Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ในสตรีสูงวัย (elderly gravida) - Coggle Diagram
การตั้งครรภ์ในสตรีสูงวัย (elderly gravida)
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
2.
การดำเนินชีวิตของสตรีในปัจจุบัน
สตรีมีการศึกษาสูงขึ้น ความสามารถและโอกาสในการทำงานในระดับที่สูงขึ้น ทำให้สตรีแต่งงานช้า หรือตั้งครรภ์และมีบุตรเมื่อมีอายุมากขึ้น
มีวิธีการคุมกำเนิด
ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
คู่สมรสต้องการมีความั่นคงทางการเงินก่อนจึงชะลอการมีบุตรออกไป
4. ความเจริญและความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยี
ช่วยการเจริญพันธุ์ ทำให้สตรีที่แต่งงาน เมื่ออายุมากสามารถมีบุตรตามความต้องการได้
5. ให้ระบุแนวทางการวินิจฉัยเพิ่มเติม
(จากประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจพิเศษ) ได้แก่ 1. การซักประวัติทั่วไป อาการและอาการแสดง 2. การทดสอบสำหรับตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ให้คุณแม่ และคุณพ่อทราบ ซึ่งหมายถึงการทำอัลตร้าซาวด์ ตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ การตรวจเลือดคุณแม่ทำ NIPT test,Double หรือ Quad screening test การเจาะน้ำคร่ำ
การเจาะน้ำคร่ำ Amniocentesis
1.มักจะเจาะน้ำตร่ำเมื่ออายุครรภ์ได้ 14-20 สัปดาห์ซึ่งจะเป็นการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซม
2.การเจาะน้ำคร่ำ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำ ก่อนเจาะ 3 – 4 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณของน้ำคร่ำเพียงพอ และไม่จำเป็นต้องให้กระเพาะปัสสาวะเต็มก่อนทำ
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำ
การมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติจะ เรียกว่า Polyhydraminos เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อย ๆสำหรับการตั้งครรภ์แฝด หรือ อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิดของทารกบางอย่าง เช่น Hydrocephalus
2.การมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติจะเรียกว่า Oligohydraminos สภาวะดังกล่าวจะเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตตามปกติ
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีและทารก
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์สูงวัย
ด้านร่างกาย
อัตราการตายของสตรีสูงขึ้น พบว่าสตรีที่มีครรภ์ในช่วงอายุ 35-39 ปี มีอัตราการตายสูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 20-24 ปี ประมาณ 4 เท่า
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในขณะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดเนื่องจากสตรีตั้งครรภ์สูงวัยมักมีปัญหาของระบบไหลเวียนโลหิตและเนื้อเยื่อตามส่วนตามส่วนต่าง ๆของร่างกายมักจะยึดหยุ่นไม่ดี ได้แก่ 1.ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ ซึ่งจะพบในครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลัง 2.ภาวะเบาหวานร่วมกับตั้งครรภ์ 3.มีโอกาสแท้งบุตรได้สูง การตั้งครรภ์นอกมดลูก สาเหตุจากการอักเสบของท่อนำไข่ 4.รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด 5.ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นต้น
สตรีตั้งครรภ์สูงวัยมักมีโรคเรื้อรังที่มีอาการเจ็บป่วยอยู่แล้ว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น ทำให้โรคดังกล่าวมีอาการมากขึ้น หรือควบคุมได้ยากขึ้น
5.ปัญหาในระยะคลอด ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมาอาจมีการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์เต็มที่ มีอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องสูงกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อย
หากใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์แฝดสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการตั้งครรภ์แฝด
ด้านจิตใจ
2.ความรู้สึกไม่แน่นอน และกลัวการสูญเสีย ส่งผลต่อการยอมรับการตั้งครรภ์และความภายในครอบครัว
3.การเปลี่ยนแปลภาพลักษณ์ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในระยะตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์อาจทำให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียด และความวิตกกังวลจากการไม่ยอมรับและรู้สึกอับอายในรูปร่างและภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป
1.ความกลัวและความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการคลอดบุตรพิการหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมความไม่มั่นใจว่าตนเองจะตั้งครรภ์จนครบกำหนดได้ ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการคลอด
4.การรับบทบาทใหม่ สตรีตั้งครรภ์สูงวัย มักมีภาระหน้าที่รับผิดชอบหลายด้าน ทั้งหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน การดูแลครอบครัว ตลอดจนการเลี้ยงดูบุตร อาจเกิดความเครียดจากการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทหลาย ๆ ด้านในขณะที่มีอายุมากขึ้น
ผลต่อทารก
การเกิดความผิดปกติทางโครโมโชมของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) ซึ่งสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี พบอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 400 ราย และในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 40 ปีพบอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 100 ราย อัตราเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมจะเพิ่มตามอายุของสตรีตั้งครรภ์
ความหมาย
หญิงที่มีอายุ > 35 ปี และมีการ ตั้งครรภ์ พบมีเพิ่มสูงขึ้น ผลของการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพของ หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เช่น DM PIH Abortion Preterm Labor Dystocia Down’s syndrome