Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 หน้าที่ชาวพุทธ และ มารยาทชาวพุทธ, การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศ…
หน่วยที่ 6 หน้าที่ชาวพุทธ และ มารยาทชาวพุทธ
มารยาทชาวพุทธ
การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
หมายถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
วิธีแสดงความเคารพ : การกราบด้วยวิธีเบญจางคประดิษฐ์
เป็นการกราบด้วยการให้อวัยวะทั้ง ๕ ส่วน จดกับพื้น คือ มือ ๒
เข่า ๒ หน้าผาก ๑
ขั้นตอนการกราบพระรัตนตรัย
ท่าเตรียม
ชาย :เทพบุตรเข้ายันพื้นห่างกันพอควรปลายเท้าตั้งชิดกัน
นั่งทับส้นเท้า
หญิง : นั่งท่าเทพธิดาเข่ายันพื้นในลักษณะชิดกัน ปลายเท้าลาบไปกับพื้นหงายฟ้าเท้านั่งทับส้นเท้า
จังหวะที่ ๒
ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อยนิ้วหัวแม่มือจุดกลางหน้าผาก (วันทา)
จังหวะที่ ๑
ประนมมือระหว่างอก (อัญชลี)
จังหวะที่ ๓
การกราบ (อภิวาท)
: ก้มลงกราบโดยทดสอบให้แขนทั้งสองข้างลงพื้นพร้อมกัน
: คว่ำมือทั้งสองแบนราบกับพื้นนิ้วทั้ง ๕ ชิดกัน มือทั้งสองวางห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจดพื้นระหว่างมือทั้งสองข้างได้
: สำหรับผู้ชายศอกต้องต่อเข่า ผู้หญิงให้ศอกแนบเข่าทั้งสอง
: ลุกนั่งในท่าคุกเข่า ทำตามจังหวะทั้งสามติดต่อไปจนครบ
๓ ครั้งแล้วทรงตัวขึ้น ยกมือประนมจดหน้าผากอีกครั้งหนึ่ง
เรียกว่า จบ แล้วลดตัวนั่งในท่าปกติ
การแสดงความเคารพต่อปูชนียสถาน
ปูชนียสถาน
สถานที่อันควรแสดงความเคารพสักการะ ศาสนาสถาน วัด โบสถ์
วิธีแสดงความเคารพ
ถ้าเป็นสถานที่ประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปมีพื้นที่เหมาะสมที่จะแสดงความเคารพได้อย่างสะดวก เช่น ในโบสถวิหาร ให้ใช้วิธีกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
ถ้าเป็นสถานที่ไม่เหมาะแกกานต์กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ให้ใช้วิธีประนมมือไหว้
ปูชนียบุคคล
บุคคลที่ควรแสดงความเคารพ
สักการะ คือ พระภิกษุ บิดา มารดา ครูอาจารย์ ผู้ที่ควรแสดงความ
เคารพทั่วๆไป วิธีแสดงความเคารพต่อปูญชนียะบุคคล ดังนี้
๑) การกราบพระ
๑.๑ การกราบพระ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระภิกษุใช้ วิธีแสดงความเคารพเหมือนกัน คือ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
๑.๒ การกราบบิดา มารดา ครู อาจารย์ปฏิบัติดังนี้
นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า
เบี่ยงตัวหมอบลง ให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้าง
วางแขนทั้งสองราบลงกับพื้นตลอดครึ่งแขน คือ จากศอกถึงมือ
ประนมมือวางตั้งลงกับพื้นแล้วก้มศีรษะลงให้หน้าผากแตะสันมือ
ทำครั้งเดียวไม่แบมือแล้วส่งตัวขึ้นนั่ง
๒) การไหว้
๒.๑ การไหว้พระสงฆ์ (ขณะยืน)
ยกมือที่ประนมขึ้นจดหน้าผาก
ให้ไปหัวแม่มือจดระหว่างคิ้ว ค้อมศีรษะลงให้ปลายนิ้วชี้จดตีนผม แนบมือให้ชิดหน้าผาก ค้อมตัวให้มาก
๒.๒ การไหว้บิดามารดา (ขณะยืน)
ยกมือที่ประนมขึ้นจดส่วนกลางของหน้า
ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจดปลายจมูกค้อมศีรษะให้ปลายนิ้วชี้จดระหว่างคิ้ว
ผู้ชายให้ยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ค้อมแต่ส่วนไหล่และศีรษะ
ผู้หญิงก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าย่อตัวลงไหว้ ค้อมศีรษะต่ำรับปลายนิ้ว
๒.๓ การไหว้ผู้ใหญ่
ยกมือที่ประนมจดส่วนล่างของหน้า
ให้ปลายหัวแม่มือจดปลายคาง ให้นิ้วชี้จดจมูกส่วนบน กรมศีรษะรับปลายมือให้พองาม
๒.๔ การรับไหว้
: ยกมือทั้งสองมาประนมไว้ที่อกแล้ว
ค้อมศีรษะให้ผู้ไหว้เล็กน้อย
การปฏิสันถารตามกลักปฏิสันถาน
หมายถึง การต้อนรับแขก การทักทายปราศรัย
ในสังคมไทย มีคำกล่าวว่า
" เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ.."
๑) อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยสิ่งของ
เช่น เมื่อแขกมาพบให้หาน้ำมารับรองก่อนแล้วก็รับรองด้วยอาหารอื่นตามสมควร ในอดีตมีคำกล่าวทักทายกันติดปากว่า " ไปไหนมา กินข้าวหรือยัง มากินกันก่อน" แสดงให้เห็นว่า คนไทยและความสำคัญกับการต้อนรับแขกด้วยอาหารมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจ
๒) ธรรมปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยธรรม
หมายถึง การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรกับฐานะของแขก เช่น ถ้าแขกมาพบก็ต้องลุกขึ้นยืนต้อนรับถ้าแขกมีเรื่องเดือดร้อนใจมาขอคำปรึกษาก็ต้องเป็นผู้ฟัง และให้คำแนะนำช่วยแก้ปัญหาตามแต่อัตภาพของตน
การปฏิสันถาร ถือเป็นมารยาทไทยที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกกับกาลเทศะ บุคคล สถานที่อย่าให้ดูน้อย
หรือมากจนเกินงามและแสดงออกด้วยความเต็มใจจริงใจ
หน้าที่ชาวพุทธ
คือ สิ่งที่ชาวพุทธทั่วไปควรเรียนรู้ เพื่อจะได้ทราบและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
การปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ
สังคมหมายถึงการอยู่ร่วมกันของสมาชิกต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันและมีหน้าที่สร้างสมาชิกใหม่
สังคมพุทธหมายถึงการอยู่ร่วมกันของสมาชิกซึ่งประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 ได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา
1 การบวช:วิธีหนึ่งของการสร้างสมาชิกให้กับสังคมพุทธ คือการที่ผู้ชายต้องทำหน้าที่บวชเรียนพระธรรมวินัยเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
2ศึกษาคำสอนและปฏิบัติตามคำสอน สังคมพุทธเน้นการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรมะจึงต้องปฏิบัติอย่างถูกต้อง
3 เผยแพร่คำสอน ทั้งพระและฆราวาสควรเข้าใจและนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาไปใช้อย่างถูกต้อง เช่นเชื่อกรรมว่าแต่ละคนมีกรรมเป็นของตัวเองผู้ทำกรรมต้องรับผลกรรมของตนไม่สามารถแก้กรรมหรือลบล้างชำระบาปไม่ให้ส่งผลแก่ผู้กระทำได้เช่นเมื่อเรียนรู้กฎแห่งกรรมก็จะต้องรับกรรมชั่วทำแต่ความดี
4 ปกป้องและรักษาพระพุทธศาสนา สังคมพุทธไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาสต่างก็มีหน้าที่ต้องสอดส่องดูแลถ้าพบว่ามีผู้ใดทำผิดลบ
การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองตามหลักทิศเบื้องล่างในทิศ 6
สำหรับผู้ปกครองพึงปฏิบัติดังนี้ 1 จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลังความสามารถ 2 ให้อาหารและให้รางวัล 3 รักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ 4 แจกของที่มีรสแปลกให้กิน 5 มีวันหยุดพักผ่อนตามโอกาสบ้าง
สำหรับผู้อยู่ในปกครองพึงปฏิบัติต่อผู้ปกครองดังนี้ 1 เริ่มงานก่อนนาย 2 เลิกงานทีหลังนาย 3 ถือเอาแต่ของที่นายให้ 4 ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น 5 นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่
การเข้าค่ายธรรมะ
ประโยชน์ของการเข้าค่ายธรรมะ 1ปลูกฝังนิสัยที่ดีงามตามหลักพระธรรมศาสนา 2 รู้จักการอยู่ร่วมกันสังคม 3เรียนรู้หลักธรรมและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน 4 ได้ฝึกอบรมจิตฝึกใช้ชีวิตครองตนถือเพศพรหมจรรย์
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
1การมอบตัวกับพระอาจารย์ ผู้ปกครองหรือครูนำเด็กไปพบพระอาจารย์พร้อมดอกไม้ธูปเทียน
2 สถานที่ ควรจัดในสถานที่ที่เหมาะสมเช่นพระอุโบสถพระวิหารศาลาการเปรียญหอประชุมเป็นต้น
3 พิธีการให้ผู้แสดงตนหรือตัวแทนจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยจากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอน
การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาคือวิธีการในการประกอบพิธีหรือกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา 1 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม 2 เป็นจุดนัดหมายให้ตั้งใจเริ่มต้นเตรียมตัวให้พร้อม 3 เป็นเครื่องควบคุมกายวาจาและใจให้เป็นระเบียบเรียบร้อย4 เป็นอุบายที่ทำให้คนหมู่มากอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
การบรรพชร= การเว้นจากความชั่วทุกอย่าง
อุปสมบท=การเข้าถึงสภาวะอันสูง หรือการบวชเป็นภิกษุ
-ประเภทของการบรรพชาและอุปสมบท
1.เอหิภิกขุอุปสัมปทา การบวชที่พระพุทธเจ้าประทานให้เอง
2.ติสรณคมนูปสัมปทา การบวชด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สาวกทำในยุคต้สพุทธกาล
3.โอวาทปฏิคคหณูสัมปทา การบวชด้วยการรับพระโอวาท
4.ปัญหาพยากรณูสัมปทา การบวชด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
5.ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา ปารบวชด้วยการรับครุธรรม8ประการ
6.ทูเตนอุปสัมปทา การบวชด้วยทูต
7.อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การบใชจากสงฆ์สองฝ่ายคือ ภิกษุ ภิกษุณี
8.ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การบวชโดยคณะสงฆ์
;ปัจจุบันมีเพียง2แบบเท่านั้นคือแบบติสรณคมนูปสัมปทา ใช้ในการบวชเณร และญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ใช้ในการบวชถิกษุ
-ประโยชน์ของการบรรพชาและการอุปสมบท
1.เพื่อเรียนรู้พระธรรมวินัย ฝึกฝนพัฒนาตน
2.เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
3.เพี่ฝึกฝนตนให้รู้จักอดทน อดกลั้น
4.เพื่อดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีของสังคม
การบวชเป็นชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี
ชี= สตรีผู้นุ่งขาว ห่มขาว โกนผม โกนคิ้ว
ธรรมจาริณี หรือ เนกขัมมนารี =สตรีที่นุ่งขาวห่มขาว ไม่โกนผม ไม่โกนคิ้ว
วิธีการบวช
1.ผู้ขอบวชต้องแต่งกายชุดขาว
2.ตัวแทนผู้ขอบวชถวายธูปเทียนแพแด่พระสงฆ์จำนวน1รูป หรือ4ขึ้นไป
3.กราบ3ครั้ง
4.กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
5.กล่าวคำ อาราธนาศีล8
6.รับไตรสรณคมน์
7.สมาทานศีล8
8.นำเครื่องสักการะไปถวายพระอาจารย์ รับฟังโอวาท เป็นอันเสร็จพิธี
ประโยชน์ของการบวช
1.เพื่อฝึกฝนอบรมตน
2.เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
3.เพื่อให้จิตสงบ ปราศจากความฟุ้งซ่าน
4.เพื่อปลดเปลืองตนให้พ้นจากความทุกข์
การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา
ความเป็นมาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศไทยเริ่มมาจากแนวคิดของพระพิมลธรรมองค์สภานายกมหาจุฬาลงกรณ์ณราชวิทยาลัยหลังจากได้เดินทางไปดูงานด้านพระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่าและศรีลังกาได้พบเห็นการสอนพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ในประเทศนั้นๆและเห็นว่ามีผลดีมากเมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทยจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาหารือร่วมกับผู้บริหารโดยได้ดำเนินการเปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2501 ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
1 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนมีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา
2 เพื่อส่งเสริมความรู้และปลูกฝังศีลธรรมวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้กับเด็กและเยาวชน
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใกล้ชิดกะพระภิกษุและสามเณร
4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
วัตถุประสงค์ของการจัดทำศึกษา
1 เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์มีโอกาสศึกษาพุทธประวัติประวัติพุทธสาวกพระธรรมพระวินัยพุทธศาสนสุภาษิตศาสนาพิธีอย่างถูกต้อง
2 เพื่อให้คฤหัสถ์สามารถนำหลักธรรมมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิต
3 เพื่อความมั่นคงและแพร่หลายยิ่งๆขึ้นไปของพระพุทธศาสนา
4 เพื่อสร้างสังคมคุณภาพรวมทั้งพัฒนาพระสงฆ์ให้มีความสามารถในการเผยแผ่หลักธรรม