเล่นคอมพิวเตอร์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับ Online จะไม่มีความผูกพันที่ดีและอบอุ่นเหมือนกับการพูดคุยและพบกันซึ่งหน้าเหมือนเรียนกับครู