Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แรงผลักดัน (Powers) - Coggle Diagram
แรงผลักดัน (Powers)
แรงหดรัดตัวของมดลูก (Uterine contraction)
ความหมาย
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเป็นแรงที่เกิดขึ้นก่อนเรียกว่า Primary power อยู่นอกอำนาจจิตใจ จะถูกกระตุ้นด้วย Hormone Oytocin ที่หลั่งจาก Posterior pituitary gland ไม่สามารถบังคับให้เกิดหรือยับยั้งให้เกิดได้ การหดรัดตัวจะเป็นจังหวะ มีผลทำให้เกิดการบางตัว และเปิดขยายของปากมดลูก การกดรัดตัวจะเริ่มจากส่วนบนของมดลูกและแม่มายังมดลูกส่วนล่าง การกดรัดตัวจะต้องมีขนาดเหมาะสมจึงจะทำให้การคลอดดำเนินไปได้ด้วยดี ถ้าแรงพลักดันมีน้อยกว่าปกติ จะทำให้การตลอดยาวนานกว่าปกติ แต่ถ้าแรงหลักดันมีมากกว่าปกติจะทำให้เกิดการคลอดเฉียบพลัน มดลูกแตก หรือทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนได้
ระยะของการหดตัว
Acme เป็นระยะที่มดลูกเริ่มมีการหดรัดตัวเต็มที่
Decrement เป็นระยะที่มดลูกเริ่มคลายตัว
Increment เป็นระยะที่มดลูกเริ่มหดตัว
ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ
Interval or Frequency คือ ระยะห่างหรือความถี่ของการหดรัดตัว โดย interval จะสั้นลง ส่วน Frequency เป็นการนับจำนวนครั้งของการหดรัดตัวในช่วงเวลาหนึ่ง
intensity คือ ความแรงในการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งมีความสำคัญมากในการผลักดันทารกให้เคลื่อนต่ำลงมา ถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่แนงแม้ว่าจะมีระยะการหดรัดตัวไม่แรงแม้ว่าจะมีระยะการหดรัดตัวนานไม่สามารถผลักดัน ทารกให้เคลื่อนต่ำลงมา
ระยะพัก แรงดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 10-12 มิลลิเมตรปรอท
ระยะปากมดลูกเปิดช้า แรงดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 25-40 มิลลิเมตรปรอท
ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว แรงดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 50-70 มิลลิเมตรปรอท
ระยะเปลี่ยนผ่านและระยะที่สองของการคลอด แรงดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 70-90 มิลลิเมตรปรอท (Severe)
Duration คือ ระยะการหดรัดตัวของมดลูก เป็นระยะตั้งแต่มดลูกเริ่มหดรัดตัวจนถึงระยะที่มดลูกสิ้นสุดการหดรัดตัว ตามปกติในระยะเริ่มแรกของการคลอด มดลูกจะหดรัดตัวด้วยครั้งหนึ่งนานประมาณ 20-30 วินาที ต่อไปจะนานขึ้น เรื่อยๆ จนถึง 60 วินาที ในระยะท้ายๆ ของการคลอดระยะที่ 1 แต่ไม่ควรนานเกิน 90 วินาที เพราะอาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้ง่าย และถ้ามดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้นเรื่อยๆ มดลูกอาจจะแตกได้
การประเมินความแรง
+1 Mild
พบมดลูกหดรัดตัวเพียงเล็กน้อย กล้ามเนื้อมดลูกมีลักษณะค่อนข้างนิ่ม คล้ายกดนิ่วลงบนแก้ม ขณะหดรัดตัวสามารถคลำส่วนต่างๆ ของทารกและฟัง FHS ได้ชัดเจน
+2 moderate
กล้ามเนื้อมดลูกมีลักษณะแข็งตึงปานกลางเป็นปกติดี คล้ายกดน้วลงบนจมูก ขณะหดรัดตัวสามารถคลำส่วนต่างๆ ของทารกได้ไม่ชัดเจนนักและฟัง FHS ได้เพียงเบาๆ หรืออาจฟังไม่ได้
+4 Tetanic contractions
กล้ามเนื้อมดลูกมีลักษณะแข็งเกร็งมากผิดปกติ หดรัดตัวนานกว่า 1 นาที มีระยะพักสั้น มารดาเจ็บปวดมาก จนไม่สามารถสัมผัสบริเวณหน้าท้องได้พบในรายมดลูกใกล้แตก
+3 Strong
กล้ามเนื้อมดลูกมีลักษณะ แข็งแรงดีมาก คล้ายกดนิ้วลงบนคาง ขณะหดรัดตัวไม่สามารถคลำส่วนต่างๆ ของทารกได้และไม่สามารถฟัง FHS ได้
แรงเบ่งของแม่ (Bearing down effort or secondary power)
เกิดจากแรงหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกระบังลม เนื่องจากส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงไปกดบริเวณพื้นเชิงกราน (Pelvic floor) และทวารหนัก(rectum)
ระหว่างระยะที่ 1 ของการคลอดจะทำให้ปากมดลูกบวม เนื่องจากส่วนนำของทารกไปกดที่บริเวณรอบของปากมดลูกที่ยังเปิดไม่หมด ทำให้เกิดการคลอดยากได้