Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การพักผ่อนการออกกำลังกาย และฟื้นฟูสภาพ,…
บทที่ 4 การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การพักผ่อนการออกกำลังกาย และฟื้นฟูสภาพ
วัตถุประสงค์ในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
เพื่อให้ผิวหนังสะอาด และกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกต่อภาพลักษณ์ของตนเองดีขึ้น และลดความวิตกกังวล
เพื่อให้เกิดความรู้สึกสดชื่นและกล้ามเนื้อคลายความตึงเครียด
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
( Personal Hygiene Care )
การที่บุคคลแต่ละช่วงวัยได้แก่ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ มีสภาพร่างกายที่สะอาด แต่งกายเรียบร้อย และสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเองซึ่งบุคคลจะต้องดูแลร่างกายของตนเองให้สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวให้สะอาด
การดูแลสุขวิทยา (Hygiene care) ได้แก่ การดูแลความสะอาด ของร่างกายเช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
หลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาลด้านความสุขสบาย
เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะ
เจ็บป่วย จะไม่มีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายแก่บุคคลเมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วยนั้นจึงนับเป็นเรื่อง ที่มีความสำคัญ และเป็นสิ่งทีพยาบาลควรตระหนักถึงเนื่องจากความสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสุขกายสุขใจ
การดูแลผม
ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะไม่รู้สึกคันเนื่องจากการนอนบนเตียงจะมีเหงื่อออกมาก
ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการ
ดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะมากขึ้นกว่าภาวะปกติและในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสระผมที่ห้องน้ำได้เองพยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย
การดูแลความสะอาดช่องปาก (Mouth care)
การดูแลความสะอาดในช่องปากและฟันจะช่วยให้บุคคลมีสุขภาพในช่องปากที่ดี โดยปกติควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ2 ครั้ง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดปากและฟันได้เอง พยาบาลต้อง ช่วยดูแลให้ เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูง ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่มีบาดแผลในช่องปาก เป็นต้น
จุดประสงค์การทำความสะอาดปากและฟัน
ทำให้ปากและฟันสะอาด
ลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น
การดูแลความสะอาดเล็บ
การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตราย กับหนังกำพร้า ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง
เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรค ระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ และรู้สึกเจ็บได้สำหรับผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
ทำให้ร่างกายสะอาด กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตตามส่วนต่างๆของร่างกายช่วยให้ผู้ป่วยสดชื่น สุขสบาย ลดความตึงเครียดสังเกตลักษณะผิวหนังผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่
การอาบน้ำให้ผู้ป่วยมีหลายชนิด
การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย (Partial bath)
การอาบน้ำที่อวัยวะบาง
ส่วนของร่างกาย ซึ่งถ้าไม่อาบแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สุขสบาย เช่น มือ หน้า รักแร้ ขาหนีบ และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายสามารถทำความสะอาดร่างกายบางส่วนได้เอง
การอาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์ (Complete bed bath)
การอาบน้ำ ที่ผู้ป่วย
ไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมดพยาบาลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด เช่น ในผู้ป่วยที่
ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีแรง
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด (Self bath)
โดยสามารถอาบน้ำได้เองหรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้างขณะที่ทำความสะอาดผิวหนังในผู้ป่วย
การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และกำจัดสิ่งที่ออกมา
2.ป้องกันและลดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
3.ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
4.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ และก่อนอาบน้ำ ก่อนสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วย
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.นำของใช้ไปที่โต๊ะข้างเตียง บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ให้เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
2.ปิดประตู หรือกั้นม่าน และปิดตา เพื่อป้องกันการเปิดเผยผู้ป่วย และปิดตาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยกระดากอาย
3.ปูผ้ายางรองบริเวณสะโพก
4.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายชันเข่า ให้ปลายเท้าและขาแยกออกจากกัน การแยกขาออกเพื่อ เปิดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้เต็มที่ ซึ่งสะดวกต่อการทำความสะอาด และได้ทำความสะอาดได้ทั่วถึง
5.ห่มผ้าที่ตัวผู้ป่วย ผู้หญิงดึงผ้าถุงขึ้นไปที่เอว ผู้ชายดึงกางเกงลงล่างคลุมผ้าที่บริเวณขาให้มิดชิด ปิดผ้าบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการเปิดเผยส่วนของร่างกาย
6.ให้ผู้ป่วยยกก้นขึ้น หรือช่วยผู้ป่วยยกก้นขึ้น แล้วสอดหม้อนอนที่ใต้ก้น และให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
7.หยิบกระโถนหรือถุงกระดาษมาวางที่เตียงใกล้หม้อนอนเพื่อทิ้งสำลีที่ใช้แล้วให้สะดวก
8.คีบสำลี 6 – 8 ก้อนจากอับสำลีลงในขันน้ำสบู่หรือน้ำยา
9.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกดังนี้
การทำเตียง และสิ่งแวดล้อม
การดูแลรักษาความ
สะอาดเตียง อุปกรณ์เครื่องใช้ในการนอน ตลอดจนสภาพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวผู้ป่วยให้สะอาด และอยู่ในสภาพที่จัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลมีความ
สำคัญและมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมาก
การทำเตียงธรรมดาหรือการทำเตียงว่าง (Closed bed, empty bed, ordinary bed) จะเตรียมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่ หรื่อเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
การทำเตียงเปิด (Opened bed) เป็นเตียงที่ใช้กับผู้ป่วยทั่วไป เมื่อจะใช้ต้องเปิดผ้าคลุมเตียง แล้วพับทับให้เรียบร้อยไว้ทางด้านปลายเตียงเหน็บสองข้างทางด้านปลายเตียงเข้าใต้ที่นอน สำหรับผู้ป่วยเดินได้
เตียงที่มีผู้ป่วย (an occupied bed) เป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลจะต้องเรียนรู้วิธีการเปลี่ยนผ้าทำเตียงด้วย ความรวดเร็ว นุ่มนวล และปลอดภัยในขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่ มักใช้ให้ผู้ป่วยมีอาการหนัก ผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต
เตียงที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัด (anesthetic or recovery bed or ether bed ) จุดประสงค์ในการทำเตียงชนิดนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากจุลินทรีย์และอุบัติเหตุ