Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
STEP 7, การสร้างเสริมเอกภาพวิชาชีพ, จริยธรรม - Coggle Diagram
STEP 7
สิทธิเด็ก
-
สิทธิผู้ป่วย
1.ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณีโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
-
สิทธิพยาบาล
1.พยาบาลมีพยาบาลมีสิทธิ์ที่จะสร้างรูปแบบการพยาบาลและการปฎิบัติการพยาบาลตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักของวิชาชีพ
-
-
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนเป็นอย่างไร
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
- ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
- สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
- มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
-
- มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
- มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
- หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
- การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
- สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
- การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
-
-
-
-
-
-
-
มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันอันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่กลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็น แพทย์ เภสัชกรคนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาลนักบวช หมอ ทนายความหรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้นแล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดให้ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตราที่ 26 ภายใต้ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำดังต่อไปนี้
หนึ่งกระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
สองจงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิต
สามบังคับขู่เข็ญ ชักจูงส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
สี่โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใดเพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติของเด็ก
ห้าบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูงส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน
หก ใช้ จ้างหรือวันเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตหรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
เจ็ด ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
แปดใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี
เก้าบังคับ ขู่เข็ญใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริมให้เด็กแสดงหรือกระทำอันมีลักษณะลามกอนาจาร
สิบจำหน่ายแลกเปลี่ยนหรือให้สุราบุหรี่แก่เด็กเว้นแต่การปฎิบัติทางการแพทย์
-
-
-
เอกสิทของวิชาชีพพยาบาล
1) ระดับการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มพูน ความรู้ความสามารถที่นำมาใช้ในการปฏิบัติการ พยาบาล
2) ระยะเวลาในการปฏิบัตินทำให้เกิด ประสบการณ์ในการทำงาน สามารถเข้าใจปัญหาได้ดี ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และ สิ่งแวดล้อมได้
3) ตำแหนง่งาน หน้าที่ที่แตกต่างกัน และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลมีผลต่อการ ปฏิบัติการพยาบาล
4) การอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และสมรรถนะ ในด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขาให้แก่ พยาบาลวิชาชีพ
5) หน่วยงานที่ปฏิบัติแต่ละ หน่วยงานมีลักษณะงานที่มีความเฉพาะเป็นของ ตนเอง พยาบาลมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการ พยาบาลที่ต่างกัน และ
6) การได้รับการนิเทศ จากหัวหน้างาน มีความสำคัญต่อการปฏิบัติตาม เอกสิทธิ์ทางการพยาบาลเนื่องจากการนิเทศ เป็นกระบวนการหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน (พิชญากร ศรีปะโค,2557)
-
-
-
จริยธรรม
-
จริยธรรมเมื่อนำไปประยุคตใช้ในวิชชีพเรียกว่า จรรยาบรรณ(code of ethics)จริยธรรม อาจสรุปได้ว่ามี 2 นัยความหมายแรก:หมายถึงหลักความประพฤติที่ดีงามเพื่อ ประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม ซึ่งมักมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมายรวมถึงจรรยาบรรณของวิชชีพต่างๆ จริยธรรม ความหมายที่สอง หมายถึง การรู้จัก ไตร่ตรองว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เมื่อมีการเผชิญกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องตัดสินใจและยากที่จะเลือก ในทันทีทันใเนื่องจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมามีทั้ง 2 ทางเลือก (Dilemma)
จริยธรรมพยาบาล : ปฏิบัติงานด้วยความรู้ ความสามารถ โดยใช้หลักวิชการที่เรียนมา มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะอ่อนหวาน เข้าใจในความทุกข์ทรมานความปวด ความไม่สบายใจของผู้ป่วย แสวงหาความรู้อยู่เสมอ ขยันหมั่นเพียร ปรับตัวข้ากับคนได้ทุกชนชั้น เสียสละ อุทิศเวลาเพื่องานการบริการทางสุขภาพ
จรรยาบรรณวิชาชีพ(professional code of ethics)หมายถึงประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละวิชชีพกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับยืดถือปฏิบัติพร้อมทั้งรักษาส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิกทำให้ได้รับการยอมรับจากสังคมในวงกว้างอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เขียนก็ได้
ความหมาย
หลักการ ความประพฤติ การปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามเพื่อให้บรรลุถึงวิถีชีวิตที่มีคุณค่า ต่อตนเองและสังคม ลักษณะของจริยธรมประกอบด้วย ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม การมี เหตุผลเชิงจริยธรรมและลักษณะพฤติกรมเชิงจริยธรรม สำหรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามสถานการณ์และบริบทที่เข้ามากระทบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้และพัฒนาการทางจริยธรรมมักจะเกิด ควบคู่กับพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา หรืออาจกล่าวได้ว่า" จริยธรรมป็นเครื่องพัฒนาคุณธรรมของบุคคล"
-