Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด (โดยไม่ใช้ยา)…
บทที่ 2 การดูแลผู้คลอดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด (โดยไม่ใช้ยา) และการส่งเสริมสุขภาพในระยะคลอด
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดในระยะคลอด
การเจ็บครรภ์เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก และการถ่างขยายของปากมดลูกชั่วขณะ กระบวนการคลอด
ตลอดจนมีการเคลื่อนต่ำของส่วนนำและการเปิดขยายของปากมดลูกตลอดเวลา
ความปวดที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดกระบวนการคลอด
ปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อความเจ้บปวดในระยะคลอด
ด้านมารดา
มดลูกไวต่อความเจ็บปวด
กล้ามเนื้อลายและหลอดเลือดหดตัว
เกิด lactic acid และ acidosis ปวดกล้ามเนื้อระบบทางเดินอาหารระบบขับถ่ายลดลง
กระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติ
ค PR RR BPสูงขึ้น หลอดเลือดหดตัวปลายมือปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ขนลุก
ระดับเปลือกสมอง
วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ อารมณ์เปลี่ยน หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ จ าข้อมูลไม่ได้ ถอยหนี แยกตัว เบื่ออาหาร นอนไม่พอ เหนื่อยล้า ความอดทนลดลง
ปฏิกิริยาทางจิตสรีระ
น้ำเสียงเปลี่ยนไป กระสับกระส่าย
ด้านทารก
ขณะเจ็บครรภ์เกิดfetal distress (ขาดออกซิเจน) FHR มีภาวะlate decelerationสมองของทารกอาจได้รับความกระทบกระเทือนจากการหดรัดตัวของมดลูก
วิธีการดูแลเพื่อบรรเทาความปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
การลดตัวกระตุ้นความปวด
การนั่ง
การนั่งเก้าอี้โยก (rocking) การนั่งเอียงไปมาบนลูกบอล (swaying) การนั่งเก้าอี้ที่กลับหลังและซบหน้าบนพนักพิงเก้าอี้ (sitting backwards on a chair) นั่งยอง การเดิน
ท่า
ท่าศีรษะและลาตัวสูง
(upright position) เป็นท่าที่ศีรษะและกระดูกสันหลังท ามุม 30-90 องศา ได้แก่ ท่ากึ่งนั่ง (semi sitting position) ท่าร็อกกิ้ง (rocking motion) ท่านั่ง (sitting position) ท่านั่งยอง(squatting position)ท่าคุกเข่า (kneeling position) ท่ายืน (standing position)
ท่าคุกเข่า
(all four or hands and knees position) การที่ผู้คลอดอยู่ในท่าคุกเข่า อาจช่วยการหมุนของศีรษะให้ท้ายทอยมาอยู่ด้านหน้าช่องเชิงกรานได้ท่านี้ช่วยในรายที่มีการคลอดติดไหล่
ท่าพีเอสยูแคท (PSU Cat)
ท่าคุกเข่าโน้มตัวไปข้างหน้าโอบแขนและพักบนลูกบอลที่มีความสูงระดับไหล่
ท่านั่งยอง
การเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
การกระตุ้นประสาทส่วนปลาย
การประคบร้อน และเย็น
โดยประคบความร้อนบริเวณท้องส่วนล่าง ขาหนีบ และฝีเย็บ และประคบเย็นท าบริเวณหลัง ก้น และฝีเย็บ อุณหภูมิที่ใช้ต้องไม่สูงหรือต ่ามาก การประคบร้อนใช้อุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เพื่อให้ร้อนเฉพาะบริเวณผิวหนัง การประคบเย็นใช้อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เพราะจะเย็นถึงชั้นกล้ามเนื้อ ใช้เวลาในการประคบ 10 นาที
การสัมผัส การนวด และการกดจุด
การสัมผัสเป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ ท าให้มีการปิดประตูตามทฤษฎีควบคุมประตู และยังช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดี
การลูบ
(abdominal eff leurage) การลูบหน้าท้อง
การนวด
ให้เน้นบริเวณไหล่ หลัง กระเบนเหน็บ และต้นขา การนวดจะลงน ้าหนักที่กล้ามเนื้อมากกว่าการลูบ ผู้นวดต้องผ่านการอบรม และฝึกฝนจนเกิดความช านาญก่อนจึงจะนวดลดปวดให้ผู้คลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกดจุด
เป็นการกระตุ้นปลายประสาทขนาดใหญ่ กดจุดที่ตำแหน่ง SP6 อยู่เหนือข้อเท้า LI4 หรือจุด Hegu อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ส่วนแรก และ BL67 อยู่บริเวณปลายนิ้วก้อยของนิ้วเท้าต้องได้รับการฝึกถูกต้องตามหลักการแพทย์แผนโบราณของจีน
การส่งเสริมการยับยั้งการส่งกระแสประสาทจากไขสันหลังในระดับสมอง
การใช้ดนตรี
ดนตรีบรรเลงช่วยให้ผู้ฟังผ่อนคลาย มากกว่าเพลงที่มีเนื้อร้อง ควรมีระดับเสียง 45-50 เดซิเบล
การเพ่ง และเบี่ยงเบนความสนใจ
(attention-focusing and distraction) โดยให้ผู้คลอดเพ่งดูที่จุดหนึ่งจุดใดอย่างแน่วแน่ขณะมดลูกหดรัดตัวเพื่อให้เกิดสมาธิ เกิดสัญญาณที่แรงกว่าไปทดแทนสัญญาณจากการหดตัวของมดลูก มีผลให้ระดับการรับรู้ต่อความรู้สึกเจ็บปวดลดลง
สุคนธบำบัด
เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชหอม โดยกลิ่นจะถูกส่งผ่านทางเส้นประสาทรับกลิ่นซึ่งเป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองด้านอารมณ์ สารในน้ามันหอมระเหยมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ต่อความปวด
การใช้เทคนิคการหายใจ
(breathing technique) ทำให้เกิดความสมดุลกับการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่ และแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมการเพ่งจุดสนใจไปที่การหายใจ
วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดช้า
ระยะ Cx< 3เซนติเมตร ควรรหายใจแบบช้า (slow-deep chest breathing) คือ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดหายใจยาวและลึกเพื่อล้างปอด1 ครั้งจากนั้นหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ นับ1-4 แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ1-5
วิธีหายใจในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
หายใจแบบเร็วตื้นและเบา (shallow accelerated decelerated breathing)ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 4-7เซนติเมตร
การเบ่งคลอด(pushing)
ให้ผู้คลอดเบ่งเองตามที่รู้สึกอยากเบ่ง หรือเบ่งภายใต้การสอนและควบคุม จำแนกเป็น การเบ่งคลอด valsalvapushing หรือกลั้นหายใจนานมากกว่า 6 วินาทีขณะเบ่งคลอด และการเบ่งคลอดแบบเปิดกล่องเสียง opened glottis pushing ให้ผู้คลอดออกเสียงเบาๆ หรือมีลมเล็ดลอดขณะเบ่งได้ และใช้เวลาเบ่งแต่ละครั้งนาน 4–8วินาที
การส่งเสริมความสุขสบายในระยะคลอด
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
ให้ผู้คลอดบ้วนปากบ่อยๆ และให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพียงพอเพราะ NPOช่องปากจะแห้ง ริมฝีปากอาจแตก
อาจเช็ดตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าให้หากพบว่าเปื้อน หรือมีสิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอดเปรอะเปื้อน ต้องเช็ดท าความสะอาด และใช้ผ้าแห้งรองใต้ก้น
การช่วยให้ผู้คลอดเผชิญกับความปวดและความไม่สุขสบาย
การดูแลผู้คลอดให้เผชิญความปวดโดยไม่ใช้ยานั้น มีหลากหลายวิธี อาจเลือกเพียงหนึ่งวิธีหรือใช้หลายวิธีมาผสมผสานกัน
สามารถให้ยาลดปวดได้ตามแผนการรักษาของแพทย์
ควรค านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อความปวดของผู้คลอด ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
การดูแลสิ่งแวดล้อม
จัดให้มีความเป็นส่วนตัวมากเท่าที่จะท าได้ เช่น กั้นม่าน เป็นต้น ปูเตียงด้วยผ้าสะอาด แห้ง ให้เรียบตึง เสื้อผ้าที่สะอาดและแห้ง
หากมีผ้ารองเลือดหรือน ้าคร ่าใต้ก้นผู้คลอด เปลี่ยนผ้าให้ทุกครั้งที่ผ้าชุ่ม
อนุญาตให้ญาติเฝ้าคลอดได้
การจัดการความเจ็บปวดในระยะคลอดโดยการใช้ยา
การจัดการความปวดโดยใช้ยา ให้ยา Pethidine / Fentanyl ตามแนวปฏิบัติในการบริหารยา มักให้ในกรณีที่ผู้คลอดอยู่ในระยะ Activeปากมดลูกเปิด มากกว่า 3 ซ.ม.หรือในกรณีที่ผู้คลอดไม่สามารถเผชิญความเจ็บปวดได้เหมาะสม
แนวทางการจัดการยา Pethidine (Meperidine)
ไม่สั่งผสมยาฉีด Pethidineร่วมกับยาอื่น
ดูแลให้ยา pethidine 50 mgIV push ช้าๆใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 นาที
สั่งยา Pethidineเป็น mg และวิธีการให้ยาชัดเจน
สังเกต / ซักถามอาการของผู้คลอดขณะให้ยาตลอดเวลา ถ้ามีอาการหายใจฝืด หายใจล าบากให้หยุดยา และรายงานแพทย์ทันที
ติดตามอาการข้างเคียง ได้แก่อาการหน้ามืดใจสั่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น นำไม้กั้นเตียงขึ้นเพื่อป้องกันการตกเตียง
ควรเตรียมยา Narcan(Naloxone) ให้พร้อมใช้ทันที ในการพิจารณาการให้ยา ควรให้ยาก่อนคลอดอย่างน้อย 1 ชม.เนื่องจาก ยามีผลในการกดการหายใจทั้งมารดาและทารกในครรภ์
แนวทางการจัดการยา Fentanyl
ห้ามให้ผู้ป่วยที่แพ้ มอร์ฟิน หรือสารที่ออกฤทธิ์เหมือนมอร์ฟิน
ขนาดยาที่ใช้คือ 1 mcg/kg จัดเตรียมยาโดยเจือจางsterile water for injection
ฤทธิ์ของยาและฤทธิ์ข้างเคียงเช่น ภาวะกดการหายใจ กล้ามเนื้อกระตุก อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ให้ผู้ป่วยหลับตาขณะ push ยา เพื่อลดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ให้ยาแบบIV push ช้า ๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 นาที
เตียมยา Narcan (Naloxone) ซึ่งเป็น Antidose ของ Fentanyl