Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
R/O Obstructive Jaundice - Coggle Diagram
R/O Obstructive Jaundice
ข้อมูลผู้ป่วย
-
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล : ตัวตาเหลือง อุจจาระซีด 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน : 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล อ่อนเพลีย ตัวตาเหลือง อุจจาระซีด ได้รับการตรวจที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า แพทย์วินิจฉัยเป็น O/R Obstructive Jaundice ท่อทางเดินน้ำดีอุดตันมารักษาที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าตามสิทธิการรักษา
โรคประจำตัว : 10 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ได้รับการรักษาและรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
พยาธิสภาพ
เมื่อมีนิ่วอุดกั้นท่อน้ำดีร่วมจะ ทำให้ความดันในท่อน้ำดีเพิ่มขึ้นทั้งถุงน้ำดีและท่อน้ำดีร่วมจะบีบตัวอย่างแรง เพื่อขับน้ำดีออกจึงเกิดอาการปวดท้องลักษณะปวดบิด (coicky pain) จากการอุดกั้นของนิ่วที่ไปขัดขวางในการไหลของน้ำดี เป็นเหตุให้บิลิรูบินคั่งอยู่ในเซลล์ตับ และถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดอาการตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน = jaundice) อุจจาระที่ออกมามีสีซีดปัสสาวะมีสีเข้มน้ำดีในลำไส้เล็กเป็นตัวช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันซึ่งทำให้ไขมันแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กลงเมื่อน้ำที่ไหลลงลำไส้เล็กยากทำให้การย่อยอาหารไขมันไม่ดีผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง และท้องอืดวิตามินเคซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันจึงมีปริมาณลดลงสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดจะลดลงด้วยเพราะต้องใช้วิตามินเค ช่วยสังเคราะห์จากตับ
-
การตรวจวินิจฉัยของโรค
การพิเศษChest X-ray, EKG,Ultrasound Upper abdomen
ผลการตรวจของผู้ป่วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-
-
ผลการตรวจ EKG SINUS RHYTHM: ผิดปกติภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ภาวะแทรกซ้อน
-
- การอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี ทำให้น้ำที่คั่งค้างในท่อน้ำดีเป็นเวลานาน ๆ
มีการหมักหมมของเชื้อโรคจะเกิดการติดเชื้อของท่อน้ำดี (Cholangitis) ถ้าการติดเชื้อ
ลุกลามเข้าตับอาจเกิดฝีที่ตับ หรือตับอักเสบการที่น้ำที่ไหลกันเข้าตับเป็นเวลานานประมาณ 3-4 เดือน
ตับจะเสียหน้าที่เกิดภาวะตับแข็ง (Cirrhosis) ได้ซึ่งตามมาด้วยภาวะตับล้มเหลว (Hepatic failure)
บางกรณีนิ่วที่ทำให้มีการอุดตันทำให้ sphinctor of oddi เสียหน้าที่ไปชั่วคราวน้ำดีและนาย่อยจาก duodenum
ไหลเข้าตับอ่อนซึ่งจะทำลายเซลล์ของตับอ่อนทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบได้
อาการและอาการแสดงของโรค
- ตัวตาเหลือง
- คันตามผิวหนัง
- มีไข้
- อุจจาระซีด
- ปัสสาวะสีเข้ม
-
นอกจากภาวะตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว ผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีอุดตันจากก้อนนิ่วหรือเนื้องอกจะมีอาการแตกต่างกันอยู่บ้าง “อาการท่อน้ำดีอุดตันจากนิ่ว นอกจากภาวะตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว ยังพบอาการปวดท้องช่วงตรงกลางท้องระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่หลัง ติดเชื้อ มีไข้ หนาวสั่น” “ส่วนท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากเนื้องอกนั้น พองขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง และ คันตามตัวเนื่องจากน้ำดีไปสะสมที่ผิวหนัง” ท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากเนื้องอกมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งถึงร้อยละ 90 ในประเทศไทยเนื้องอกในระบบท่อน้ำดี พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีการรับประทานปลาน้ำจืดที่ไม่สุก อาทิ ปลาส้มปลาก้อยดิบ ๆ ซึ่งมีพยาธิใบไม้ในตับ เมื่อพยาธิเข้ามาอยู่ที่ท่อน้ำดีจะขับถ่ายของเสียเอาไว้ กระตุ้นให้เซลล์ท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดี
การรักษา
การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน (ERCP)
การส่องกล้องอีกแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบท่อน้ำดีและตับอ่อน คือ การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน หรือ ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) เป็นการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีแบบ ERCP ซึ่งมีข้อบ่งชี้หลัก ๆ คือ รักษาภาวะท่อน้ำดีอุดตันหรือภาวะดีซ่าน เช่น นิ่วในท่อน้ำดี หรือก้อนในท่อน้ำดี หรือรอบ ๆ ท่อน้ำดีอุดตัน
-
กรณีที่พบนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้บอลลูนหรือตะกร้อลวดขนาดเล็กเกี่ยวเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี แต่หากพบก้อนกดเบียดท่อน้ำดี รักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณก้อนเพื่อส่งตรวจ และใส่ท่อระบายน้ำดีเพื่อลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง
-
-
สาเหตุการเกิด
-
เมื่อท่อน้ำดีอุดตัน น้ำดีจะย้อนไปที่ตับ เข้าสู่กระแสเลือดและไหลแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายไปอยู่ที่เยื่อบุตา และ/หรือน้ำปัสสาวะ หรือที่เราเรียกกันว่าดีซ่าน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะ สีเข้มซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตได้ในที่สุด”
สาเหตุ ท่อทางเดินน้ำดีอุดตันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ นิ่วในถุงน้ำดีที่ไหลตกลงมาตามท่อทางเดินน้ำดีแล้วเกิดอุดตัน
ซึ่งการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีจะขึ้นอยู่กับระดับของท่อทางเดินน้ำดีที่ขยายตัว อาทิ หากท่อทางเดินน้ำดีขยายตัวด้านบน อาจนึกถึงโรคของก้อนในตับ เนื้องอกในท่อทางเดินน้ำดี หากมีนิ่วในถุงน้ำดีหรือเนื้องอกของถุงน้ำดีอาจไปกดเบียดท่อทางเดินน้ำดีได้ หรือกรณีที่เกิดการอุดตันที่ท่อทางเดินน้ำดีส่วนปลายอาจเกิดได้จากเนื้องอกที่อยู่บริเวณดังกล่าว คือ มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งท่อทางเดินน้ำดี มะเร็งรูเปิดน้ำดี และมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น
-