Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
LIPIDS, image, image, image - Coggle Diagram
LIPIDS
กรดไขมันอิ่มตัว
ความหมาย
กรดไขมันอิ่มตัว (อังกฤษ: Saturated fat) คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง
กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18)
กรดไขมันอิ่มตัวคือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOHกรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-)
ไขมันมีประโยชน์อย่างไร
- ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงที่สุดคือ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัมของไขมัน ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ ที่มีประโยชน์ นอกเหนือจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามินและเกลือแร่
ความหมาย
คือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ (water-insoluble) มีหลายชนิด หรือ สารประกอบ ไม่มีขั้ว (nonpolar) ละลายน้ำน้อยตลอดจนละลายน้ำมาก พวกที่ละลายน้ำได้มากจะเป็นสารประกอบจำพวก มีขั้ว (polar) ลิปิดบางตัวมีโมเลกุลเป็นเส้นตรง อะลิฟาติก (aliphatic) บางตัวมีวงแหวนเรียก อะโรมาติก (aromatic) บางตัวยืดหยุ่นบางตัวเปราะบาง ลิพิดมี โมเลกุล ส่วนใหญ่เป็นโพลาร์ และมีบางส่วนที่เป็น นอนโพลาร์ ผลคือลิพิดตัวนี้สามารถละลายได้ทั้งในตัวทำละลายที่เป็น โพลาร์ เช่นน้ำ และนอนโพลาร์ เช่นน้ำมัน โมเลกุลเหล่านี้ เราเรียกว่า แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) คือใน โมเลกุล เดียวกันมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) และส่วนที่กลัวน้ำ ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ตัวอย่างเช่น คอเลสเตอรอลส่วนที่เป็นโพลาร์ คือ -OH (ไฮดรอกซิล หรือ แอลกอฮอล
กรดไขมัน
ความหมาย
กรดไขมัน (Fatty acid) เป็น คาร์บอกซิลิก แอซิด (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาว มีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (saturated) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว(unsaturated) กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิ่มโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม กรดไขมันเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของไขมันทุกชนิด มีคาร์บอนตั้งแต่ 4 – 36 ตัว ไม่แตกกิ่ง พันธะระหว่างคาร์บอนอาจเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันอิ่มตัว หรือมีพันธะคู่ปนอยู่กับพันธะเดี่ยว ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว จำนวนของคาร์บอนในกรดไขมันส่วนใหญ่มักเป็นเลขคู่ จุดหลอมเหลวของกรดไขมันขึ้นกับจำนวนคาร์บอนและจำนวนพันธะคู่ เช่นที่อุณหภูมิห้อง กรดไขมันอิ่มตัวที่มีคาร์บอน 12 – 24 ตัวอยู่ในสภาพเป็นไข ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีคาร์บอนเท่ากันยังเป็นน้ำมันอยู่ เป็นต้น
ฟอสโฟลิปิด
ความหมาย
ฟอสโฟลิปิดหรือ กลีเซอโรฟอสโฟลิพิด เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มต่างๆในสิ่งมีชีวิต โครงสร้างคล้ายไตรกลีเซอไรด์ แต่มีกรดไขมันเพียงสองโมเลกุล โดยอีกตำแหน่งหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตมาเกาะและจะมีสารอื่นมาเกาะที่หมู่ฟอสเฟตอีกต่อหนึ่งซึ่งเป็นการกำหนดชนิดของฟอสโฟลิปิด เช่น โคลีน (choline) หรือ เซอรีน (serine) ถูกสร้างบนแกนกลางที่เป็น กลีเซอรอล (glycerol) ซึ่งเชื่อมต่อกับหางสองเส้นที่เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันโดยรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นเอสเตอร์ (ester) และหนึ่งหัวที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อเป็นฟอสเฟตเอสเตอร์
ไตรกลีเซอไรด์
ความหมาย
ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) คือ สารอาหารประเภทไขมันที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย โดยตับและลำไส้เล็ก เป็นตัวสร้างไตรกลีเซอไรด์ 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลรี่ ไตรกลีเซอไรด์ละลายอยู่ในเลือดได้โดยรวมตัว กับโปรตีน ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ
-
-
-
-