Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์ที่ 3 การพยาบาลมารดาหลังคลอดปกติ, นางสาวภวิษย์พร บูรวัตร 61106662…
สถานการณ์ที่ 3 การพยาบาลมารดาหลังคลอดปกติ
การประเมินสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยหลักการ 12B
Bladder กระเพาะปัสสาวะ
Bleeding & Lochia เลือดและน้ำคาวปลา
Belly and Fundus หน้าท้องและยอดมดลูก
Botton ฝีเย็บและทวารหนัก
Breast and Lactation เต้านมและการหลั่งน้ำนม
Bowel Movement การทำงานของลำไส้
Body Temperature and blood pressure สัญญาณชีพ
Blues ภาวะด้านจิตใจการปรับตัวของมารดา
Body Condition ประเมินภาวะร่างกายทั่วไป
Baby ทารกมีการประเมินและตรวจร่างกาย
Background ศึกษาถึงภูมิหลังของมารดาสิ่งที่ต้องประเมิน
Boning & Attachment สัมพันธภาพระหว่างมารดา
การส่งเสริมบทบาทบิดา
ส่งเสริมให้บิดาดูแลช่วยเหลือประคับประครองและตอบสนองความต้องการของมารดาหลังคลอดทางด้านร่างกายในเรื่องการรับประทานอาหารการพักผ่อนการรักษาความสะอาดของร่างกายการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อลดความไม่สุขสบายรวมทั้งประคับประคองด้านจิตใจ
แนะนำให้บิดาช่วยดูแลทารกขณะที่มารดาพักรักษาตัวเช่นการอาบน้ำแต่งตัวการดูลความสะอาดการดูแลให้ทารกนอนหลับพักผ่อน
ส่งเสริมให้บิดารับฟังเปิดโอกาสให้มันดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความสนใจจะช่วยให้มารดาหลังคอตสบายใจขึ้น
อธิบายให้คุณพ่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ของคุณแม่หลังคลอดว่าเหตุผลใดจึงมีอารมณ์แปรปรวน
แสดงพฤติกรรมด้วยท่าทีที่อบอุ่นเห็นอกเห็นใจเข้าใจความรู้สึกด้วยความจริงใจเพื่อให้มารดาหลังคอตมีความรู้สึกว่ามีผู้สนใจเอาใจใส่ตน
แนะนำให้บิดาได้ทำหน้าที่ดูแลภรรยาและทารกร่วมกันเช่นการช่วยกันอาบน้ำให้ทารกการเปลี่ยนผ้าอ้อม
ส่งเสริมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลทารกเพื่อให้บิดามีความมั่นใจและให้กาลังใจว่าสามารถท่าได้
พยาบาลควรอธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอดรวมทั้งความเจ็บปวดของมารดาที่เกิดขึ้นและสนับสนุนให้มารดาหลังคลอดพูดคุยกับสามีรวมทั้งญาติเพื่อระบายความรู้สึกออกมา
กลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม
มีการสร้างกลไกและการหลั่งน้ำนมแล้วโดยมีการเกิดทารกมีการดูดนมมารดาเมื่อทารกดูดที่หัวนทปลายประสาทรับความรู้สึกไปยัง hypothalamus กระตุ้นให้ Pituitary gland หลัง Hormone Prolactin ซึ่งเรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อนในการสร้างน้ำนม (Prolactin reflex) และเมื่อทารกดูดนมข้างซ้ายจะมีน้ำนมไหลจากเต้านมข้างกว่าซึ่งเกิดจากกลไกการหลั่งของน้ำนม let down reflex โดยเมื่อทารกดูดจะมีการกระตุ้นให้ Posterior pituitary gland หลั่ง hormone Oxytocin ออกมาทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่บุผนังของต่อมปลิตน้ำนมและท่อน้ำนมทำให้น้ำนมพุ่งออกมา
น้ำนมในระยะ 2 วันหลังคลอด
นมแม่ระยะที่ 2 น้ำนมใส (Transitional milk) ระยะเวลา: 4-14 วันแรกหลังคลอดน้ำนมในระยะต่อมาหลังจากหมดช่วงหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองแล้วน้ำนมจะมีลักษณะขาวขึ้นทำให้นานุมช่วง 5-14 วันหลังคลอดเป็นน้ำนมใสหรือน้ำนมช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Tik) คือระยะการเปลี่ยนจากหัวนานมแม่เป็นน้ำนมแม่สถาพหในน้ำนมแม่น้ำนมในช่วงนี้จะประกอบไปด้วยไขมันแลคโตสและวิตาผนที่ละลายน้ำได้ค่อนข้างสูงและจะมีปริมาณแคลอรี่มากกว่าช่วงหัวน้ำนม "
นมแม่ระยะที่ 3 น้ำนมขาว (Mature milk) ตั้งแต่สัปดาห์หลังคลอดเป็นต้นไประยะนี้น้ำนมจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมสีขาวจึงมีชื่อเรียกว่าน้ำนมขาวซึ่งจะมีไขมันมากขึ้นละปริมาณน้ำนมก็จะมากขึ้นด้วยยิ่งถ้าได้รับการกระตุ้นและลูกได้ดูดนมแม่อย่างถูกวิธีก็จะท่าให้แม่สร้างน้ำนมได้มากและเพียงพอกับลูก
“ นมแม่ระยะที่ 1: หัวน้ำนม (Colostrum) ระยะเวลา: สร้างขึ้นช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้นถือเป็นน้ำนมที่ดีที่สุดเนื่องจากเป็นน้ำนมที่มีภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดสำหรับลูกนมแม่ช่วงหลังคลอด
ส่วนประกอบสำคัญในน้ำนม
-ในน้ำนมแม่มีกรดไขมันจำเป็น ได้แก่ DHA และ A เป็นกรดไขมันจำเป็นที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็นของลูก
-ในนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์และ Probiotic ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยให้เซลล์ทางเดินอาหารทารกสร้างโปรตีนที่ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นระบบสภูมิคุ้มกันได้
-น้ำนมแม่มีโปรตีนเตรีนชนิตเบต้าแลคโตเฟอรินยินมูโนโกลบูลิน A (liga) ไลโปโซมและชีรัมสัสบูมินซึ่งโปรตีนแต่ละชนิดจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเพิ่มภูมิต้านทานหรือช่วยลดการติดเชื้อต่างๆให้กับลูกที่ได้ลื่นน้ำนมแม่
การเตรียมมารดาให้ทารกแรกเกิดได้รับน้ำนมมารดา
การพยาบาล
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูกและต่อแม่แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือนเพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์มีคุณค่าทางสารอาหารสูงเหมาะสำหรับเลี้ยงทารกสะอาดประหยัดและมีภูมิต้านทานโรค
สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบผลสำเร็จสอนวิธีการให้นมอย่างถูกวิธีโดยอุ้มให้ถูกต้องใช้มือจับเต้านมโดยใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนและนิ้วอื่น ๆ รองรับเต้านมปากทารกอยู่บริเวณลานหัวนม
ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตรเช่นการประคองหัวเด็กช่วยขณะมารดาให้นมบุตร
พูดคุยให้กำลังใจมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะถึงแม้ว่าจะมีภาวะหัวนมสั้นก็สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือการให้นมบุตรตลอดเวลาที่มีปัญหาโดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลแต่ละเวรช่วยกันดูแลอย่างต่อเนื่อง
การให้อาหารให้ทารกกินนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือนแล้วจึงให้อาหารเสริมตามวัยซึ่งดูได้ในสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพูสอนและจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนมอุ้มทารกเรอแล้ว 5 นาที่จัดให้ทารกนองด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลักนมและยกศีรษะสูงเล็กน้อยการประเมินผลสามารถอุ้มบุตรดูดนมท่าท่าฟุตบอลได้ถูกวิธีบีบน้ำนมออกจากเต้าได้หัวนมแตกน้อย
การประเมินหัวนมและลานหัวนม (Siriraj Areola Nipple Assessment: SANA)
การประเมินหัวนม
1.1 การวัดความยาวหัวนมจัดให้สตรีตั้งครรภ์อยู่ในท่านั่งหลังตรงจากนั้นคลึงหัวนม (nipple rolling) เบา ๆ ประมาณ 5 วินาทีก่อนตรวจวัดใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์หรือไม้บรรทัดวัดความยาวหัวนมโดยให้วัดตั้งฉากกัลลานหัวนมเริ่มจากโคนหัวนมจนถึงยอดของหัวนมที่สูงที่สุดหน่วยเป็นมิลลิเมตร
หัวนมสั้นไม่มาก หมายถึง ความยาวมากกว่าหรือเท่ากับ 4.0 มิลลิเมตร แต่น้อยกว่า 7.0 มิลลิเมตร-หัวนมสั้นนมากหมายถึงความยาวน้อยกว่า 4.0 มิลลิเมตร แต่มากกว่า 1.0 มิลลิเมตร 1.2
การตรวจความผิดปกติของหัวนมแบ่งเป็น
1.หัวนมบอดหรือปุ่ม หมายถึง หัวนมที่มีความยาวน้อยกว่า 1.0 มิลลิเมตรหรือปุ่มลึกลงไปจากลานหวันม
pseudo-inverted nipple หมายถึง หัวนมที่ยื่นออกมาในสภาวะปกติแต่เมื่อทดสอบโดยบีบบริเวณขอบนอกของลานหัวนมเข้าหากันด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ (pinch test) พบว่าหัวนมปุ่มลึกลงจากลานหัวนมคล้ายปล่องภูเขาไฟ
3.Retracted nipple หมายถึงหัวนมมีการดึงรั้งทดสอบโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกัวแม่มือจับบริเวณหัวนมแล้วดึงขึ้น (nipple pulling) หากจับไม่ติดหรือดึงไม่ขึ้นแสดงว่าหัวนมมีการดึงรั้ง
การแปลผลหัวนมสั้นหมายถึงความยาวหัวนมสั้นกว่า 7.0 มิลลิเมตรโดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 2 ระดับ
2.การประเมินลานนม
เป็นการทดสอบดูความยืดหยุ่นของลานหัวนมเพื่อประเมินดูว่าทารกจะสามารถอมลานหัวนมได้หรือไม่เทคนิคการทดสอบให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณลานหัวนมแล้วยกขึ้น (areola Compression)
แปลผล
•ลานหัวนมมีความยืดหยุ่นดีหมายถึงสามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณลานหัวนมติดและสามารถดึงลานหัวนมขึ้นมาได้
•ลานหัวนมตึงหมายถึงไม่สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณลานหัวนมติดหรือจับติด แต่ไม่สามารถดึงลานหัวนมขึ้นมาได้
ปัจจัยที่ทำให้น้ำนมมารดาไหลน้อย
3) เคยผ่านการผ่าตัดเต้านม
4) การคุมกำเนิดโดยการใช้ยาคุมที่มีฮอร์โมน
5) การกินยาหรือสมุนไพรบางอย่าง
2) มีปัญหาที่ฮอร์โมนหรือต่อไร้ท่อ
6) ลูกดูดนมลำบากหรือมีปัญหาทางกายวิภาค
7) ประเมินประสิทธิภาพการดูดนม
8) ประเมินดูดนมถูกวิธีหรือไม่
1) เนื้อเยื่อสำหรับการผลิตน้ำนมน้อยหรือไม่เพียงพอ
หลักการส่งเสริมการเลี้ยงดูลูกด้วยน้ำนมเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแก่มารดา
หลังให้นมเสร็จบีบน้ำนมออกเล็กน้อยและนำมาทาเบา ๆ บริเวณหัวนมเนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณสมบัติในการรักษาตามธรรมชาติและทำให้ผิวลื่นหลังจากให้นมเสร็จพยายามฝั่งหัวนมให้แห้งก่อนหรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่ม ๆ
หากรู้สึกเจ็บหัวนมมากควรเปลี่ยนท่าให้นมในแต่ละครั้งที่ให้นมเพื่อลดการกดทับหัวนมที่ตำแหน่งเดิม
การสวมแผ่นรองให้นม (ripple shield) ระหว่างการให้นมไม่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนมจริงๆแล้วมันท่าให้เจ็บหัวนมนานขึ้นไปอีกเพราะทำให้ลูกยากล่าบากในการเรียนรู้ที่จะไม่ใช้ nipple shield
อย่าเลื่อนเวลาให้นมออกไปพยายามผ่อยคลายเพื่อให้กลไกน้ำนมพุ่ง (Let down Reflex) เกิดได้ง่ายขึ้นคุณควรบีบนมออกเล็กน้อยก่อนเพื่อให้เค้านิ่มลงและลูกจะดูดได้ง่ายขึ้น
หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อชั้นในหรือเสื้อผ้าที่รัดเกินไปซึ่งจะไปกดทับบริเวณหัวนม
ตรวจสอบท่าอุ้มให้นมและท่างับหัวนมขณะดูดนมของลูกเพื่อลดความเจ็บปวดควรให้ลูกอ้าปากกว้างและให้จับลานนมให้มากที่สุดที่จะทำได้คุณควรรู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อจัดท่าของลูกได้ถูกต้องดู Breastfeeding KnowHow สำหรับข้อมูลเรื่องท่าดูดนมที่ถูกวิธี (correct latch) และทำอุ้มให้นม (Positioning the Baby at the Breast)
หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือศรีมที่มีตัวยาสมานแผลหรือสารเคมีบริเวณหัวนมหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าต้องล้างหรือเซ็ตออกก่อนให้นมการล้างเต้านมและหัวนมนั้นใช้น้ำสะอาดก็เพียงพอแล้วอื่น ๆ
ใช้ลาโนลินบริสุทธิ์ถูเบา ๆ บริเวณหัวนมหลังให้นมลูกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ
พักผ่อนให้เพียงพอรับประทานอาหารให้ครบหมู่และดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยในกระบวนการรักษาหากมีอาการปวดมากอาจปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนผสมของแอสไพริน
เปลี่ยนแผ่นรองซับน้ำนมบ่อยๆเพื่อไม่ให้เต้านมขึ้นเกินไป
หากมีอาการเจ็บหัวนมเป็นเวลานานหรือมีการเจ็บหัวนมเฉียบพลันหลังจากให้นมมานานหลายสัปดาห์และที่ไม่เคยมีอาการมาก่อนคุณอาจติดเชื้อราสัญณา ณ ที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อราคือมีอาการคันผิวแตกและแห้งหรือมีผิวสีชมพูการติดเชื้ออาจเกิดจากเชื้อราในปากของลูกมาสัมผัสโดนหัวนมการติดเชื้ออาจมีลักษณเป็นจุดสีขาวเล็ก ๆ บริเวณกระพุ้งแก้มเหงือกหรือลิ้นมันอาจมีลักษณะเหมือนผืนผ้าอ้อมและไม่สามารถรักษาให้หายโดยใช้ยาทาผื่นผ้าอ้อมหากคุณมีอาการเหล่านี้และคิดว่าคุณดิตโรคเชื้อราในช่องปากให้ไปพบแพทย์ของคุณหรือกุมารแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant) เพื่อรักษา
มารดาบอกว่าเมื่อทารกดูดนมข้างซ้ายจะมีน้ำนมไหลจากเต้านมข้างขาวด้วยและมีอาการปวดมดลูกขณะทารกดูดนม” ควรให้คำแนะนำและการพยาบาลแก่มารดารายนี้อย่างไร
เมื่อทารกดูดนมจะเกิดการกระตุ้นให้หลัง Oxytocin ทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวและเส้นเลือดมีการหดรัดตัวทำให้เวลาทารกดูดนมมารดาจะปวดมดลูก
การพยาบาล
-อธิบายให้แม่ทราบว่าเป็นปฏิกิริยาปกติที่เกิดขึ้นได้ปกติ
-แนะนำให้มารดาให้ทารกดูดนมบ่อย ๆ ทุก 2-3 ชม.เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลเพิ่ม
-แนะนำให้มารดาทานน้ำเยอะ ๆ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยในการสร้างน้ำนมเช่นแกงเลี้ยงแกงจืดกวยเตี๋ยวเป็นต้น
-แนะนำให้การดูดนมที่ถูกวิธีให้แกมารดามี 4 วิธีดูดเร็วดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ดูดเกลี้ยงเต้า
มารดามีแผลฝีเย็บบวมเล็กน้อย REEDA Scale = 2 ปกติหรือไม่อย่างไรจงอธิบายและควรให้การพยาบาลอย่างไร
จงอธิบายหลักการประเมินแผลฝีเย็บด้วย REEDA Scale ว่าประเมินอะไรบ้างและแปลผลอย่างไร
1) Redness: R ดูว่าแผลมีลักษณะสีชมพูดีแดงอักเสบทหรือแผลซีดขาวหรือไม่
4) Discharge or Drainage: D ดูว่าแผลแห้งดีหรือมีสารคัดหลั่งเช่นน้ำเหลืองเลือดหรือน้ำหนองไหลซึมออกมาจากแผลหรือไม่
3) Ecchymosis: E ดูว่าแผลมีลักษณะหรือมีเลือดหรือไม่ซึ่งแสดงว่าอาจมีเลือดออกใต้ชั้นผิวหนังหรือใต้แผลฝีเย็บ
5) Approximation: A ดูว่าขอบแผลเรียบชิดหันหรือไม่ดูว่าแผลแยกลึกถึงกันแผลหรือไม่
2) Edema: E ดูว่าแผลบวมหรือไม่เป็นการบวมลักษณะบวมใส ซึ่งเกิดจากยาชาที่ฉีดให้กับมารดาก่อนการเย็บแผลหรือบวมช้ำเป็นสีม่วงกดเจ็บซึ่งแสดงถึงการบวมจากการบาดเจ็บและมีเลือดออกบริเวณแผลฝีเย็บ
ผิดปกติ
-ประคบเย็นให้แก่มารดาใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดโดยเฉพาะหลังเย็บแผลฝีเย็บเสร็จที่ความเย็น 10-14 องศาเซลเซียสโดยประคบนาน 15 นาทีและประคบทุก 15 นาทีการประคบเย็นเพื่อจะช่วยลดอาการบวม
-การรักษาความสะอาดและทำความสะอาดอวัยวะเพศโดยเช็ดจาดด้านหน้าไปด้านหลังไม่เช็ดย้อน
-การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีนช่วยส่งเสริมการหายของแผล
-การอบแผลด้วย infrared
จากข้อมูลที่ตึกหลังคลอดพยาบาลคลำพบลอนก้อนบริเวณระดับสะดือภายหลังมารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะถือเป็นภาวะปกติหรือไม่
ภายหลังคลอดมารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะถือเป็นภาวะผิดปกติเพราะหลังคลอด 4 ชั่วโมงมารดาควรถ่ายปัสสาวะได้เอง แต่ในบางรายจะถ่ายปัสสาวะลำบากในด -5 วันแรกหลังคลอดเนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่มีกำลังหรือยึดมากเกินไปท้าให้ปัสสาวะคั่งหรือถ่ายลำบากพยาบาลต้องกระตุ้นให้ปัสสาวะถ้ากระตุ้นแล้วยังถ่ายเองไม่ได้ให้พิจาร ณ กสวนปัสสาวะให้
เป็นภาวะผิดปกติที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาเช่นมดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดีทำให้ตกเลือดหลังคลอดหรือเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
จากข้อมูลที่ตึกหลังคลอดพยาบาลคลำพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดีอภายหลังคลอดมารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะการคลำพบลอนนิมบริเวณระดับสะดือถือเป็นภาวะผิดปกติเนื่องจากโดยภายหลังคลอดบุตรเราสามารถคลำได้ที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยโดยจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลแก่มารดาทารกในระยะที่ 6 สัปดาห์คลังคลอดรายนี้อย่างไร
S: มารดาบอกว่า "ตนเองเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สลับกับนมผสม” มารดาบอกว่า" ลูกดูดนมตนเองบ้างบางครั้งก็ไม่ดูดมีสะบัดหน้าหนีเมื่อเอาหัวนมแม่เข้าปากเป้าหมายการพยาบาล: ทารกไม่มีภาวะสับสนหัวนม
เกณฑ์การประเมินผล
ทารกสามารถดูดนมได้ทุก 2-3 ชม
ทารกได้รับนมแม่จนครบ 6 เดือนไม่ต้องมีการใช้นมผสมสลับกับนมแม่
เมื่อดูดนมไม่มอาการสะบัดหน้าหนีกิจกรรม
การพยาบาล
ให้กำลังใจแม่สร้างความมั่นใจให้แม่
ให้ทารกรกสงบก่อนให้ดูดนมแม่ฝึกการดูดนมของทารกการเอาหัวนมเข้าปากลูกการบีบน้ำนมช่วย
ควรให้แม่ลูกอยู่ด้วยกันตลอดเวลาและให้โอบลูกกอดเนื้อแนบเนื้อจนลูกสงบก่อนฝึกการดูดนมแต่ละครั้งระหว่างการโอบกอดให้ปากลูกสัมผัสหัวนมและเต้านมบ่อยครั้งเพื่อกระตุ้นให้ลูกกลับมาคุ้นเคยมากขึ้นและช่วยกระตุ้น Oxytocin reflex ซึ่งช่วยให้แม่และทารกสงบเอาทารกเข้าเต้าให้ถูกวิธีไม่ใช้วิธีออกแรงบังคับการช่วยเหลลือ
ใช้ lactation aid ในกรณีที่น้ำนมน้อยทำให้การเรียนรู้การดูดนมแม่ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมโดยที่ลูกจะได้ปริมาณน้ำนมที่ต้องการมากกว่านมแม่จากเต้ามักให้ลูกได้รับปริมาณน้ำนมจากภายนอกน้อยที่สุด
แนะนำมารดาให้นมจากเต้าอย่างน้อย 6 เดือน
มารดามีสีหน้าวิตกกังวลหงุดหงิดง่ายบางครั้งร้องไห้คนเดียวมารดารายนี้มีภาวะใดจงอธิบายและควรให้การพยาบาลอย่างไร
มีภาวะ Postpartum blues หรือ Baby blues เนื่องจากมารดามีอาการในช่วง 2 วันหลังคลอดซึ่งยังไม่ถึง 2 สัปดาห์จึงไม่จัดว่าเป็น Postpartum depression และมารดามีสีหน้าวิตกกังวลหงุดหงิดง่ายบางครั้งร้องไห้คนเดียว แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเองและหายได้เองตามธรรมชาติ
การพยาบาล
1.การประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเพื่อลดและป้องกันภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอดได้อย่างทันการณ์
2.จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้มารดาที่เคยซึมเศร้าหลังคลอดมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
4.แนะนำแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือในการดูเได้รับการช่วยเหลืออย่างเพียงพอองและบุตรเพื่อให้มารดา
3.เปิดโอกาสให้มารดาได้ระบายความรู้สึกเพื่อให้มารดาได้ระบายความอึดอัด
5.ช่วยดูแลทารกเมื่อมารดายังไม่พร้อมในการดูแลบุตรหรือพบว่ามีอารมณ์เศร้า
จากข้อมูลแรกรับที่ตึกหลังคลอดสัญญาณชีพของมารดานี้เป็นอย่างไรจงอธิบายและควรให้การพยาบาลอย่างไร
ตอบ BP 120/88 mmHg ปกติ (120-139 / 80-88 mmHg) PR 100 bpm. ปกติ (60-100 bpm) RR 18 bpm. Und (12-20 bpm.) BT 38 ° c ปกติ (reactionary fever) Pain score 7 คะแนน (ปวดมาก)
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวด Paracetamol เพื่อช่วยลดอาการปวดแผลฝีเย็บ
แนะนำให้มารดาลดแรงกดที่ฝีเย็บโดยท่านั่งควรนั่งลงแก้มก้นด้านใดด้านหนึ่งหรือนั่งพับเพียบไม่ควรนั่งทับแผลฝีเย็บโดยตรงมารดาหลังคลอดควรหาห่วงยางเล็ก ๆ หรือหมอนโดนัทรองนั่งเพื่อไม่ให้แผลฝีเย็บถูกกดทับทำให้การไหลเวียนเลือดปกติส่งเสริมการหายของแผลและหลีกเลี่ยงท่านั่งที่ทำให้ขาหนีบแยกออกจากกันเช่นท่านั่งขัดสมาธิเพราะจะทำให้แผลถูดดึงรั้งเกิดการเจ็บปวดเพิ่มยิ่งขึ้น
ประคบเย็นให้แก่มารดาใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดโดยเฉพาะหลังเย็บแผลฝีเย็บเสร็จที่ความเย็น 10-14 องศาเซลเซียสโดยประคบนาน 15 นาทีและประคบทุก 15 นาทีการประคบเย็นเพื่อจะช่วยลดอาการบวมลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บเพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ประคบเกิดการหดรัดตัวและยังช่วยลดการนำกระแสประสาทลดการถูกกระตุ้นของประสาทจึงทำให้ความเจ็บปวดลดลง
ใช้โคมไฟแสงอินฟาเรดส่องที่แผลฝีเย็บโดยตรงระยะห่าง 1 ฟุตครึ่งอบนาน 15 นาทีหรือทำการนั่งแช่น้ำอุ่น (hot seat bath) ควรทำหลังคลอด 3 วันเป็นต้นไปโดยนั่งแช่น้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 10-20 นาทีเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี
แนะนำให้ทำ kegel exercise โดยการขมิบช่องคลอดพยายามขมิบค้างไว้นานที่สุดเท่าที่ทำได้แล้วคลายหลังจากนั้นให้เพิ่มระยะเวลาให้ขมิบนานขึ้นสามารถขมิบได้นาน 8 ถึง 10 วินาทีต่อครั้งโดยให้ขมิบ 8 ถึง 12 ครั้งต่อ 1 ชุดและปฏิบัติให้ได้ 3 ชุดต่อวันเพื่อช่วยส่งเสริมการหายของแผลและช่วยให้กล้ามเนื้อรอบช่องคลอดและฝีเย็บหดรัดตัวดี:
มารดาปวดแผลฝีเย็บ pain Score = 7 คะแนนควรให้การพยาบาลอย่างไร
การพยาบาล
เซ็ตตัวลดไข้เพื่อเป็นการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายและวัดอุณหภูมิหลังจากเช็ดตัว 30 นาทีเพื่อประเมินอาการไข้
ดูแลให้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อลดกระบวนการผลิตความร้อนในร่างกาย
แนะนำวิธีระบายความร้อนออกจากร่างกายเช่นสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ โปร่งสบายเพื่อให้ระบายความร้อนได้ดี
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณแผลฝีเย็บ
แนะนำวิธีบรรเทาความปวดโดยการเบี่ยงเบนความสนใจเช่นกำหนดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด
จัดสิ่งแวดล้อมให้ดูสบายตาปรอดโปร่งเพื่อให้มารดารู้สึกผ่อนคลาย
แนะนำการดื่มน้ำเยอะ ๆ วันละ 3000 มิลลิลิตร
จากข้อมูลในระยะ 3 วันหลังคลอดนักศึกษาจะกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลแก่มารดาและทารกรายนี้อย่างไร
ทารกมีอาการตัวเหลืองเนื่องจากได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ
การพยาบาล
แนะนำไม่ให้ทารกดูดน้ำเปล่าหรือกลูโคสเพราะจะทำให้ดูดนมแม่น้อยลงและไม่ช่วยให้ระดับบิลิรูบินลดลง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการรักษา
จัดให้ทารกดูดนมแม่โดยเร็วดูดบ่อยและดูดอย่างถูกวิธีเพื่อเป็นการขับบิลิรูบินออกจากลำไส้
ประเมินอาการตัวเหลืองของทารกเพื่อประเมินความรุนแรงและเพื่อหาสาเหตุของอาการตัวเหลือง
มีภาวะหัวนมแตก เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์การให้นมบุตร
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตกคือการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธีลูกอมหัวนมไม่ลักถึงลานนม
ช่วยให้ลูกอ้าปากกว้างที่สุดเคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็วเพื่อจะได้จับลานหัวนมลักพอเคลื่อนไหวมือทั้ง 2 ข้างที่จับเต้านมและมือที่ประคองบริเวณท้ายทอยลูกจนกว่าลูกจะดูดติดจึงปล่อยมือได้เพื่อให้แม่ให้นมลูกได้ถูกวิธี
สอนและช่วยจัดท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่โดยการสอนท่าฟุตบอลเพื่อทำให้ลูกอมหัวนมได้ลึกขึ้น
ช่วยให้อุ้มลูกได้ถนัดก่อนให้ลูกดูดนมแม่เพราะการดูดนมแต่ละครั้งในระยะที่มีหัวนมแตกแม่จะเจ็บมากถ้าแม่อุ้มได้ถนัดและสบายจะทำให้สร้างความมั่นใจ
ให้ลูกดูดนมข้างที่ไม่เป็นแผลการที่ลูกดูดนมแรงในระยะแรกจะทำให้ Oxytocin reflex ทำงานได้ดีน้ำนมก็จะไหลดีขึ้นเมื่อย้ายลูกมาดูดข้างที่เป็นแผลน้ำนมก็จะไหลสะดวกมารดาหลังคลอดจะเจ็บน้อยลง
แนะนำให้บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนมที่แตกแล้วปล่อยให้แห้งเองแล้วค่อยใส่ยกทรงเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
แนะนำให้บีบน้ำนมออกก่อนให้ลานนมนิ่มเพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงลานหัวนมหลีกเลี่ยงการดูดถูกหัวนมที่แตกไม่ควรใช้ครีมทาแผลที่หัวนมเพราะอาจทำให้แผลเป็น
แนะนำวิธีการถอนหัวนมจากปากอย่างถูกวิธีคือให้สอดนิ้วก้อยลงไปที่มุมปากลูกเพื่อให้อากาศเข้าไปช่วยคลายผนึกที่ลูกดูดติดอยู่กับหัวนมทำให้มารดาหลังคลอดไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกเพิ่มขึ้น
ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตรเช่นการบีบน้ำนมทาบริเวณที่หัวนมแตก
นางสาวภวิษย์พร บูรวัตร 61106662