Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ (Abuse during pregnancy) - Coggle Diagram
ความรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์
(Abuse during pregnancy)
ความหมาย
เป็นพฤติกรมหรือการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางกาย วาจา จิตใจและทางเพศ จำกัดกีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลให้เกิดให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
รูปแบบความรุนแรงในสตรีมีครรภ์ อาจพบได้ 3 แบบ
2 การข่มเหงกเพศ
เช่น การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจ การบังคับให้เปลื้องผ้า การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นหรือกับสัตว์ เป็นต้น
3. การทำร้ายจิตใจ (verbal or emotional abuse)
ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้วาจาคุกคามทางอารมณ์ เพื่อให้เกิดความกลัว ความไม่สบายใจ การบังคับขู่เข็ญต่าง ๆ เช่น การใช้คำพูด กิริยา หรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่าให้อับอาย การลั่นแกล้ง การทรมานให้เจ็บช้ำน้ำใจ การบังคับ จำกัดสถานที่ จำกัดกิจกรม กรบีบบังคับ หงุดหงิด ข่มขู่ การหึงหวง การทอดทิ้ง การทำลายสิ่งของ หรือทำร้ายสัตว์เลี้ยง
1. การทำร้ายร่างกาย
เป็นการกระทำรุนแรงที่เห็นชัดจนที่สุด ทั้งนี้มีการกระทำรุนแรงต่อร่างกาย ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรง เช่น ถ่มน้ำลาย การหยิก การตบหน้า การใช้ไฟลน การบีบคอ ไปจนถึงการใช้กำลังขั้นรุนแรง เช่น การชกต่อย การใช้อาวุธทำร้าย เป็นตัน
ปัจจัยเสริม
1.สามีกลัวภรรยาจะสนใจทารกที่อยู่ในครรภ์มากกว่าตนเอง
4.สามีเคยขาดความอบอุ่นในวัยเด็ก หรือเจ็บป่วยทางจิตเวช เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น
5.สามีมีทัศนคติ ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความรุนแรง
3.สามีบางคนไม่ชอบความอุ้ยอ้ายของภรรยา ทำให้เกิดความเครียด สับสน หรือโกรธ นำไปสู่การทำร้ายร่างกายภรรยาและทารกในครรภ์ เช่น ทุบตีบริเวณเต้านม มดลูก
2.สามีกลัวถูกแบ่งปันความรัก ทำให้เกิดความรู้สึกโกรธทารกในครรภ์และภรรยา
6.สามีและภรรยา ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล
7.ใช้สารเสพติด เช่น สุรา
อุบัติการณ์
มีการคาดการณ์ว่า 1 ใน 5 ของหญิงตั้งครรภ์เคยถูกกระทำความรุนแรง ซึ่งผู้ที่ใช้ความรุนแรง (abuser) ส่วนใหญ่ คือ สามี และพบอุบัติการณ์ของความรุนแรงสูงขึ้นในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีการใช้สารเสพติด
ผลกระทบของความรุนแรงในครอบครัว
ผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์
ผลกระทบด้านร่างกาย ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิต
ผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า ขาดแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ
ผลกระทบทางด้านพฤติกรรม อาจดื่มสุรา สูบบุหรี่ ไม่สนใจตนเอง หรืออาจฆ่าตัวตาย
ผลกระทบทางด้านสังคม อาจมีปัญหาคู่สมรส แยกตัวจากสังคม ไม่อยากเป็นมารดา
5.ด้านจิตใจ เสียใจ ซึมเศร้า รู้สึกตนเองไร้คุณค่า โกรธ อับอาย เครียด วิตกกังวล ทำร้ายตัวเอง บางคนคิดฆ่าตาย ให้มาใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ บางคนหันไปสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือใช้สารสพผิด ทำให้เกิดผลเสียต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก มีสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับทารก
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
เช่น การแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกตายคลอดและกระดูกของทารกในครรภ์หัก
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติและการสังเกตพบอาการและอาการแสดงของการถูกกระทำความรุนแรง เช่น มีรอยฟกช้ำตามร่างกาย เป็นต้น
หญิงตั้งครรภ์อาจให้ข้อมูลเรื่องการถูกทำร้ายร่างกาย เพื่อให้ได้ข้อมูลเรื่องการใช้ความรุนแรงจึงต้องใช้เวลาในกรสร้างสัมพันธภาพ
การตรวจร่างทาย พบร่องอยของการถูกทำร้ายร่างกาย หรือร่องรอยของการถูกข่มขืน
แนวทางการดูแลรักษา
ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำความรุนรงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ให้การดูแลอย่างเหมาะสมตามแนวทางการรักษาวะแทรกซ้อนนั้น ๆ
ถ้าพบปัญหาทางด้านจิตใจหรือสังคมส่งต่อเพื่อรับการบำบัดอย่างเหมาะสม
ให้การดูแลในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด และระยะหลังคลอดเช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรง
ระยะตั้งครรภ์
1.ประเมินสัญญาณชีพ การเพิ่มของน้ำหนัก ความสูงของยอดมถูก การบาดเจ็บตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและอาการผิดปกติอื่น ๆ
2.ประเมินการดิ้นและเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ติดตามคลื่นความถี่สูงและผลการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์จากการทำ NSS หรือ BPP
ให้คำแนะนำเรื่องการประกอบอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเพียงพอ
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หลีกเลี่ยงการเดินทางไกล และไม่ออกกำลังกายหักโหม
แนะนำเรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกายละอวัยวะสืบพันธุ์
แนะนำให้ประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวัน
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด
ระยะคลอด
1 สร้างสัมพันธภาพกับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกไว้วางใจ
2 ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลโดยช่วยให้หญิงตั้งครรภ์สำรวจความรู้สึกและสถานการณ์ที่เป็นจริง ให้หญิงตั้งครรภ์ได้ระบายความโกรธและความเศร้าโศก ช่วยเหลือให้หญิงตั้งครรภ์ผ่านพ้นภาวะวิฤต
3 ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ เช่น childbirth preparation class, prenatal class, maternal class เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการปรับตัว
4 ส่งสริมกสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดา ทารก และครอบครัวทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เช่น การให้ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ การสัมผัสขณะทที่ทารกดิ้น การพูดคุยกับทารกในครรภ์
5 ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดา และทารกทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างสม่ำเสมอ