Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการออก แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ - Coggle Diagram
หลักการออก
แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ
แบบทดสอบถูก - ผิด
4.ไม่ควรใช้คำขยายที่ชี้แนะคำตอบ
5.พยายามหลีกเลี่ยงข้อความที่เป็นคำสั่งหรือคำข้อร้องเพราะบอกไม่ได้ว่าถูกหรือผิด
3.เขียนข้อความหรือประโยคที่มีความถูกหรือผิดอย่างชัดเจน
6.ข้อความแต่ละข้อควรให้มีความยาวใกล้เคียงกัน และควรจัดเรียงข้อสอบตามลำดับความยาวของข้อสอบ
2.ไม่ควรยกข้อความหรือประโยคจากตำรา แบบเรียนโดยตรง เพราะเป็นการเน้นให้ผู้เรียนท่องจำมากกว่าใช้การคิด
7.ควรให้จำนวนคำตอบข้อถูกข้อผิดมีจำนวนใกล้เคียงกัน
1.เขียนคำชี้แจงและข้อความที่เป็นทั้งคำถาม และคำตอบให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ
แบบทดสอบจับคู่
4.ควรเขียนตัวเลือกให้มากกว่าคำถาม
5.แบบทดสอบจับคู่ชุดหนึ่ง ๆ ไม่ควรมีจำนวนข้อมากเกินไป ควรมีประมาณ 10 – 15 ข้อ
3.ให้ข้อความหรือคำในคอลัมน์หนึ่งจะต้องจับคู่ได้ถูกต้อง ตรงกับข้อความหรือคำเพียงข้อเดียวในอีกคอลัมน์เท่านั้น
6.การเรียงลำดับข้อความหรือคำในแต่ละคอลัมน์ ควรกระจายตำแหน่งของคู่ที่จับกันแล้วถูกต้องสลับกันไป
2.ข้อความที่จะให้จับคู่ ควรเป็นเรื่องราวหรือเนื้อหาประเภทเดียวกัน
7.ต้องเขียนคำสั่งหรือคำชี้แจงให้ชัดเจน
1.ควรเขียนข้อความในคำถามและตัวเลือกให้สัมพันธ์กัน
8.ในการจับคู่หรือการตอบควรให้นำเฉพาะตัวอักษรหน้าข้อความที่เป็นตัวเลือกไปใส่ไว้หน้าข้อความที่เป็นคำถาม
9.ควรพิมพ์ตัวเลือกและคำถามไว้ในหน้าเดียวกัน
แบบทดสอบเลือกตอบ
หลักการเขียนตัวคำถาม
5.ควรถามในเรื่องที่มีคุณภาพต่อการวัด จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน
6.ควรถามในหลักวิชานั้นจริง ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงคำถามที่ชี้แนะคำตอบ
4.หลีกเลี่ยงการใช้คำถามปฏิเสธ หรือปฏิเสธซ้อน
7.ควรใช้รูปภาพประกอบสถานการณ์ จะทำให้ข้อสอบน่าสนใจยิ่งขึ้น
3.ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับผู้เรียน
2.เขียนตัวคำถามให้ชัดเจน และตรงกับจุดประสงค์ที่จะถาม
1.เขียนตัวคำถามให้อยู่ในรูปประโยคคำถามที่สมบูรณ์
หลักการเขียนตัวเลือก
5.เขียนตัวเลือกให้เป็นอิสระจากกัน
6.เขียนตัวเลือกที่เป็นตัวเลขโดยอาจจะเรียงจากมากไปน้อย หรือน้อยไปมาก
4.เขียนตัวถูก – ตัวลวงให้ถูกหรือผิดตามหลักวิชา
7.ใช้ตัวเลือกสั้น ๆ
3.ในแต่ละข้อต้องมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
8.ควรกระจายตำแหน่งตัวถูกในตัวเลือกทุกตัวให้เท่า ๆ กัน ในลักษณะสุ่ม
9.คำตอบที่ถูกและผิด ต้องไม่แตกต่างกันชัดเจนเกินไป
2.เขียนตัวเลือกในทิศทางเดียวกัน เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการพิจารณาของผู้สอบ
1.เขียนตัวเลือกให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน
แบบทดสอบเติมคำ
3.ในแต่ละข้อไม่ควรกำหนดช่องว่างให้เติมหลายแห่ง เพราะอาจจะทำให้ผู้สอบสับสน
4.คำตอบที่ให้เติมนั้นต้องเป็นประเด็นหรือจุดสำคัญจริง ๆ
2.เขียนคำถามให้ชัดเจน เฉพาะเจาะจงไม่คลุมเครือให้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว
5.ช่องว่างที่ให้เติมคำตอบควรให้อยู่ตอนท้ายประโยคหรือข้อความ
1.เขียนคำชี้แจงให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้สอบตอบอย่างไร และเขียนคำตอบที่ไหน
6.ไม่ควรยกข้อความจากหนังสือหรือตำรา โดยตัดข้อความบางตอนออก เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนท่องจำ
7.การเว้นช่องว่างให้เติมคำตอบ ควรเว้นให้พอสำหรับการตอบคำถาม
แบบทดสอบอัตนัย
4.เขียนแต่ละข้อคำถามให้สั้นและเพิ่มจำนวนข้อคำถามแทน
5.ไม่ควรเขียนคำถามหลายข้อแล้วให้ผู้สอบเลือกตอบ
3.เขียนคำถามให้ชัดเจน ไม่ควรใช้คำถามที่กว้างหรือกำกวม ทำให้ผู้สอบไม่เข้าใจว่าต้องการให้ตอบอย่างไรซึ่งในการเขียนข้อคำถามควรหลีกเลี่ยงคำต่อไปนี้ จงอภิปราย จงเปรียบเทียบ จงประเมิน แต่ให้ใช้คำต่อไปนี้เช่น เขียน บรรยาย ระบุ เป็นต้น
6.ควรเขียนคำถามให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการถาม และมีความชัดเจน ตรงประเด็น ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีคำตอบที่สามารถตอบได้ หลากหลาย
2.เขียนคำชี้แจงให้ชัดเจนว่าในแต่ละข้อคำถามผู้สอบจะต้องใช้เวลาในการตอบเท่าไร จำนวนของคำตอบที่ต้องการ จำนวนหน้าที่ต้องการให้ตอบ เช่น ให้ตอบ 1 ย่อหน้าไม่เกิน 100 คำ , ให้ตอบไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ, ให้ตอบอย่าง น้อย 3 ข้อ, ให้ตอบไม่เกิน 5 บรรทัด เป็นต้น
7.ควรใช้ข้อสอบแบบอัตนัยในการวัดผลการเรียนรู้ที่ไม่สามารถวัดโดยใช้ข้อสอบแบบปรนัยหรือข้อสอบแบบกำหนด คำตอบได้
8.การเขียนคำถามโดยถามเกี่ยวกับ ใคร เมื่อไร ที่ไหน ไม่เหมาะสมกับคำถามแบบอัตนัย เพราะเป็นการวัดความจำเกี่ยวข้อเท็จจริงไม่ควรวัดโดยใช้ข้อสอบอัตนัย
9.การเขียนคำถามแบบอัตนัยควรเป็นคำถามที่ให้ผู้สอบจัดระบบความคิดและเขียนโดยใช้คำพูดของตนเอง
1.ระบุข้อจำกัด ในการเขียนข้อสอบแบบอัตนัยจะต้องระบุความยาวของคำตอบที่ต้องการและน้ำหนักของการให้คะแนน ในแต่ละข้อคำถาม