Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์ - Coggle Diagram
ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
องค์ประกอบของความคิดเชิงสร้างสรรค์
ด้านทัศนคติ (attitude) และบุคลิกภาพ (personality) 12 ประการ
1.เป็นคนเปิดกว้างในการรับประสบการณ์ใหม่ ๆ
2.มีอิสระในการคิดและตัดสินใจ
3.มีความเชื่อมั่นและเป็นตัวของตัวเอง
4.กล้าเผชิญความเสี่ยง
5.มีทัศนคติเชิงบวกต่อสถานการณ์
6.มีแรงจูงใจสูงที่จะทำให้สำเร็จ
7.สนใจสิ่งที่สลับซับซ้อน
8.ยินดีทำงานหนัก
9.บากบั่นอุตสาหะ
10.อดทนต่อปัญหาที่มองไม่เห็นคำตอบ
11.เรียนรู้จากประสบการณ์ความล้มเหลว
12.รับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ด้านสติปัญญา 4
1.ความสามารถในการกำหนดขอบเขตของปัญหาสามารถให้นิยามหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้อย่างชัดเจน
2.ความสามารถในการใช้จินตนาการ
เพราะการวาดภาพจากจินตนาการช่วยทำให้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น
3.ความสามารถในการคัดเลือกอย่างมียุทธศาสตร์คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
มุ่งมั่นสู่หนทางการแก้ปัญหาที่มีศักยภาพ
4.ความสามารถในการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเลือกโดยการประเมินว่าแนวคิดใดมีความสอดคล้องกับการที่จะได้คำตอบที่มีคุณภาพสูง
ด้านความรู้
คนมีความรู้มักจะคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่า
ทำให้คิดงานที่มีคุณภาพเพราะมีรากฐานของความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นรองรับ
ด้านรูปแบบการคิด
รูปแบบการคิดของคนบางคนช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ความสมดุลระหว่างการคิดแบบมองมุมกว้าง
ด้านแรงจูงใจ
แรงจูงใจที่กระตุ้นจากภายในมีประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์
ความต้องการประสบความสำเร็จ
ความต้องการสิ่งใหม่
ด้านสภาพแวดล้อม
ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้คนในสังคมขาดความคิดสร้างสรรค์
สังคมที่มีลักษณะเผด็จการทำให้คนในสังคมไม่กล้าคิดนอกกรอบ
ขั้นตอนและเทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
การระดมสมอง (brainstorming) เพื่อหาความคิดใหม่ที่หลากหลาย
กระตุ้นให้เกิดการออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกันหากมีผู้ที่นั่งเงียบหรือบางคนผูกขาดพูดอยู่คนเดียว
ช่วยไกล่เกลี่ยหากมีผู้ที่โต้แย้งกัน
กำหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง
ระดมความคิด เพื่อให้ได้ความคิดมามากที่สุด โดยมีกฎว่าต้องจดทุกความคิดโดยไม่มีการประเมินใด ๆทั้งสิ้น
สรุปผลการระดมสมอง
1.ความคิดที่ดีพร้อมไปดำเนินการได้
2.ความคิดดีรอการพิจารณา
3.ความคิดที่ต้องพิจารณา
ทำของเก่าให้เป็นของใหม่ด้วยแผ่นตรวจสอบของออสบอร์น (Osborn’s checklist)
นำไปใช้ทำอย่างอื่น (put to other uses)
ใช้ทำอะไรได้อีก
ถ้านำไปดัดแปลงแล้วจะนำไปทำอะไรได้บ้าง
นำอย่างอื่นมาดัดแปลง (adapt) ใช้แทนได้หรือไม่
ปรับเปลี่ยน (modify) เปลี่ยนรูปร่าง
เพิ่มหรือขยาย (magnify) เพิ่มส่วนประกอบให้มากขึ้น
ลดหรือหด (minify) ย่อส่วนลง ลดราคาให้ถูกลง
ทดแทน (substitute) ใครจะมาแทนได้อีก จะใช้อะไรแทนได้บ้าง
จัดใหม่ (rearrange) จัดองค์ประกอบใหม่
สลับ (reverse) กลับด้าน เปลี่ยนขั้ว
ผสมรวม (combine) รวมกับผลิตภัณฑ์อื่น
ขยายขอบเขตปัญหาจากรูปธรรมสู่นามธรรม แล้วค่อยคิด
พยายามถอดกรอบโครงสร้างความคิดที่จำกัดไปสู่การจินตนาการนอกขอบเขตของเรื่องนั้นอย่างอิสระเพื่อจะได้ความคิดใหม่ ๆ
ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสมสำหรับการคิดสภาพแวดล้อมมีผลต่อการคิด
เพื่อให้รู้จักตัวเองมากขึ้นนำไปใช้ได้ในการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กลับสิ่งที่จะคิด แล้วลองคิดในมุมกลับ
เป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ๆ
ที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้มาก่อน
จับคู่ตรงข้าม เพื่อหักมุมสู่สิ่งใหม่
เพื่อก่อให้เกิดการหักมุมความคาดหวังที่คนทั่วๆ
คิดแหวกวงความน่าจะเป็น ย้อนกลับมาหาความเป็นไปได้
แต่พยายามหาคำตอบที่แหวกกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้มากที่สุด
แล้วจากนั้นพยายามดัดแปลงความคิดนั้นให้ทำได้จริงในทางปฏิบัติ
หาสิ่งไม่เชื่อมโยง เป็นตัวเขี่ยความคิดสร้างสรรค์
เพื่อตอบปัญหาที่คิดอยู่ให้เห็นทางออกของปัญหาที่สร้างสรรค์ และปฏิบัติได้จริง
ใช้เทคนิคการสังเคราะห์ส่วนประกอบ (morphological synthesis)
ทำได้โดยการเขียนรายการของแนวคิดที่เกี่ยวกับลักษณะหรือแง่มุมหนึ่งของสิ่งที่ต้องการตอบออกมาเขียนเรียงไว้แกนหนึ่ง
ใช้การเปรียบเทียบ เพื่อกระตุ้นมุมมองใหม่ ๆ
วิธีการรวมกันขององค์ประกอบที่แตกต่างและไม่เกี่ยวข้องกันในลักษณะของการเทียบเคียง หรืออุปมาอุปไมย