Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
image - Coggle Diagram
พระอานนท์
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี
ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทำหน้าที่อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ และพระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้
- พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน
- ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน
- ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระพุทธองค์
- ต้องไม่นำท่านไปในที่นิมนต์ด้วย
- ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้
- ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ
- ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้ำให้ท่านฟังด้วย
สำหรับเหตุผลที่ท่านขอพร 8 ประการนั้น ได้แก่ พรที่ 1-4 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ และพรที่ 5 –7 เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าและพุทธบริษัท พระอานนท์ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่
- เป็นพหูสูต (ทรงจำพุทธวจนะได้มากที่สุด)
-
- เป็นผู้มีคติ (แนวในการจำพุทธวจนะ)
- เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)
-
เมื่อท่านอายุได้ 120 พรรษา ถึงเวลานิพพาน พระญาติทั้งสองฝั่งน้ำโรหิณีต่างก็ปรารถนาให้ท่านนิพพาน ณ บ้านเมืองของตนพระอานนท์จึงเข้าเตโชสมาบัติเหาะขึ้นในอากาศ อธิษฐานให้ร่างของท่านแตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองกบิลพัสดุ์อีกส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองเทวทหะ เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่ายนำอัฐิธาตุของท่านไปบรรจุไว้บูชา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
- เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อน
- เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือน
- เป็นผู้รับภาระในพระพุทธศาสนา ในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม
- เป็นผู้สืบต่อพระศาสนา ท่านเป็นผู้มีศิษย์มาก ต่อมาศิษย์ของท่านได้มีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพพกามี พระยสกากัณฑบุตร