Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Inteacerebral hemorrhage with Intraventricular hemorrhage - Coggle Diagram
Inteacerebral hemorrhage with Intraventricular hemorrhage
พยาธิสรีรภาพของการบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury)
การบาดเจ็บระยะสอง
มีก้อนเลือดในโพรงกะโหลกศีรษะ (Intracranial Hematoma)
เลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (epidural hematoma)
เป็นก้อนเลือดที่รวมตัวจากการมีเลือดออกจากหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ middle meningeal หลอดเลือดดำ superior sagittal sinus และ diploic การเกิดหลอดเลือดฉีกขาดจนทำให้เกิดก้อนเลือด เลือดที่ออกจากหลอดเลือดจะทำให้มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกะโหลกศีรษะเพิ่มเกิดจุดเลือดออกมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการเลวลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาต่อมา ตำแหน่งที่เกิดบ่อย คือ Temporal bone
เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (subdural hematoma)
เป็นก้อนเลือดที่รวมตัวกันที่รวมตัวกันของเลือดที่ออกจากหลอดเลือดดาคอร์ติคอล (cortical vein) และเส้นเลือดดาที่เชื่อมจากสมองและเยื่อดูรา (bridging vein) ที่ออกระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา และชั้นอแรคนอยด์
เลือดออกภายในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage)
พบได้ร้อยละ 4 ถึง ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ มักเกิดร่วมกับการช้าของสมอง เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่แตกแขนงออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของเนื้อสมอง
เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นอแรคนอยด์ (subaracnoid hemorrhage
) เป็นภาวะที่เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นในซึ่งยึดติดกับเนื้อสมอง พบบ่อยที่สุดในภาวะเลือดออกในสมอง มีทั้งเกิดขึ้นเอง (spontaneous) หรือเกิดจากแรงกระทำ (traumatic)
การบาดเจ็บระยะแรก
กะโหลกศีรษะ (skull)
:!:กะโหลกแตกร้าวเป็นแนว (linear skull fracture) เกิดจากกะโหลกศีรษะ ถูกแรงกระแทกทำให้จุดที่ถูกกระทบยุบบุ๋มลงแล้วเด้งกลับขึ้นมา ขอบนอกโป่งออกเป็นเส้นตรง ถ้าแรงมากจะกระจายไปทั่ว ทำให้รอยแตกขยายออกไปทำให้กระดูกที่ฐานของกะโหลกซึ่งบางกว่าแตก การเกิดกะโหลกศีรษะแตกเป็นเส้นตรงโดยไม่มีภาวะเลือดออกในสมอง
กะโหลกแตกยุบ (depressed skull fracture)
กะโหลกศีรษะแตกเป็นหลายชิ้น (comminuted fractures)
กะโหลกแตกร้าวบริเวณฐาน (basilar skull fracture)
เนื้อสมองได้รับบาดเจ็บ (brain injuries)
สมองกระทบกระเทือน (cerebral concussion)
จากแรงกระแทกที่ทำให้มีการหมุน การขยับของก้านสมอง ทำให้ผู้บาดเจ็บมีอาการหมดสติไปชั่วครู่ในขณะนั้น อาการอ่อนปวกเปียก หยุดหายใจ ความดันโลหิตต่ำและไม่พบคลื่นสมอง เมื่อฟื้นคืนสติแล้วจะตรวจไม่พบความผิดปกติของระบบประสาท แต่ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ (amnesia) อาจมีอาการมึนงง ปวดศีรษะหรือคลื่นไส้
สมองช้ำ (cerebral contusion) และสมองฉีกขาด (brain laceration)
สมองบริเวณที่ถูกกระแทกจากภายนอก (coup injury) และสมองตรงข้ามกับบริเวณที่ถูกกระแทก (contra coup injury) ถูกทำลาย มีทำให้อาการเลวลงเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน การรับรู้สติลดลงหรือหมดสติ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นอัมพาตชั่วคราว การหายใจผิดปกติ รูม่านตาและการกรอกตาผิดปกติ
หนังศีรษะ(scalp)
:!:บวม ช้า หรือโน (contusion) เป็นการชอกช้าของหนังศีรษะชั้นนอกจากแรงกระทบโดยตรงจากวัตถุที่ไม่มีคม
ถลอก (abrasion) เป็นการหลุดของผิวหนังชั้นหนังกาพร้า เมื่อศีรษะครูดกับวัตถุ *ฉีกขาด (laceration) เป็นบาดแผลที่เกิดจากวัตถุที่มีคม ทาให้เกิดบาดแผลที่มีขอบเรียบ แต่ถ้าเกิดจากวัตถุที่ไม่มีคมจะทาให้บาดแผลชอกช้า ขอบแผลไม่เรียบ หรือหนังศีรษะขาดหาย (avulsion)
ปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดมีเลือดออกในสมอง
-อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง
-โรคเบหวาน,ความดันโลหิตสูง
-การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ใช้สารเสพติด
-การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดและยาต้านเกล็ดเลือด
-ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีลงไป ทั้งนี้อาจเป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน การพลัดตกจากที่สูง อุบัติเหตุทางกีฬา และการถูกทำร้าย
-ภาวะเลือดออกผิดปกติ ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่จะส่งผลให้เลือดออกง่าย จนเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้
การตรวจการวินิจฉัย
MRI scan
CT scan
อาการและอาการแสดง
-ปวดหัวรุนแรงขึ้นมาเฉียบพลัน
-มีอาการชัก โดยไม่เคยมีประวัติโรคลมชักมาก่อน
-คลื่นไส้หรืออาเจียนอย่างรุนแรง
-แขนหรือขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
-หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สับสน เพ้อ ไม่ตอบสนอง มีการตื่นตัวน้อยลง เซื่องซึม
-สูญเสียการทรงตัวและการประสานงานกันของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
-ตาพร่ามัว การตอบสนองของรูม่านตาไม่เท่ากัน
-พูดสื่อสารไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด มีปัญหาในการเขียนหรืออ่านหนังสือ
-กลืนลำบาก ลิ้นรับรสชาติผิดแปลกไปจากปกติ
-ความดันโลหิตสูงขึ้น
-การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กมีปัญหา เช่น มีอาการมือสั่น
การรักษา
การผ่าตัด
ให้ยาตามแผนการรักษา
ภาวะแทรกซ้อน
อัมพาต ไม่สามารถหายใจได้เอง สูญเสียการทำงานของสมอง เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง หรือได้รับผลข้างเคียงจากยาหรือกระบวนการรักษา และในกรณีที่มีเลือดออกในสมองมากยังมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตลงอย่างรวดเร็ว