Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 บทบาทของพยาบาลในการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีบาดแผล, 1572855077_1,…
บทที่ 6 บทบาทของพยาบาลในการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีบาดแผล
6.1 การดูแลบาดแผล
บาดแผล หมายถึง เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บ อาจมีสาเหตุจากถูกของมีคม ถูกกระแทก ถูกความร้อนจัดหรือเย็นจัด ถูกสารเคมี รังสี ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ
แบ่งตามความสะอาดของแผล
แผลสะอาด (clean wound) หมายถึง แผลที่ไม่มีการติดเชื้อหรือเป็นแผลที่เคย ปนเปื้อนเชื้อ
แต่ได้รับการดูแลจนแผลสะอาดไม่มีการติดเชื้อ เนื้อเยื่อของแผลเป็นสีชมพูอมแดงและ มักเป็นแผลปิด
แผลกึ่งสะอาดกึ่งปนเปื้อน (clean-contaminated wound) ลักษณะของแผล คล้ายแผลสะอาดแต่มักเป็นแผลผ่าตัดในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินปัสสาวะ และยังไม่เกิดการติดเชื้อ
แผลปนเปื้อน (contaminated wound) เป็นแผลที่ไม่สะอาด ได้แก่ แผลที่เกิด จากอุบัติเหตุเช่น แผลถลอก แผลไฟไหม้ แผลน้ าร้อนลวก แผลถูกรังสี แผลถูกกรดด่าง ไฟฟ้าช็อต หรือแผลผ่าตัดที่มีการปนเปื้อนเชื้อในระหว่างการผ่าตัด โดยแผลมีการอักเสบ คือ มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน แต่ยังไม่มีการติดเชื้อ
แผลติดเชื้อหรือแผลสกปรก (infected wound/ dirty wound) เป็นแผลที่มี การปนเปื้อนเชื้อจนเกิดการติดเชื้อ เกิดการอักเสบ มีหนอง ส่วนใหญ่เป็นแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ
การอักเสบ (Inflammation)
การดูแลผู้ป่วยที่มีบาดแผลและการอักเสบ การพักผ่อนร่างกายและอวัยวะที่มีบาดแผลให้มากที่สุด เพราะการพักผ่อนจะลด กระบวนการเผาผลาญภายในเซลล์ที่ไม่จำเป็น เนื้อเยื่อสามารถนำออกซิเจนและสารอาหารไปใช้ได้เพียงพอ
การทำความสะอาดบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อและส่งเสริมกระบวนการหายของแผล
การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตมายังบาดแผลโดย -ดูแลไม่ให้ผ้าพันแผลรัดแน่นเกินไป เพราะจะไปขัดขวางการไหลเวียนเลือดแดงมายังบาดแผล และทำให้เลือดดำไหลเวียนกลับไม่ดี -ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็นแล้วแต่ลักษณะ และระยะเวลาของการเกิดบาดแผล
การทำแผล
หลักการทำแผล
1 ต้องล้างแผลให้สะอาดโดยใช้เครื่องมือ และสารที่ปราศจากเชื้อปฏิบัติโดยยึดหลักปราศจากเชื้อในการทำแผล
2 กรณีที่มีแผลหลายแห่ง ให้ทำแผลที่สะอาดกว่าก่อนจึงจะทำแผลส่วนที่สะอาดน้อยกว่า
3 กำจัดเนื้อตายหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ อาจใช้กรรไกรตัดเนื้อตายออก
4 แผลที่มีของเหลวตกค้าง เช่น เลือด หนอง เป็นต้น ต้องเช็ดออกให้มากที่สุด
5 ในขณะทำแผลให้ระมัดระวังอย่าให้แผลกระทบกระเทือนจนเกินไป ต้องปฏิบัติด้วยความนุ่มนวล
ชนิดของการทำแผล
การทำแผลชนิดแห้ง (Dry dressing) หมายถึง การทำแผลที่ไม่ต้องใช้ความชุ่มชื้นช่วยในการหายของแผล
การทำแผลชนิดเปียก (Wet dressing) หมายถึง การทำแผลที่ต้องใช้ความชุ่มชื้นช่วยในการหายของแผล ใช้ในทำแผลเปิด
การทำแผลที่มีท่อระบาย ท่อระบาย (Drain) ที่ใช้อาจเป็นชนิด Penrose drainหรือ tube drainท่อระบายนี้อาจใส่ไว้ในชั้นเนื้อเยื่อ หรือใส่ลึกเข้าไปในช่องต่าง ๆ ของร่างกาย จุดประสงค์หลักในการใส่ท่อระบายก็เพื่อเป็นช่องทางให้ของเหลว เช่น เลือด หนอง น้ำย่อยน้ าดี เป็นต้น ออกจากร่างกาย ทำให้
แผลหายเร็ว
การท าแผลที่ต้องใช้แรงกด (Pressure dressing) การทำแผลด้วยวิธีนี้จะใช้ส าหรับแผลที่มีช่องว่างใต้แผลมาก เช่น แผลจากการทำ
การชะล้างแผล (Wound irrigation) การชะล้างแผลจะทำกับแผลเปิดที่มีความลึกมีหนองไหลออกจากแผล
การตัดไหม การตัดไหม (Stitch off) หมายถึง การตัดวัสดุที่เย็บแผลไว้เพื่อดึงรั้งเนื้อเยื่อให้มาติดกันการตัดไหมนี้เพื่อป้องกันการอักเสบของแผลจากวัสดุที่เย็บ โดยทั่วไปจะทำการตัดไหมจะตัดในวันที่ 7-10 หลังผ่าตัด
การทำแผล (Dressing Wound)
น้ำยาที่ใช้สำหรับทำแผล1. น้าเกลือ 0.9% (0.9% Normal Saline/ Sodium chloride/ NaCl/ 0.9% normal saline) นิยมใช้ล้างแผล
แอลกอฮอล์ 70% (70% Alcohol) ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบ ๆ แผล เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคที่ผิวหนัง
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% (3% Hydrogen peroxide) ใช้สำหรับล้างแผลสกปรกที่มีหนอง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
1.1 ชุดทำแผลปราศจากเชื้อ (sterile dressing set) ประกอบด้วย ปากคีบปราศจากเชื้อชนิดไม่มีเขี้ยว ปากคีบปราศจากเชื้อมีเขี้ยว ถ้วยใส่สารละลาย สำลี และผ้าก็อซ
1.2 น้ำยาที่ใช้ทำแผล
พลาสเตอร์(plaster) มีหลายชนิด เช่น transpore, micropore, leucopore เป็นต้นควรหลีกเลี่ยงชนิดที่ผู้ป่วยแพ้
hydrocolloid หรือ hydrogel เช่น duoderm ลักษณะเป็นแผ่นยางยึดติดกับแผลโดยไม่ต้องใช้พลาสเตอร์ปิดทับ
การปฏิบัติการทำแผลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
การประเมินสภาพแผล
2.แจ้งผู้ป่วยเพื่อขอความร่วมมือในการขอดูสภาพแผลและการทำแผล โดยจัดผู้ป่วย
ให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
3.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อม เช่น การปิดพัดลมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การจัด
4.แกะพลาสเตอร์โดยใช้มือกดผิวหนังลง ส่วนอีกมือแกะพลาสเตอร์ดึงเข้าแผล
5.เปิดแผลโดยไม่ให้มือสัมผัสแผลและด้านในของผ้าปิดแผล พร้อมสังเกตลักษณะของแผล ขนาด จำนวนและสีของสารคัดหลั่ง
6.ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสปิดแผลผืนเดิม กรณีที่ผ้าปิดแผลหลายชั้นให้ทิ้งผ้าปิดแผล
ส่วนบนใส่ภาชนะรองรับ
7.ล้างมือให้สะอาดภายหลังการประเมินแผล โดยล้างให้ถูกต้องตามขั้นตอนและ
ตามระยะเวลาที่กำหนด
การหายของแผล มี 3 ลักษณะ คือ
การหายแบบปฐมภูมิ เป็นการหายของแผลโดยมีการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิวหนังอย่างรวดเร็ว
การหายแบบทุติยภูมิ เป็นการหายของ
แผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมี ได้แก่ การเผาผลาญของคอลลาเจน
การหายแบบตติยภูมิ เป็นการหายของแผลที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น การหายของแผลจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ขจัดการติดเชื้อหมดไป