Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์ที่4 การดูแลทารกแรกเกิด - Coggle Diagram
สถานการณ์ที่4
การดูแลทารกแรกเกิด
1.นักศึกษาคิดว่าเพราะเหตุใดพยาบาลห้องคลอดจึงปิดแอร์ก่อนทารกคลอด ระบุเหตุผล
การปรับอุณหภูมิห้องให้อบอุ่น เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการระเหย (Evaporation) ทางผิวหนังทารกที่เปียกน้ำคล่ำได้ โดยการรีบเช็ดตัว และศีรษะให้แห้งทันที แล้วห่อตัวทารกให้อบอุ่น
นักศึกษาคิดว่าเพราะเหตุใดพยาบาลรีบนำผ้าที่เปียกออกจากทารก ระบุเหตุผล
การปรับอุณหภูมิห้องให้อบอุ่น เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการพาความร้อน (Convention) สำหรับกรณีที่ทารกยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ควรพิจารณาให้อยู่ในตู้ให้ความอบอุ่น (Incubator) จนกว่าอุณหภูมิจะอยู่ในระดับปกติ
ทารกจะมีการสูญเสียความร้อนจากร่างกายได้ถึง 4 ทาง ดังนั้นการรักษาความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกแรกเกิดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อทารกเป็นอย่างมาก จึงควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายทารก
3.นักศึกษาประเมิน apgar score ได้คะแนนเท่าไหร่ และจะให้การพยาบาลอย่างไร
จากกรณีศึกษารายนี้ พบว่ามีคะแนนอยู่ในช่วง 8-10 คะแนน (No asphyxia) ถือว่าปกติไม่ต้องให้การช่วยเหลือพิเศษ
การพยาบาล
1) สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
2) ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง
3) ให้ความอบอุ่นแก่ทารก
นักศึกษาคิดว่าพยาบาลเช็ดตาด้วยสำลีชุบ 0.9% NSS และเช็ดสะดือด้วยสำลี alcohol เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด พร้อมระบุเหตุผล
การเช็ดตาด้วยสาลีชุบ 0.9%NSS
มีความเหมาะสมเพื่อทำความสะอาดสารคัดหลั่งและขี้ตาออกจากขอบตาและขนตา และลดจานวนเชื้อโรคบริเวณตา ป้องกันการติดเชื้อที่ตา บรรเทาอาการระคายเคือง
การเช็ดสะดือด้วยสาลี alcohol
มีความเหมาะสม เนื่องจากผิวหนังของทารกจะมีจํานวนจุลชีพ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่สะดือและผิวหนังของทารกถลอกลอกง่าย
นักศึกษาคิดว่าพยาบาลป้ายตาทารกด้วยยาชนิดใด มีผลอย่างไรกับทารก ระบุเหตุผล
Tetracyclines (เตตราไซคลีน) หรือยา Terramycin
คือ กลุ่มยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไปหรือไวรัส
กลไกการออกฤทธิ์
ยา Tetracycline เป็นยายับยั้งแบคทีเรียในกลุ่มเตตระไซคลิน ออกฤทธิ์ควบคุมการเจริญของแบคทีเรียโดยเข้าจับกับไรโบโซม ชนิดย่อย 30S แบบผันกลับได้ เป็นผลให้เกิดการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนและหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ผลข้างเคียงของการใช้ยาป้ายตา
ทารกแรกเกิดที่สำคัญ คือ หนังตาและเยื่อบุตาบวมแดงร้อน โดยทั่วไปเกิดภายใน 24 ชั่วโมงและหายได้เองใน 48 ชั่วโมง แต่ไม่เป็นอันตรายกับดวงตาของเด็ก
นักศึกษาคิดว่าพยาบาลฉีดยา ชนิดใดให้ทารก เป็นยาชนิดเดียวกันหรือไม่ ให้ระบุยาที่ใช้ พร้อมทั้งระบุเหตุผลที่เลือกใช้ยาชนิดนี้
ทารกแรกเกิดจะได้รับวัคซีน 2 ชนิด คือ
วิตามิน K
เป็นวิตามินชนิดละลายในไขมันที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด มีการเก็บสะสมในตับ เด็กทารกแรกเกิดที่มีวิตามินเคในตัวน้อยและในนมแม่ก็มีวิตามินเคน้อย ส่งผลให้ทารก อาจเกิดภาวะเลือดออกรุนแรง อาจถึงขั้นเลือดออกในสมอง พิการหรือเสียชีวิตได้ แก้ไขได้ คือ ฉีดวิตามินเคตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้วิตามินเข้าไปอยู่ในร่างกายและค่อยๆปล่อยออกมา
วัคซีนตับอักเสบบี (HBV Vaccine)
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี จะฉีดที่ต้นขาด้านหน้า 1 เข็ม ในกรณีที่คุณแม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดเข็มที่ 2 ตอนอายุ 1 เดือน
นักศึกษาคิดว่านอกจากยาที่พยาบาลฉีดให้ทารกตามโจทย์สถานการณ์แล้วนั้น ทารกควรได้รับรับยาชนิดใดเพิ่มหรือไม่ เพราะเหตุใด พร้อมระบุเหตุผล
วัคซีนบีซีจี (BCG) หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค
วัคซีนป้องกันวัณโรคจะฉีดที่ต้นแขน หลังจากนั้นไม่นานตำแหน่งที่ฉีดจะมีตุ่มนูน โดยทั่วไปกว่าแผลวัคซีนจะแห้งใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จึงควรดูและความสะอาดให้ดีตามคำแนะนำของแพทย์
นักศึกษาคิดว่าหญิงตั้งครรภ์รายนี้มีอายุครรภ์กี่สัปดาห์ และจะประเมินได้อย่างไร พร้อมระบุเหตุผล
การตรวจอายุครรภ์ (Gestational age) โดยวิธี Ballard Maturational score
ประกอบด้วยการประเมิน 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ประเมินความสมบูรณ์ด้านกายภาพ (physical maturity)
ควรทำการประเมินใน 1 ถึง 2 ชั่วโมงหลังเกิด เป็นการประเมินความแตกต่างของลักษณะทางกายภาพ ของทารกที่อายุครรภ์ต่างๆ กัน 6 รายการ คือ ลักษณะผิวหนัง lanugo (ขนอ่อนบนร่างกายทารก) เส้นลายฝ่าเท้า (plantar creases) ความชัดเจนและความนูนของ areola และขนาดไตของเนื้อเยื่อนม (breast bud) การปิดของ เปลือกตาและลักษณะของใบหู (eye/ear) และความสมบูรณ์ของอวัยวะเพศ การให้คะแนนในแต่ละรายการ เริ่ม น้อยที่สุดเท่ากับ -1 หรือ – 2 สาหรับการมีกายภาพไม่สมบูรณ์อย่างมาก (extremely immature) คะแนนสูงสุด คือ 4 หรือ 5 สาหรับลักษณะภาวะเกิดกำหนด (postmaturity)
ส่วนที่ 2 ประเมินความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อและประสาท (Neuromuscular maturity)
ควรประเมินภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด ยกเว้นทารกที่มี asphyxia แรกเกิด หรือมารดาได้ยาระงับปวดที่อาจทาให้มีคะแนนต่ำกว่าความเป็นจริง จึงควรประเมินซ้ำกดหลังเกิดในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมง โดยทาการประเมิน ทารกขณะนอนหงายใน 6 รายการ คือ
• ท่านอน การงอข้อศอก – ข้อสะโพก – ข้อเข่า (posture)
• มุมที่ฝ่ามือทากับส่วนปลายของแขน (forearm) เมื่องอดข้อมือ (square window)
• การงอกลับของแขน (arm recoil) หลังจับข้อศอกงอเต็มที่นาน 5 วินาทีแล้วใช้จับฝ่ามือทารกเพื่อเหยียด ข้อศอกออกเต็มที่ และปล่อยมือที่จับทารก
• ระยะไกลสุดที่ข้อศอกดของทารกสามารถข้าผ่านกึ่งกลางหน้าอก (scarf sign) แล้วดึงศีรษะทารกดึงไป ทางหัวไหล่ด้านตรงข้าม
• การเหยียดขาพับเพื่อให้เท้าใกล้ใบหู (heel to ear) โดยยึด sacrum ทารกให้แนบกับที่นอน ต้นขาชิดข้างท้อง และผู้ตรวจจับเท้าทารกดึงมาใกล้ใบหูให้มากที่สุดโดยไม่ใช้แรง
• มุมที่ขาพับ (popliteal angle) เมื่อจับข้อเข่าเหยียด โดยยึด sacrum ทารกให้แนบกับที่นอน และต้นขา ทารกวางบนท้อง ผู้ตรวจใช้นิ้วชี้เกี่ยวข้อเท้าหรือดจับเท้าทารก เพื่อเหยียดเข่าไปทางศีรษะเต็มที่
นักศึกษาคิดว่าจะซักประวัติอะไรเพิ่มเติมจากมารดา เพราะเหตุใด พร้อมระบุเหตุผล
การมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
น้ำหนักและส่วนสูงของมารดา
V/S เช่น BP PR BT RR
การรับประทานยา เช่น Folic acid / Calcium / Ferrous
การรับประทานอาหาร
การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาในช่วงขณะตั้งครรภ์
ประวัติการได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์
โรคประจำตัวและโรคทางพันธุกรรม เช่น Thalassemia G-6-PD
ประวัติการเจ็บป่วยภายในครอบครัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น HIV
การคุมกำเนิดขณะมีเพศสัมพันธ์
หมู่เลือดและ Rh ของแม่และเด็ก
นักศึกษาคิดว่าใช้ปรอทวัดไข้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด พร้อมระบุเหตุผล
ถูกต้อง เนื่องจาก ทารกแรกเกิดทุกราย ต้องวัดอุณหภูมิทางทวารหนักทุกราย เพื่อประเมินภาวะไม่มีช่องทวาร (imperforateanus) และอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย(coretemperature)โดยใช้ปรอทวัดอุณหภูมิที่หล่อลื่น ด้วยวาสลินไร้เชื้อสอดทวารหนักที่ความลึก 3 ซม.ในทารกครบกำหนด และ 2.5 ซม. ในทารกก่อนกำหนด และใช้เวลาวัดนาน 3 นาที
นักศึกษาคิดว่าขนาดศีรษะทารกและขนาดของหน้าอกทารก ความยาวทารก ที่ได้วัดได้จากสถานการณ์ปกติหรือไม่ พร้อมระบุเหตุผล
ขนาดของศีรษะทารก 33 ซม. ปกติ ค่าปกติ 35 + 2ซม.
ขนาดของหน้าอกทารก 32 ซม. ปกติ เพราะค่าปกติอยู่ในช่วง 30.5 - 33 ซม.
ความยาวของทารก 50 ซม. ปกติ เพราะค่าความยาวปกติ อยู่ระหว่าง 45-52 ซม.
นักศึกษาคิดว่าสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายตามสถานการณ์มีสิ่งใดเป็นภาวะปกติและสิ่งใดเป็นภาวะผิดปกติ ต้องให้การพยาบาลอย่างไร และจากอธิบายกับมารดาว่าอย่างไร พร้อมระบุเหตุผล
ภาวะปกติ ผิวหนังทารกเห็นเส้นเลือดเล็กน้อย มีขนอ่อนหลังและไหล่เล็กน้อย มีลายฝ่าเท้าประมาณ 2/3 จากปลายเท้า หัวนมมีขนาด 3-4 มล. ใบหูคืนกลับพอใช้เมื่อพับใบหู มีจุดสีขาวๆบริเวณจมูกด้านซ้าย แคมใหญ่มีขนาดเท่ากับแคมเล็ก แขนขาของทารกแบะออก แขนงอเล็กน้อย วัดมุมข้อมือได้ 45 องศา ส้นเท้าของทารกจดที่ใบหูพบว่ายกได้ถึงใบหน้า เข่างอเล็กน้อย ใช้มือตบบริเวณเบาะนอนของทารกมีท่าทางผวา
ภาวะผิดปกติ พบติ่งเนื้อเล็กๆบริเวณหูของทารก (preauricular skin tags)
ภาวะผิดปกติ พบติ่งเนื้อเล็กๆบริเวณหูของทารก (preauricular skin tags)
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.กรณีที่มีรูอยู่บริเวณหน้าหูโดยไม่มีอาการติดเชื้อมาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาแต่อย่างใด
2.หากมีการติดเชื้อ ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อเลาะเอาส่วนของท่อทั้งหมดออก เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
อธิบายกับมารดา
• ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากผดผื่นดังกล่าวมักจะหายไปภายในไม่กี่สัปดาห์
• แนะนำการดูแลรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคือง เพราะอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
• แนะวิธีการดูแลแก่มารดา คือ
ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นหมาดๆวางลงบนผิวหนังของทารก ผดผื่นจะแห้งลงและหลุดลอกออกเอง
ก่อนวางผ้าควรให้แน่ใจว่าผ้าร้อนมาก เพราะผิวทารกมีความบอบบางมาก อาจทำให้ผิวไหม้
สามารถขัดผิวลูกน้อยบริเวณที่เป็นผดมิเลียเบาๆในเวลาอาบน้ำได้
ในบางกรณีที่ต้องใช้ยารักษาควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
นักศึกษาคิดว่าการที่พยาบาลตบที่เบาะแล้วทารกมีอาการผวาเป็นภาวะปกติหรือไม่ พร้อมระบุ
การที่พยาบาลตบเบาะแล้วทารกผวา เป็นภาวะปกติ เนื่องจาก เป็นการทดสอบ moro reflex ทารกตอบสนองโดยยกแขนและขา แบมือ และกางแขนออก แล้วโอบเข้าหากัน ทารกอาจร้องไห้ การผวาพบได้จนอายุ 6 เดือน
เพิ่มเติม
moro reflex หรือ startle reflex เมื่อให้ทารกนอนหงายแล้วกระตุ้นโดยตบที่เบาะ หรือดึงมือของทารกค่อยๆ แล้วปล่อยหรือประคองด้านหลังของทารก แล้วปล่อยมือให้ทารกหงายไปข้างหลัง ประมาณ 10-15 องศา โดยใช้ฝ่ามือคอยรองรับไว้ จะกระตุ้นทำให้เด็กกางแขนกางขาออกแล้วทารกจะงอแขน และขางอเข้า ทำท่าคล้ายกับการกอด รีเฟล็กซ์นี้จะพบบ่อยในระยะ 2 เดือนแรก และจะค่อยๆ หายไปเมื่อทารก อายุ 3-4 เดือน ถ้าไม่พบ moro reflex ในทารกแรกเกิดหรือพบมากกว่า 6 เดือน ต้องนึกถึงภาวะสมองได้รับอันตราย การกางแขนขาไม่เท่ากันทั้งสองข้างอาจเนื่องจาก brachial plexus ถูกกดกระดูกไหปลาร้าหรือกระดูก ต้นแขนหัก
นักศึกษาคิดว่าสัญญาณชีพที่วัดได้จากสถานการณ์ปกติหรือไม่ พร้อมระบุเหตุผล
ลักษณะการหายใจ เบา เร็ว สม่ำเสมอ RR 62/min. สูงกว่า ค่าปกติคือ 40-60/min.
BT 37.2 องศาเซลเซียส อยู่ในช่วงปกติ เพราะการวัดอุณหภูมิทาง rectal temperature ค่าปกติจะอยู่ในช่วง 36.7 - 37.3 องศาเซลเซียส
HR 144/min. อยู่ในช่วงปกติ (โดยค่าปกติอยู่ที่ 120-160 bpm)
Oxygen Saturation = 98 % อยู่ในช่วงปกติคือ 95 -100% แต่ในเด็ก preterm จะ keep oxygen Saturation ไม่ให้ต่ำกว่า 90-92 %
นักศึกษาคิดว่าทารกรายนี้มีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ อย่างไร พร้อมเหตุผล
มีการหายใจปกติ เนื่องจาก ทารกมี Oxygen Saturation = 98 % ซึ่งตามเกณฑ์ เด็ก preterm จะ keep oxygen Saturation ไม่ให้ตํ่ากว่า 90-92 %ในเด็กทารกแรกเกิด จะมีการหายใจเป็นจังหวะ คือ หายใจเร็วและลึกจากนั้นจะหายใจช้าและตื้นขึ้น อาจมีอาการหายใจแรง และมีเสียงดังครืดคราดระหว่างนอน เพราะช่องลมของทารกยังมีขนาดเล็ก หลอดลมที่อยู่ด้านหน้ากระดูก
อ่อนที่เป็นโครงสร้างของหลอดลมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทำให้หลอดลมมาขวางอากาศที่หายใจ หรืออาจมีเมือกมาบังช่องอากาศที่ทารกหายใจ