Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รกลอกตัวก่อนกําหนด (abruptio placentae) - Coggle Diagram
รกลอกตัวก่อนกําหนด
(abruptio placentae)
ความหมาย
การที่รกลอกตัวจากผนังมดลูกส่วนบนซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกาะปกติในโพรงมดลูกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์จนถึงก่อนทารกคลอด
การดูแลรักษา
ถ้าอยู่ในภาวะช็อครีบให้สารน้ำออกซิเจนเลือดองค์ประกอบของเลือด
ถ้าไม่อยู่ในภาวะช็อตให้ตรวจความเข้มข้นของเลือดการแข็งตัวของเลือดเตรียมเลือดและองค์ประกอบของเลือด
อายุครรภ์-28 สัปดาห์หรือทารกในครรภ์เสียชีวิตพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
อายุครรภ์ 228 สัปดาห์หรือทารกในครรภ์เสียชีวิตพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
หลังคลอดพิจารณาให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ระวังภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ coagulation failure, renal failure
การแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ระดับ 0 คือไม่มีอาการแสดง แต่จะพบได้จากการตรวจรกหลังคลอดพบมีก้อนเลือดบริเวณรกด้านแม่
ระดับ 1 คือมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยอาจมีการหดเกร็งของมดลูก แต่ไม่มีอาการช็อคหรือ fetal distress
ระดับ 2 คือมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่มีก็ได้มีอาการปวดมดลูกมีภาวะ fetal distress
ระดับ 3 คืออาจมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ก็ได้ แต่จะมีการหดเกร็งมดลูกอย่างมากปวดมดลูกมีภาวะช็อคและมีภาวะ fetal distress ทำให้มารดาและทารกในครรภ์เสียชีวิตได้อาจพบภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
สาเหตุเเละปัจจัยเสี่ยง
ความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์หรือความดันโลหิตสูงเรื้อรังพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดเป็นปัจจัยทำให้มีโอกาสเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด 3 เท่าของการตั้งครรภ์ปกติ
การบาดเจ็บและการกระทบกระเทือนจากภายนอกที่รุนแรงเช่นอุบัติเหตุทางรถยนต์
การสูบบุหรี่สารโคเคนและดื่มสุราพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้บุหรี่โคเคนและดื่มสุราระหว่างตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้
การมีเนื้องอกในมดลูกโดยเฉพาะเนื้องอกที่อยู่ด้านหลังของรกทำให้มีโอกาสเกิดรกลอกติกำหนดได้สูงขึ้น
มีประวัติเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดโอกาสเกิดเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในครรภ์หลัง
สาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้คือความผิดปกติของมดลูกสายสะดือสั้น
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา คือมีการเสียโลหิตมากไตวายและเกิด consumtion coagulation ของมารดา 1%
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
คลอดก่อนกำหนด
Asphyxia การลอกตัวของรกทำให้เกิด uteroplacental insufficiency จึงเกิดasphyxiaและfetaldistress ได้
ทารกตายในครรภ์หากมี asphyxia นาน ๆ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้ทารกตายในครรภ์ได้
ชนิดของรกลอกตัวก่อนกำหนดการแบ่งชนิดของรกลอกตัวก่อนกำหนด
Complete separation or Concealed hemorrhage เป็นการลอกตัวของรกจากตรงกลางรกเลือดจะขังอยู่ในโพรงมดลูกระหว่างส่วนของรกที่แยกตัวกับผนังมดลูกจะไม่มีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอดอาการแสดงของการตกเลือดจะไม่สัมพันธ์กับเลือดที่ออกทางช่องคลอดพบได้ร้อยละ 20 และมักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
Partial Separation รกลอกตัวบางส่วนโดยอาจแบ่งเป็น
2.1 รกลอกตัวบางบริเวณตรงกลางรกมีเลือดขังอยู่ในโพรงมดลูก (Concealed hemorrhage)
2.2 รกลอกตัวบางส่วนบริเวณขอบรกทำให้มีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด (Apparent hemorrhage)
3.Marginal separation or Apparent hemorrhage เป็นการลอกตัวของรกที่ริมขอบรกทำให้มีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอดและอาการแสดงจะสัมพันธ์กับเลือดที่ออกพบได้ร้อยละ 50 ภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก
อาการและอาการแสดง
การมีเลือดออกร่วมกับการเจ็บครรภ์ (Pain full bleeding) มีเลือดออกทางช่องคลอดความรุนแรงขึ้นอยู่กับการลอกตัวของรกซึ่งทำให้มีเลือดออก แต่เลือดที่ออกมาภายนอกไม่สัมพันธ์กับการเสียเลือดจากบริเวณที่รกลอกตัวได้ในขณะที่เลือดออกจะมีอาการเจ็บปวดซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรกลอกตัวการปวดจะปวดรุนแรงและปวดตลอดเวลา
ตรวจหน้าท้องพบมคลูกแข็งเนื่องจากมีการหดรัดตัวตลอดเวลา (Tetanic contraction) ถูกบริเวณหน้าท้องจะเจ็บมากมดลูกโตเนื่องจากมีการคั่งของเลือดภายในคลำส่วนของเด็กได้ฟังเสียงหัวใจเด็กได้ไม่ชัดท่าของเด็กมักเป็นท่าศีรษะเป็นส่วนมาก
ความดันโลหิตมักต่ำ ชีพจรเบาเร็วกระบกระส่ายหมดสติ (Shock) ปัสสาวะน้อยและอาจมีไข่ขาวในปัสสาวะพบได้ประมาณ48% ของรายที่เป็นรุนแรงและมีอาการของโตล้มเหลวได้ 4% เนื่องจากการเสียเลือดมากทำให้เกิดไตวาย (Renal failure)
ในรายที่มีเลือดออกมาก ๆ อาจเกิดภาวะช็อค fibrinogen ซึ่งจะละลาย clotting ทำให้มีน้อยลงในระบบไหลเวียนโลหิต
ในรายที่ช็อคอาจเกิดภาวะ Shecht. หรือเรียกว่า Postpartum pituitary necrosis