Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะยคลอด (โดยไม่ใช้ยา)…
การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะยคลอด (โดยไม่ใช้ยา) และการส่งเสริมสุขภาพในระยะคลอด
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเจ็บปวดในระยะคลอด
ทฤษฎีการยืดขยายของมดลูก (Uterine stretch theories)
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระหว่าง (Estrogen และ progesterone)
ทฤษฎีกระตุ้นฮอร์โมน (Oxytocin)
ทฤษฎีการหลั่งฮอร์โมน (Prostaglandin)
ปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดผู้คลอดและทารกในครรภ์ในระยะคลอด
ปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดในระยะคลอดของผู้คลอด
ปฏิกิริยาเฉพาะที่
ระดับไขสันหลัง
ระดับเหนือไขสันหลัง
ระดับเปลือกสมอง
ปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดด้านทารกในครรภ์
การยับยั้งการส่งพลังประสาทความเจ็บปวดไปยังสมอง
การทำงานของใยประสาทการรับรู้ของใยประสาทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
การส่งสัญญาณจากเรติคูลาร์ฟอร์เมชั่นในก้านสมอง
การส่งสัญญาณจากเปลือกสมองและธาลามัส
แนวทางการบรรเทาการเจ็บครรภ์คลอดจากหลักฐานเชิงประจักษ์
ด้านจริยธรรมและสิทธิผู้คลอด
ผู้คลอดทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการประเมินอาการปวดที่เหมาะสม
ผู้คลอดทุกคนมีสิทธิในการได้รับการจัดการอาการปวดที่เหมาะสม
ผู้คลอดและครอบครัวมีสิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเจ็บครรภ์คลอด
ด้านการประเมินความเจ็บปวด
แนวปฏิบัติในการบรรเทาการเจ็บครรภ์คลอดจากหลักฐานเชิงประจักษ์
วิธีการไม่ใช้ยา / ใช้ร่วมกับการใช้ยา
การเตรียมความรู้ก่อนคลอด (Childbirth education)
ลักษณะปวด ความรุนแรง ความแรงที่สัมพันธ์กับระยะการรอคลอด
เครื่องมือที่ใช้ประเมินการเจ็บครรภ์และแนวทางการรายงานการเจ็บครรภ์ให้เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพmที่ดูแลผู้คลอด
การพยาบาลเพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา
การวางแผนการพยาบาลเพื่อบรรเทาจากการเจ็บครรภ์ร่วมกันระหว่างผู้คลอด ผู้ดูแล ญาติ/ครอบครัวเจ้าหน้าที่ในทีมการดูแลผู้คลอด
การมีส่วนร่วมของครอบครัว
โปรแกรมการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ
ประเด็นจริยธรรมในการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์
การประเมินการเจ็บครรภ์
วิธีการพยาบาลเพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา
ผลข้างเคียงจากวิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์
การให้ความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์กับผู้คลอด
เทคนิคของวิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์แบบไม่ใช้ยาแต่ละชนิด
ปัจจัยที่เกี่ยงข้องกับการเจ็บครรภ์
การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Labor Support)
ควรมีทางเลือกให้ผู้คลอดนำญาติหรือสามีเข้ามาดูแลในระยะรอคลอด
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuous labor support)
การปรับท่าทางและการเคลื่อนไหวในระยะคลอด
(Maternal movement and positioning)
ในรายที่ปากมดลูกเปิดน้อย (latent phase) และไม่มีข้อห้าม
ในขณะรอคลอดควรปรับในผู้คลอดอยู่ในท่า Upright โดยการนั่งพิง/ท่าคลาน
ในรายที่ปากมดลูกเปิด 6-8 ซม. ควรปรับให้ผู้คลอดอยู่ในท่านั่งดีกว่าท่านอน และส่งเสริมให้เปลี่ยนท่าทุก 30-60 นาที
ในรายที่ปากมดลูกเปิด 7-10 ซม.และไม่มีข้อห้ามควรปรับอยู่ในท่ายืน ประมาณ 30 นาที
การนวดและการสัมผัส (Touch and massage)
นวดที่บริเวณศีรษะ หลัง มือ เท้า ตามบริเวณที่ผู้คลอดชอบ เป็นเวลานานอย่างน้อย 20 นาที จะช่วยลดอาการไม่สุขสบายจากการเจ็บครรภ์
นวดแบบกดเน้นบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อศีรษะทารกเคลื่อนต่ า
การสัมผัสโดยพยาบาลหรือผู้ดูแล เป็นการสัมผัสเพื่อให้กำลังใจเป็นเวลาอย่างน้อย 5-10 นาที
การบำบัดด้วยน้ำ (Hydrotherapy-warm or cool)
การประคบร้อน
ความร้อนลดจะช่วยความเจ็บปวดเฉียบพลันและอาการปวดหลังได้ดี
การประคบเย็น
ช่วยให้สุขสบาย
การผ่อนคลายหรือการหายใจ (Relaxation and breathing)
การใช้เทคนิคหายใจ (Breathing)
1) เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้งโดยการหายใจล้างปอด คือการสูดลมหายใจเข้าช้าๆทางจมูก ให้เต็มปอด แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปากและให้ร่างกายอยู่ในแนวตรง เพื่อให้ทรวงอกสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่
2) หายใจเข้าทางจมูกออกทางปาก ในลักษณะห่อปาก โดยใช้ทรวงอกช้าๆ 6-8 ครั้งต่อนาทีจนกระทั่งมดลูกคลายตัว หายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง
การใช้เทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation)
วิธีการใช้ยา
Pethidine (Meperidine)
ตรวจสอบชื่อ –สกุล ผู้คลอดเลขที่โรงพยาบาล HN ผู้คลอดพร้อมดูป้ายข้อมือให้ตรงกันกับใบค าสั่งก่อนฉีดยา
ซักถามประวัติการแพ้ยาและประวัติการเป็นโรคหืดหอบก่อนฉีดยา ถ้ามีให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดยา
ให้คำแนะนำฤทธิ์ของยาและฤทธิ์ข้างเคียง และการปฏิบัติตัวของผู้คลอดก่อนให้ยา ได้แก่ อาการหน้ามืดใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ให้ผู้คลอดหลับตาถ้ามีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะ
ตรวจสอบความถูกต้องของยาและสารละลายที่ผสมอีกครั้งก่อนให้ผู้คลอด
ดูแลให้ยา pethidine 50 mgIV push ช้าๆใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 นาที
สังเกต / ซักถามอาการของผู้คลอดขณะให้ยาตลอดเวลา ถ้ามีอาการหายใจฝืด หายใจล าบากให้หยุดยา และรายงานแพทย์ทันที
Fentanyl
ตรวจสอบชื่อ –สกุล ผู้คลอดเลขที่โรงพยาบาลHNผู้คลอดพร้อมดูป้ายข้อมือให้ตรงกันกับใบค าสั่งก่อนฉีดยา
ซักถามประวัติการแพ้ยามอร์ฟิน ถ้ามีให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดยาสามารถให้ได้ในผู้คลอดที่เป็นหอบหืด
ให้คำแนะนำฤทธิ์ของยาและฤทธิ์ข้างเคียงของยาที่อาจมีได้ เช่น ภาวะกดการหายใจ กล้ามเนื้อกระตุก อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งเมื่อมีอาการ เพื่อรับการช่วยเหลือตามอาการ
ให้ผู้ป่วยหลับตาขณะ pushยา เพื่อลดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ให้ยาแบบIV push ช้า ๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 นาที
สังเกต/ซักถามอาการของผู้ป่วยขณะให้ยาตลอดเวลา ถ้ามีอาการหายใจฝืด หายใจลำบากให้หยุดยา และรายงานแพทย์ทันที
การดูแลเพื่อบรรเทาความปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
การลดตัวกระตุ้นความปวด
การเคลื่อนไหว
การนั่ง การนั่งเก้าอี้โยก(rocking)
การนั่งเอียงไปมาบนลูกบอล (swaying)
การนั่งเก้าอี้ที่กลับหลังและซบหน้าบนพนักพิงเก้าอี้ (sitting backwards on a chair)
การเดิน
นั่งยอง
ท่า
ท่าศีรษะและลำตัวสูง
(upright position)
ทำให้แนวลำตัวของผู้คลอดส่วนบนสูงกว่าส่วนล่าง จึงส่งผลให้ทารกอยู่แนวตรงกับลำตัวของมารดา น้ำหนักของมดลูกทิ้งบนกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่มากดบริเวณหลังผู้คลอด sacroiliac ligaments ไม่ตึงมดลูกไม่กดทับเส้นเลือด inferior vena cava ที่ไหลกลับสู่หัวใจผู้คลอด และเส้นเลือด descending aorta ในท้องที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
ทำให้ปริมาณเลือดและออกซิเจนมีเพียงพอไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก จึงลดอาการเวียนศีรษะ เพิ่มความสุขสบาย อาการปวดบริเวณท้องและหลัง
ท่าคุกเข่า
(all four or hands and knees position)
ช่วยลดอาการปวดหลังกรณีที่ทารกมีท้ายทอยอยู่ด้านหลังช่องเชิงกรานมารดา (occipitoposterior position) และอาจช่วยการหมุนของศีรษะให้ท้ายทอยมาอยู่ด้านหน้าช่องเชิงกรานมารดาได้
ท่านี้ช่วยในรายที่มีการคลอดติดไหล่ (shoulder dystocia)
ท่านั่งยอง
แนวแกนร่างกายของมารดาและทารกอยู่แนวเดียวกัน และอยู่ในแนวแรงโน้มถ่วงของโลก จึงช่วยเพิ่มแรงดันภายในมดลูกขณะมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
โดยนั่งยองๆแล้วแยกขาออกจากกันประมาณช่วงไหล่ (เท้าห่างกันประมาณ30-45 เซนติเมตร) ก้นลอยเหนือพื้น ทิ้งน้ าหนักตัวบนฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง
ข้อจำกัดของท่านั่งยอง คือ ทำให้ทรงตัวยาก เนื่องจากขารับน้ำหนักมาก ทำให้ปวดเมื่อย ปากมดลูกบวมง่าย ผู้คลอดอาจรู้สึกอายเมื่อนั่งท่านี้ และการเบ่งคลอดในท่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมดลูกหย่อนตามมาได้
การเคลื่อนไหวอย่างอิสระในระยะรอคลอด เช่น การลุกนั่ง การนั่งเก้าอี้โยก การนั่งโยกบนลูกบอล การเดิน การเต้นรำช้า ๆ
การกระตุ้นประสาทส่วนปลาย
การประคบร้อนและเย็น
การบ้าบัดโดยใช้น้ำหรือวารีบ้าบัด
เป็นวิธีช่วยบรรเทาปวด ทำโดยให้ผู้คลอดแช่ในน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น เนื่องจากการแช่ในน้ำทำให้สารเอนดอร์ฟินหลั่งเพิ่มขึ้น ความปวดลดลง และการไหลเวียนเลือดดีขึ้น
การสัมผัส การนวด และการกดจุด
การลูบ
การนวด
การนวดร่างกายผู้คลอดบริเวณที่เจ็บปวด จะชบรรเทาความปวดตามทฤษฎีควบคุมประตู การนวดช่วยกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งสารเคมีมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนเพิ่มขึ้นในร่างกาย
การกดจุด
การกดจุดเป็นการกระตุ้นปลายประสาทขนาดใหญ่ ในระยะคลอดจะกดจุดที่ตำแหน่งเอสพี 6 (SP6) ซึ่งอยู่เหนือข้อเท้า แอลไอ 4 (LI4) หรือจุดเหอกู่ (Hegu) ซึ่งอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ส่วนแรก และบีแอล 67 (BL67) อยู่บริเวณปลายนิ้วก้อยของนิ้วเท้า โดยใช้น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม กดนาน 10 วินาที ปล่อย 2 วินาที รวมเวลา 20-30 นาที จะช่วยบรรเทาปวดได้
การส่งเสริมการยับยั้งการส่งกระแสประสาทจากไขสันหลังในระดับสมอง
การใช้ดนตรี
การเพ่งและเบี่ยงเบนความสนใจ
(attention-focusing and distraction)
สุคนธบำบัด
การใช้เทคนิคการหายใจ
(breathingtechnique)
วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดช้า
ระยะปากมดลูกเปิดไม่เกิน 3 เซนติเมตร ควรแนะนำการหายใจแบบช้า (slow-deep chest breathing) คือ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด1 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ นับ 1-4 แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5
วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
หายใจแบบเร็วตื้นและเบา (shallow accelerated decelerated breathing)
ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 4-7 เซนติเมตร คือ เมื่อมดลูกเริ่มต้นหดรัดตัว ให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด1 ครั้ง จากนั้นให้หายช้าๆ จนกระทั่งมดลูกหดรัดมากขึ้น จึงหายใจเข้าและออกผ่านทั้งทางปากและจมูกตื้น เร็ว และเบา
หายใจแบบหอบสลับเป่าปาก (shallow breathing with forced blowing out หรือ pant-blow breathing)
สำหรับระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional phase)ปากมดลูกเปิด 8-10เซนติเมตร ระยะนี้มดลูกหดรัดตัวรุนแรงมาก เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้หายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด1 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าและออกทางปากตื้นๆ เร็วๆ เบาๆติดต่อกัน 3 ครั้ง แล้วเป่าลมออก 1 ครั้งต่อเนื่องไป จนมดลูกคลายตัว จึงหายใจล้างปอดอีกครั้ง
การเบ่งคลอด (pushing)
การเบ่งคลอดแบบวัลซัลวา
คือให้ผู้คลอดเบ่งหลายๆ ครั้งขณะมดลูกหดรัดตัวแต่ละครั้ง หรือกลั้นหายใจนานมากกว่า 6 วินาทีขณะเบ่งคลอด
การเบ่งคลอดแบบเปิดกล่องเสียง คือให้ผู้คลอดออกเสียงเบาๆ หรือมีลมเล็ดลอดขณะเบ่งได้ และใช้เวลาเบ่งแต่ละครั้งนาน 4–8วินาที
การส่งเสริมความสุขสบายในระยะคลอด
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การช่วยให้ผู้คลอดเผชิญกับความปวดและความไม่สุขสบาย
การดูแลสิ่งแวดล้อม