Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา Meconium Aspiration Syndrome (MAS) - Coggle…
กลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา
Meconium Aspiration Syndrome (MAS)
ความหมาย
อาการหายใจลำบากที่เกิดเนื่องจากทารกสูดสำลักขี้เทาทซึ่งปนอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจ อาจเกิดขึ้นขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอดหรือทันทีหลังคลอด โดยความรุนแรงของโรคมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆเลยจน กระทั่งมีความรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต
การถ่ายขี้เทาออกมาปน
ในน้ำคร่ำขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์เกิดได้ 2 ลักษณะ
1.ลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยาปกติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของลำไส้ที่พัฒนา สมบูรณ์แล้วของทารกในครรภ์ เช่น ทารกในครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกินกำหนดทำให้เกิดการถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำ
2.ลักษณะความผิดปกติทางพยาธิสภาพของรกและทารกในครรภ์ที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดจากความผิดปกตินั้น เช่น ภาวะรกทำงานผิดปกติ (placentalinsufficiency) ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)ภาวะติดเชื้อในครรภ์ (intraamniotic infection)
สาเหตุ
ภาวะสูดสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิดที่แท้จริงยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษา
ถึงปัจจัยที่ สัมพันธ์กับภาวะสูดสำลักขี้ เทาในทารกแรกเกิด
ปัจจัย
ปัจจัยด้านมารดา
มารดามีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด อาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดเมื่อมี การเสียเลือดมากจ้าให้ปริมาณเลือดที่ผ่านรกไปยังทารกน้อยลง
2.มารดามีภาวะความดันในโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ผ่านรกมายังทารกน้อยลง
4.มารดามีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวไม่สะดวกเกิดภาวะสายสะดือถูกกดได้ง่าย
มารดาอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์ ที่ส่งผลให้รกเสื่อมสภาพ
มารดามีภาวะถุงน้ำคร่่ำอักเสบหรือการติดเชื้ออื่นๆ มีน้ำคร่ำรั่วก่อนคลอดนานกว่า 18 ชั่วโมง มีประวัติการใช้สารเสพติด ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกท้าให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนน้อยลง
ปัจจัยด้านทารก
2.ส่งผลทำให้มีการคลายตัวของหูรูดลำไส้ของทารก ส่งผลให้ทารกมีการถ่ายขี้ เทาปนในน้ำคร่ำมารดา
1.มีภาวะขาดออกซิเจน ร่างกายของทารกจะมีการปรับตัวเพื่อหาแหล่ง ของออกซิเจนมาใช้ เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ทารกจะมีภาวะเครียด
อาการและอาการแสดง
1.อาการหอบเหนื่อยปอดมีเสียงผิดปกติ เสียงคราง ปีกจมูกบาน หายใจล้าบาก มีการใช้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจ
2.รายที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงอาจพบผิวหนังเขียวคล้ำ มีอาการหายใจเฮือกอาจพบลักษณะทรวงอกโป่งเนื่องจากมีการคั่งค้างของอากาศในทรวงอก มีลักษณะผิวแห้งลอก เล็บยาว บริเวณผิวหนัง เล็บ และสายสะดือมักจะติดสีเหลืองเขียวของขี้เทา
ทารกมักมีอาการหายใจลำบากโดยมีอาการหายใจเร็ว เขียว ทรวงอกโป่งออกหรืออกถัง (barrel chest) ฟังปอดได้เสียง rhonchi และ crepitation
การวินิจฉัย
2.ตรวจร่างกายพบน้ำคร่ำมีตะกอนขี้เทาปนในระยะคลอด หรือร่างกายของทารกมีลักษณะของขี้เทาติดอยู่ตามผิวหนัง
3.ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบความผิดปกติ ได้แก่ alveolar infiltration
hyperaeration atelectasis
1.ทารกมีอาการหายใจลำบาก มีการใช้กล้ามเนื้อในการหายใจ ทรวงอกโป่ง เนื่องจากมีลมคั่ง ค้างในทรวงอกไม่สามารถระบายออกได้จากการอุดกั้นทางเดินหายใจฟังเสียงปอดไม่ได้ยินเสียง
4.การส่งตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดอาจพบภาวะกรดในร่างกาย
ค่า pH <7.25 ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ทั่ง (PCO2, 55mmHg)
ภาวะพร่องออกซิเจน (PO2, 80mmHg
การรักษา
การรักษาทางยา พิจารณาตามอาการของทารกแต่ละราย
กลุ่มยาที่ใช้บ่อยคือ กลุ่ม opioids ยาที่ใช้บ่อยคือ fentanyl และกลุ่มยา benzodiazepam ยาที่ใช้บ่อยคือ midazolam ยาทั ง2 กลุ่มนี ใช้ในกรณีเพื่อให้ทารกพักผ่อน ลดการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
ในกรณีที่ทารกหายใจด้าน เครื่องช่วยหายใจจนส่งผลให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซหรือปรับสมดุลกรด-ด่างในร่างกายได้ จะใช้ยา กลุ่ม muscle relaxantsโดยยาที่ใช้บ่อยคือ pancuronium และ vecuronium
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่ส้าคัญได้แก่ ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดและภาวะความดันในปอดสูง โดยมีการติดตามผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกอย่างต่อเนื่อง
ให้ทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อช่วย
การหายใจหลักการของการช่วยหายใจพิจารณาจากความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
พยาธิสรีรวิทยา
1.เมื่อมีภาวะขาดออกซิเจน ร่างกายของทารกจะมีการ
ปรับตัวเพื่อหาแหล่งของออกซิเจนมาใช้ เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ทารกจะมีภาวะเครียด
2.ผลทำให้มี การคลายตัวของหูรูคลำไส้ของทารก ส่งผลให้ทารกมีการถ่ายขี้เทาปนในน้ำคร่ำมารดา
3.ส่งผลให้ทางเดินหายใจของทารกเกิดการอุดตันเนื่องจากขี้เทามีลักษณะเหนียวจึงอาจอุดตันทางเดินหายใจหรือถุงลมปอด การอุดตันดังกล่าวส่งผลให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าสู่ถุง ลมปอดหรือระบายออกไม่ได้ เกิดอันตรายรุนแรงคือ ภาวะถุงลมปอดแฟบและหรือถุงลมโป่งพองบางส่วน
4.หากมีการอุดตันทางเดินหายใจมากส่งผลให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ร่างกายเกิดภาวะกรดจากการหายใจเกิดภาวะหายใจล้มเหลว นอกจากนี อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในปอดหดตัวจนส่งผลต่อความดันในปอดสูง ระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้