Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ลักษณะจำเพาะทางพฤกศาสตร์, นางสาวคีตภัทร บุญขำ เลที่9 …
บทที่ 2
ลักษณะจำเพาะทางพฤกศาสตร์
วิธีปรุงยาสมุนไพร
ตามแบบแผนโบราณนี้แต่เดิม มี 23-24 วิธี
วิธีการปรุงยาในปัจจุบัน มี 28 วิธี
ได้แก่
กลั่นเอาน้ำเหงื่อ เช่น กลั่นสุรา เอาน้ำเหงื่อกิน
หุงด้วยน้ำมัน เอาน้ำมันใส่กล้องเป่าบาดแผลและฐานฝี
เผาให้เป็นด่าง เอาด่างนั้นแช่น้ำไว้ แล้วรินแต่น้ำกิน
ตำเป็นผงแล้ว บดให้ละเอียด ละลายน้ำกระสายต่าง ๆ กิน
กัดด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์ หยดลงน้ำกิน
เผาแล้วตำเป็นผงบดให้ละเอียด ละลายน้ำกระสายต่าง ๆ กิน
ดองแช่ด้วยน้ำท่าหรือน้ำสุรา แล้วรินแต่น้ำกิน
ยาประสมแล้ว
ต้มเอาน้ำแช่
ต้มเอาน้ำชะ
ต้มแล้วเอาน้ำอาบ
ต้มเอาน้ำสวน
ต้มเอาน้ำบ้วนปาก
มวนบุหรี่สูบเอาควัน เช่น บุหรี่
ใช้เป็นยาทา
ต้มเอาไอรมหรืออบ
กวนเป็นยาขี้ผึ้งปิดแผล เรียก "ยากวน"
บดเป็นผงปั้นเป็นแท่ง/แผ่น แล้วใช้เหน็บ
ตำเป็นผงกวนให้ละเอียด ใส่กล้องเป่าทางจมูกและคอ
บดเป็นผง ตอกอัดเม็ด
บดละเอียดเป็นผงแล้ว ปั้นเป็นเม็ด/ลูกกลอนกลืน กิน
บดเป็นผง ปั้นเม็ดแล้วเคลือบ
ทำเป็นเม็ดแคปซูล
เผาไฟ/โรยบนถ่านไฟ ใช้ควันรม
ห่อผ้าบรรจุลงในกลักเอาไว้ใช้ดม
ใส่กล้องติดไฟใช้ควันเป่าบาดแผลและฐานฝี
ทำเป็นยาพอก
ใช้เป็นลูกประคบ
สับเป็นชิ้น/ท่อนใส่ลงในหม้อเติมน้ำต้ม แล้วรินแต่น้ำกิน
การแปรรูปพืชสมุนไพร
เพื่อให้เก็บไว้ได้นานๆและในปริมาณมากๆ
ได้แก่
การตากแห้ง
ประสิทธิภาพที่ดีทีสุด ทั้งในแง่ของคุณภาพ ปริมาณและน้ำหนัก
การให้มีขนาดเล็กลง
นำเอาสมุนไพรมาทำให้ขนาดเล็กลงและนำไปตากแห้ง เพื่อให้ปริมาณน้ำของสมุนไพรลดลง
นิยมใช้กับ ราก เปลือก ลำต้น
การบดปั่นให้เป็นผง
สะดวกในการใช้งานมาก
สมัยโบราณนิยมนำมาตากแห้งและโขรกให้ละเอียด
การสกัดน้ำมันหอมระเหย
ใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม มาต้มสกัดน้ำมัน
นิยมนำมาปรุงเป็นยาดม ยาหอม ยาทา
การเก็บรักษาสมุนไพร
ภาชนะที่ใช้ในการจัดเก็บ
ต้องสามารป้องกันความชื้นและป้องกันเชื้อราได้
เช่น
ขวดแก้ว ฝาโลหะ
สถานที่ในการจัดเก็บ
สามารถป้องกันแมลงและโรคได้
ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อ
อากาศปลอดโปร่ง
ไม่โดนแสงแดดจัด
พื้นที่แห้งและเย็น
การเตรียมยาสมุนไพร
ยาปั้นลูกกลอน
การเตรียม
หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย
การปั้นยา
ใช้ผงยาสมุนไพร2ส่วนผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม1ส่วนตั้งทิ้งไว้ 2-3ชั่วโมงเพื่อให้ยาปั้นได้ง่าย ไม่ติดมือ
ปั้นยาเป็น ลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้ง
จากนั้นอีก2 สัปดาห์ ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกทีเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้นยา
ยาต้ม
การเตรียม
นำสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลม ยาวขนาด1ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็งให้หั่นเป็นท่อนยาว5-6 นิ้วฟุต กว้าง0.5นิ้ว แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด 1 กำมือ
การต้ม
เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง1หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป1แก้ว ต้มให้เดือดนาน10-30 นาที
ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ
ยาชง
การเตรียม
ใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้งถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ให้เอาไปคั่ว
การชง
ใช้สมุนไพร1ส่วน เติมน้ำเดือดลง ไป 10 ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ 15-20 นาที
ยาดอง
การเตรียม
ใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แตกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวม ๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ
การดอง
เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน
ยาตำคั้นเอาน้ำกิน
การคั้น
คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำไว้นั้นมารับประทาน
การเตรียม
นำสมุนไพรสดๆ มาตำให้ละเอียดหรือจนกระทั่งเหลว ถ้าตัวยาแห้งไป ให้เติมน้ำลงไปจนเหลว
สมุนไพรบางอย่าง เช่น กระทือ กระชาย ให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อนจึงค่อยตำ
ยาพอก
การเตรียม
ใช้สมุนไพรสด ตำให้แหลกที่สุดให้พอเปียกแต่ไม่ถึงกับเหลว
ถ้ายาแห้ง ให้เติมน้ำหรือเหล้าโรงลงไป
การพอก
เมื่อพอกยาแล้วต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ เปลี่ยนยาวันละ 3 ครั้ง
อายุของยาสมุนไพร
ยาผง
ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้ อย่างละครึ่ง
มีอายุประมาณ 4-6 เดือน
ผสมด้วยแก่นไม้ โกฐเทียน
มีอายุประมาณ 6-8 เดือน
ผสมด้วยใบไม้ล้วน ๆ
มีอายุประมาณ 3-6 เดือน
ยาปั้นเป็นลูกกลอน เป็นเม็ด เป็นแท่ง
ผสมด้วยใบไม้ หัว โกศเทียน แร่ธาตุ
8เดือน เริ่มเสื่อมคุณภาพ 2 ปีอาจหมดคุณภาพ
ถ้าเก็บรักษาดี ไม่ถูกความร้อนความชื้อก็สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่ถ้ารักษาไม่ดีก็เสื่อมคุณภาพเร็วกว่าที่กำหนด
ผสมด้วยหัว เหง้า แก่น โกศเทียน แร่ธาตุ
18 เดือน เริ่มเสื่อมคุณภาพ 2 ปี อาจหมดคุณภาพ
ผสมด้วยแก่นไม้ล้วน
1 ปี เริ่มเสื่อมคุณภาพ 2 ปี อาจหมดคุณภาพ
ผสมด้วยใบไม้ล้วน
6-8 เดือน เริ่มเสื่อมคุณภาพ 1 ปี อาจหมดคุณภาพ
ยาน้ำ น้ำต้ม และยาดอง
ผสมด้วยแก่นไม้ เครื่องเทศ โกฐเทียน หัวพืชแห้ง
ถ้าต้มอุ่น เช้า-เย็นทุกวัน อายุ 7-15วัน
ผสมด้วยแก่นไม้ เครื่องเทศ โกฐเทียน
ถ้าต้มอุ่น เช้า-เย็นทุกวัน มีอายุ 7-10 วัน
ผสมด้วยใบไม้ล้วน
ต้มกินได้ครั้งเดียว แล้วเททิ้ง
ยาดองที่เข้าเกลือ หรือ ดีเกลือ
ผสมด้วยของเค็มมาก ๆ เช่น เกลือหรือดีเกลือ และตัวยาแห้งดี ปรุงถูกต้อง
มีอายุประมาณ 2 ปี
ยาดองอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าตัวยาเค็ม ๆ
มีอายุประมาณ 1 ปี
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในยาสมุนไพร
หมั่นตรวจสอบสรรพคุณ
ผลที่ได้ไม่แน่นอน
ห้ามใช้ยามากเกินไป
อย่าใช้ยาเข้มข้นจนเกินไป
เริ่มจากการกินทีละน้อย
ศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนใช้
นางสาวคีตภัทร บุญขำ เลที่9
รหัสนักศึกษา 622001010