Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ, การละเมิด, นางสาวปภาวี สุขชาติ…
สิทธิจริยธรรม
และจรรยาบรรณวิชาชีพ
สิทธิ
เด็ก
สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) ที่บังคับใช้ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535
สิทธิในการมีชีวิต คือ สิทธิของเด็กที่คลอดออกมาแล้วจะต้องมีชีวิตอยู่รอดอย่างปลอดภัย อนุสัญญาฯ กำหนดว่ารัฐภาคีจะต้องรับรองว่าเด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวมาตั้งแต่เกิด และต้องประกันอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ให้มีการอยู่รอดและพัฒนาของเด็ก
สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง เป็น สิทธิที่เด็กได้รับปกป้องคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ เช่น การทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ซึ่งรวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ หรือการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้าประเวณีเด็ก การขายเด็ก การนำเด็กไปใช้ขอทาน ไม่ว่าจะโดยบิดา มารดา หรือผู้ใดก็ตาม นอกจากนี้ เด็กที่ลี้ภัยจากอันตรายเข้ามาในประเทศของรัฐภาคี จะต้องได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ สำหรับ ‘เด็กพิการ’ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตที่ดีอย่างมีศักดิ์ศรี และได้รับการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเองได้
สิทธิในด้านพัฒนาการ เด็ก ทุกคนจะได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงความพึงพอใจและความสุข เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวในโรงเรียน หรือสังคมที่เด็กอยู่ได้อย่างมีความสุข มีโอกาสเล่น พักผ่อน รับข้อมูลข่าวสารอย่างมีอิสระในการคิดและแสดงออก โดยได้รับการกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ ความรู้ ความคิดที่เหมาะสมกับวัย และที่สำคัญที่สุดก็คือเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
สิทธิในการมีส่วนร่วม เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำของเด็ก ในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่อาศัยอยู่ รวมทั้งสิทธิในการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่เกิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของ เด็ก ด้วยการอนุญาตให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลอื่น
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชนขององค์การสหประชาชาติ
เด็กและเยาวชน พึงได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยปราศจากการแบ่งแยกหรือกีดกัน ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือ สังคมทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น ๆ ไม่ว่าจะของเด็กหรือของครอบครัวก็ตาม
เด็กและเยาวชน พึงได้รับการพิทักษ์คุ้มครองเป็นพิเศษ อันจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทั้งทางกาย ทางสมอง และจิตใจเพื่อให้ร่วมอยู่ในสังคมได้อย่างปกติชน
เด็กและเยาวชน มีสิทธิที่จะได้มีชื่อและมีสัญชาติแต่กำเนิด
เด็กและเยาวชน พึงได้รับความมั่นคงทางสังคมและเติบโตอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นทั้งแม่และเด็ก ควรได้รับการดูแลและคุ้มครองเป็นพิเศษ ทั้งเมื่ออยู่ในครรภ์และภายหลังเมื่อคลอดแล้วโดยได้รับสิทธิในเรื่องที่อยู่อาศัย ได้รับอาหาร ได้รับการดูแลทางแพทย์ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้ได้รับการเล่นรื่นเริงเพลิดเพลินด้วย
เด็กและเยาวชน ที่พิการทั้งทางร่างกาย สมอง และจิตใจ มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพิเศษ หมายถึง การดูแลรักษาและการศึกษาที่เหมาะสมกับสภาวะของเด็กโดยเฉพาะ
เด็กและเยาวชน พึงได้รับความรักและความเข้าใจ อันจะช่วยพัฒนาบุคลิกของตน โดยเติบโตอยู่ในความรับผิดชอบของบิดามารดาของเด็กเอง และในทุกกรณี เด็กจะต้องอยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น ปลอดภัย และไม่พลัดพรากจากพ่อแม่ ในกรณีที่เด็กไม่มีครอบครัวหรือมาจากครอบครัวที่ยากจนและมีลูกมากก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จากรัฐหรือองค์การต่าง ๆ
เด็กและเยาวชน มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา ซึ่งครูควรจะจัดให้เปล่าอย่างน้อยในชั้นประถมศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมโดยทั่ว ๆ ไป และให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกผู้ยังประโยชน์ต่อสังคมคนหนึ่ง การศึกษานี้คลุมไปถึงการแนะแนวทางชีวิต ซึ่งมีบิดามารดาเป็นผู้รับผิดชอบก่อนบุคคลอื่น ๆ เด็กจะต้องมีโอกาสได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน จากการเล่นและรื่นเริงพร้อมกันไปด้วย
เด็กและเยาวชน จะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการคุ้มครองและสงเคราะห์ในทุกกรณี
9 เด็กและเยาวชน พึงได้รับการปกป้องให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง จากความโหดร้ายทารุณ และการถูกข่มเหง รังแกทุกชนิด เด็กจะต้องไม่กลายเป็นสินค้า ไม่ว่าในรูปใด จะต้องไม่มีการรับเด็กเข้าทำงานก่อนวัยอันสมควร ไม่มีการกระทำใด ๆ อันจะมีชักจูงหรืออนุญาตเด็กให้จำต้องรับจ้างทำงาน ซึ่งอาจจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพของเด็ก หรือเป็นเหตุให้การพัฒนาทางกายทางสมองและทางจิตใจของเด็กต้องเสื่อมลง
10 เด็กและเยาวชน พึงได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากการกระทำที่แสดงถึงการกีดกัน แบ่งแยก ไม่ว่าทางเชื้อชาติ ศาสนาหรือรูปใด ๆ เด็กจะต้องได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมา " ในภาวะแห่งจิตที่เต็มไปด้วยความเข้าอกเข้าใจ และมีการหย่อนหนักหย่อนเบามิตรภาพระหว่างชนชาติต่าง ๆ สันติภาพ และภาพสากล และด้วยการสำนึกเต็มที่ว่าพละกำลังและความสารถพิเศษในตัวเขา ควรจะอุทิศเพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
มนุษยชน
หลัก 6 ประการ
ประการที่ 1. ประชาชนทุกคนมีสิทธิของตนเองเพราะทุกคนล้วนเป็นมนุษย์
ประการที่ 2. สิทธิมนุษยชนเป็นสากล หลักการสิทธิมนุษยชนใช้กับทุกคนทั่วโลกได้เหมือนๆกัน ไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาเป็นใคร อยู่ที่ไหน ดังนั้นการเคารพและปกป้องหลักการสิทธินุษยชนของแต่ละพื้นที่/ ประเทศจึงมีระดับที่แตกต่างกัน เพราะมีพื้นฐานทางวัฒนธรรม หรือภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิศาสตร์
ประการที่ 3. ได้รับการปฏิบัติกับทุกคนเหมือนกัน (Treated the Same) ทุกประการ แต่สิทธิมนุษยชนปฏิบัติ กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (Treated Equally) และให้ "โอกาส" แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ฉะนั้นรัฐพึงเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน แก่ทุกๆคนอย่างเต็มความสามารถแม้จะมีความแตกต่าง แต่สิทธิมนุษยชนพึงตอบสนอง แก่ความต้องการเฉพาะบุคคล
ประการที่ 4. มนุษย์ทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนจากสังคมหรือรัฐบาล ส้คมและรัฐบาลมีพันธกิจที่จะสนับสนุนความเป็นไปได้ของสิทธิมนุษยชนให้เป็นจริง
ประการที่ 5. สิทธิมนุษยชนห่อหุ้มด้วยหลักการพื้นฐานของมนุษยภาพ (Humanity) สิทธิบางประการ เช่น สิทธิในชีวิต (The Right to Life) เป็นสิ่งที่มิอาจละเมิดได้ไม่ว่ากรณีใดๆ
ประการที่ 6. ทุกชาติต้องรับผิดชอบส่งเสริมและเคารพในสิทธิมนุษยชน ปัจเจกชน ชาติ หรือรัฐต้องมีความรับผิดชอบที่จะสนับสนุนและให้ความสำคัญกับสิริมนุษยชนข้ามพรมแดนในทุกๆ ที่และทุกๆ เวลา
ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจะต้องเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนดังนี้
ในฐานะแห่พลเมืองในโลกสมัยใหม่ซึ่งมีพลวัต มีความซับซ้อนและท้าทาย จะต้องตระหนักรู้ถึงสิทธิและศักดิ์ศรีของตนเอง และของผู้ป่วย
นโยบาย โครงการ และปฏิบัติการด้านสุขภาพต่างๆ รวมทั้งการวิจัยเชิงคลินิกอาจจะละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยไม่ได้ตั้งใจ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนมักจะมีผลกระทบด้านลบ ต่อสุขภาพของปัจเจกชนและกลุ่มชนด้วย
การส่งเสริมสิรินุษยชในปัจจุบัน สมารถข้าใจได้ว่าเป็นสารัตถะสำคัญ ของความพยายามในการส่งเสริม และปกป้องสุขภาพสาธารณะ
สาระสำคัญตามปฏิญญาสากล
มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสรภาพและมีความเสมอภาค ปฏิบัติต่อกันด้วยการให้เกียรติกัน
ทุกคนมีสิทธิและอิสรภาพ โดยปราศจากความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ศาสนา กำเนิต สังคม ทรัพย์สิน
ทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิตสรีภาพและความมั่นคงแแห่งตน
บุคคลจะถูกยืดเป็นทาสหรือภาวะจำยอมไม่ได้
บุคคลจะถูกทรมานหรือได้รับการลงโทษที่โหดร้าย ผิดมนุษย์ต่ำช้าไม่ได้
บุคคลเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิ ได้รับการคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน
บุคคลจะถูกกักขัง เนรเทศ จับกุม โดยพลการไม่ได้
8 . บุคคลมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจากการถูกกล่วหา และจะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม
บุคคลจะถูกสอดแทรกโดยพลการไม่ได้
บุคคลมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆไป รวมทั้งประเทศของตนและมีสิทธิจะกลับมาอีก
บุคคลมีสิทธิจะแสวงหาและพำนักในประเทศอื่นเพื่อลี้ภัย จากการประหัตประหาร
ชาย หญิง ที่มีอายุตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการสมรส ได้โดยปราศจากการจำกัดใดๆ อันเนื่องจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ
บุคคลจะถูกริบทรัพย์โดยพลการไม่ได้
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด นโนธรรมและศาสนา
บุคคลมีสิทธิเลือกในการทำงาน การเลือกงาน โดยอิสระในเงื่อนไขอันยุติธรรม
บุคคลมีสิทธิในการได้รับการรักษาทางการแพทย์ การบริการทางสังคมที่จำเป็น
บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
บุคคลมีสิทธิเข้าร่วมกิกรรมทางวัฒนธรรมของสังคม โดยอิสระ
บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาคมในการพัฒนาบุคลิกภาพ แห่งตนโดยอิสระและเต็มที่
พยาบาล
พยาบาลมีสิทธิที่จะสร้างรูปแบบการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล ตามที่เห็นสมควร และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักการของวิชาชีพ และมีสิทธิได้รับการยอมรับ เชื่อถือความเคารพ และรางวัลตามที่สมควรจะได้
พยาบาลมีสิทธิที่จะเข้าใจ และยอมรับความรู้สึกของตนเอง ซึ่งการตระหนักและเข้าใจ ถึงความรู้สึกของตนเอง ย่อมจะควบคุมความรู้สึกของตนเองได้
พยาบาลมีสิทธิที่จะดํารงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และการแสดงออก ของตนเอง หมายถึง พยาบาลมีสิทธิที่จะรับฟัง ซักถาม สงสัยหรือไม่ตอบ ในกรณีที่จะต้องใช้เหตุผลเลือกตัดสินใจทางจริยธรรม และพยาบาลมีสิทธิที่จะได้รับคําแนะนํา ช่วยเหลือร่วมมือจากผู้อื่น แลให้ผู้อื่นรับรู้ และขจัดความหวาดกลัวคับข้องใจของตนเอง ได้เช่นเดียวกัน
พยาบาลมีสิทธิที่จะพ้นจากสภาพการทํางานที่มีผลต่อ การบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีของตนเอง ในฐานะของปุถุชน เพราะการให้การบริการพยาบาล อย่างมีคุณภาพต้อง อาศัยสภาวะที่ดี (Wellbeing) ของตัวบุคคลผู้เป็นพยาบาลสิทธิของบุคคล แต่ละคนมีพื้นฐานสําคัญอยู่บนความรู้สึกยอมรับ
เคารพสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับตนเอง
ในการปฏิบัติการพยาบาลจะต้อง ยึดถือหลักสําคัญของกระบวนการพยาบาล ที่มุ่งเน้นคุณค่า ของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
ผู้ป่วย
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการ ด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องให้การดูแลผู้ป่วย ขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานี้เป็นไปในแนวเดียวกัน เช่น
การให้คำแนะนำแรกรับผู้ป่วย
การปฏิบัติตามมาตรฐานการรับใหม่
-ให้การตอ้นรับผู้ป่วยตามมาตรฐาน ESB
การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลที่กำหนด
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพโดย ไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคมลัทธิ การเมืองเพศ อายุ และลักษณะของการเจ็บป่วย
ไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่า จะเป็นผู้ป่วยพิเศษ หรือสามัญหรือเนื่องมาจากความแตก ต่างด้านฐานะ เชื้อชาติสัญชาติศาสนาเพศอายุสังคมลัทธิการเมือง และลักษณะของการเจ็บ ป่วยเช่นโรคเอดส์
3.ผู้ป่วยที่มาใช้บริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะ ได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้สามารถเลือกตัดสินใจในการยนิ ยอมหรือไม่ยนิยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตนเว้นแต่เป็นการช่วยเหลือเร่งด่วน หรือจำเป็น
4.ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิ ที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็น แก่กรณี โดยไม่คำนึงถึงว่า ผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อสกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
6.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย เคร่งครัดเว้นแต่จะได้รับความยนิ ยอมจากผู้ป่วย หรือการปฏิบัติหน้า ที่ตามกฎหมาย
ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียน เมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิ หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น
บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน สิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
จริยธรรม
หลักจริยธรรมทางการพยาบาล 6 ประการ ที่ผู้บริหารการพยาบาล และผู้ปฏิบัติการพยาบาล จะต้องยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตลอดเวลาได้แก่
สิทธิของบุคลากร/ผู้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ (Autonomy)
การกระทาใด ๆ ต้องคานึงถึงประโยชน์ที่จะบังเกิดแก่บุคลากร/ ผู้ป่วยเป็นสาคัญ (Beneficence)
การกระทาเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตราย ท่ีอาจจะเกิดขึ้น ( Nonmaleficence) แก่บุคลากร/ ผู้ป่วย
4 . การกระทาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (fidelity)
การกระทาต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และยุติธรรม (Justice) ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
การบอกความจริง(Veracity)
จรรยาบรรณ
ตามประกาศของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พ.ศ. 2546 มีดังนี้
พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพ
พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ในการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันความเจ็บป่วย การฟื้นฟูสุขภาพและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน
พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดี และความผาสุกของเพื่อนมนุษย์ ช่วยให้ประชาชนดำรงสุขภาพไว้ในระดับดีที่สุด ตลอดวงจรของชีวิตนับแต่ปฏิสนธิ ทั้งในภาวะสุขภาพปกติ ภาวะเจ็บป่วย ชราภาพ จนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต
พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคลพยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งในความเป้นมนุษย์สิทธิในชีวิต และสิทธิในเสรีภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การพูด การแสดงความคิดเห็น การมีความรู้ การตัดสินใจ ค่านิยมความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนสิทธิในความเป็นเจ้าของและความเป็นส่วนตัวของบุคคล
พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์พยาบาลยึดหลัก ความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์ ร่วมดำเนินการเพื่อช่วยให้ประชาชนที่ต้องการบริการสุขภาพ ได้รับความช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง และดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม กับความต้องการอย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยความเคารพในคุณค่าของชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิในการมีความสุขของบุคคล อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดด้วยชั้น วรรณะ เชื้อชาติ ศาาสนา เศรษฐานะ เพศ วัย กิตติศัพท์ ชื่อเสียง สถานภาพในสังคมและโรคที่เป็น
พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
พยาบาลประกอบวิชาชีพ โดยมุ่งความเป็นเลิศ ปฏิบัติการพยาบาล โดยมีความรู้ในการกระทำ และสามารถอธิบายเหตุผลได้ในทุกกรณี พัฒนาความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รักษาสมรรถนะในการทำงาน ประเมินตนเองและประกอบวิชาชีพทุกด้าน ด้วยมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ใช้บริการพยาบาลพึงป้องกันอันตราย ต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ใช้บริการ โดยการร่วมมือประสานงาน อย่างต่อเนื่องกับผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ เพื่อปฏิบัติให้เกิดผลตามนโยบาย และแผนพัฒนาสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน พึงปฏิบัติหน้าที่รับมอบหมายงาน และมอบหมายงานอย่างรอบคอบ และกระทำการอันควรเพื่อป้องกันอันตราย ซึ่งเห็นว่าจะเกิดกับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคล ครอบครัว กลุ่มหรือชุมชนโดยการกระทำของผู้ร่วมงาน หรือสภาพแวดล้อมของการทำงาน หรือในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง
พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการพยาบาล
พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคม เกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพพยาบาล มีคุณธรรมจริยธรรม ในการดำรงชีวิตประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคง ในจรรยาบรรณ และเคาระต่อกฎหมายให้บริการที่มีคุณภาพเป็นวิสัย เป็นที่ประจักษณ์แก่ประชาชน ร่วมมือพัฒนาวิชาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าในสังคมอย่างเป็นเอภภาพ ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์อันดี และร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่ เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในและนอกวงการสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้า ให้แก่วิชาชีพการพยาบาลพยาบาลพึงร่วมในการทำ ความเจริญก้าวหน้า ให้แก่วิชาชีพพยาบาล ร่วมเป็นผู้นำทางการปฏิบัติการพยาบาล หรือทางการศึกษาทางการวิจัยหรือทางการบริหาร โดยร่วมในการนำทิศทางนโยบาย และแผนเพื่อพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาความรู้ ทั้งในขั้นเทคนิคการพยาบาลทฤษฎีขั้นพื้นฐาน และศาสตร์ทางการพยาบาลขั้นลึกซึ้ง เฉพาะด้าน ตลอดจนการรวบรวม และเผยแพร่ความรู้ข่าวสารของ วิชาชีพ ทั้งนี้ พยาบาลพึงมีบทบาททั้งในระดับรายบุคคล และร่วมมือในระดับสถาบัน องค์กรวิชาชีพ ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบ ต่อผู้อื่น
พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเอง เช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น เคารพตนเอง รักษาความสมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพเคารพ ในคุณค่าของงาน และทำงานด้วยมาตรฐานสูง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว และในการประกอบวิชาชีพทีสถานการณ์ที่จำเป้นต้องเสียสละ หรือประนีประนอม พยาบาลพึงยอมรับ ในระดับที่สามารถรักษาไว้ซึ่งความเคารพตนเอง ความสมดุลในบุคลกภาพ และความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของตน เช่นเดียวกับของผู้ร่วมงาน ผู้ใช้บริการและสังคม
บทบาทพยาบาล
เอกภาพ
การทำงานเป็นทีมของวิชาชีพการพยาบาล ย่อมหมายถึงทีมที่มีความเป็นเอกภาพทางวิชาชีพ ความ เป็นส่วนตัวอาจจะมีความคิดเห็นและพึงพอใจที่แตกต่างกันได้ แต่ความเป็นวิชาชีพที่ควรต้องมี ค่านิยม วัฒนธรรมที่เติบโตเป็นจริยธรรมของวิชาชีพที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติ จะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพของ วิชาชีพได้ ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน ควรต้องลด ละ เลิกทิฐิ ของแต่ละคนในการทางานร่วมกัน ร่วมกันพัฒนาองค์กรพยาบาลของตนให้มีความก้าวหน้า รุ่งเรือง อย่างต่อเนื่อง การทำให้องค์กรหยุดอยู่กับที่ ก็นำความเสียหายให้แก่ องค์กร ของตนเองแล้ว จึงควรประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
การให้ความรักและให้เกียรติแก่ผู้ร่วมวิชาชีพ ไม่คิดร้าย หรือทาลายเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นทาง ความคิด พูด หรือการกระทำ
ร่วมกันสร้างเสริมเพื่อการผดุงเกียรติ ชื่อเสียงขององค์กรที่ทางานและวิชาชีพของตน
ให้ความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพทุกระดับอย่างจริงใจ และทุกโอกาส
ร่วมกระทากิจกรรมเกี่ยวกับวิชาชีพทั้งด้านความคิด แรงงาน และทรัพย์สินตามศักยภาพของตน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
มีแนวทาง หรือแสวงหาวิธีการผดุงความสามัคคี ในกลุ่มผู้ร่วมวิชาชีพ และธำรงรักษาไว้อย่าง เข้มแข็ง
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพียรพยายามแสวงหาวิถีทางเพื่อ คลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาด้วยความ อดทน และจริงใจ ให้บังเกิดสันติสุขในสังคม
เอกสิทธิ
ผู้ประกอบวิชาชีพ บางคนไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับสิทธิของตนเองตามที่ควรจะเป็น จึงควรให้ ความสนใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ นับแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และทาความเข้าใจกฎหมายวิชาชีพของตนเอง รวมทั้ง ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อการประพฤติปฏิบัติดังต่อไปนี้
มีเอกสิทธิ์การประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ปฏิบัติการพยาบาลตามที่กฎหมายกาหนดอย่าง เป็นอิสระ และด้วย ความรับผิดชอบในการกระทา
สิทธิในการปฏิเสธการกระทาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือการกระทาที่มีกฎหมายรองรับ หาก กระทานั้นเกินขีดความสามารถของตน และอาจจะบังเกิดผลเสียหายต่อผู้ใช้บริการได้
สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติจากผู้ร่วมงานในฐานะมนุษย์ และผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเท่าเทียมกัน และมีสิทธิที่จะปกป้องช่ือเสียงเกียรติยศของตนและครอบครัว หากถูกหมิ่นเกียรติ
สิทธิในการรับเลือกเข้าทางาน หรือดารงในตาแหน่งต่าง ๆ โดยชอบตามหลักของคุณธรรม และจริยธรรม
สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลต้องมี ความชัดเจนและเพียงพอต่อการตัดสินใจ ในการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม คือเหมาะสมกับ ภาระหน้าที่ และลักษณะวิชาชีพที่ต้อง ดาเนินชีวิตอย่างมีผลกระทบต่อแบบแผนดาเนินชีวิตส่วนบุคคล และครอบครัว
สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการที่พักความมั่นคงและปลอดภัย ในชีวิตในการปฏิบัติภารกิจตาม หน้าท่ีอย่างเหมาะสมกับคุณค่าของมนุษย์ที่มีความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน
มีสิทธิในการรวมตัวกันเป็นสหพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพฯ เพื่อพิทักษ์ปกป้องสิทธิประโยชน์ของ ผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวม
สิทธิที่จะกระทาผิดพลาดได้ในฐานมนุษย์โดยมิได้เจตนา และควรได้รับการปฏิบัติดูแลอย่าง เหมาะสม รวมทั้งการพัฒนา และเสริมเติมเต็มให้ความรู้ ประสบการณ์ อย่างต่อเนื่อง
ธารงรักษาสิทธิในการพิจารณาตัดสินใจเลือกสรรผู้แทน ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ผู้บริหารองค์กร วิชาชีพในทุกระดับ มิควรให้มีการใช้อานาจแทรกแซงโดยผู้อื่นใด
สิทธิในการฟ้องร้อง หรือร้องเรียน ขอความเป็นธรรมได้ตามกฎหมาย หากได้รับการปฏิบัติท่ีมิ ชอบ และไม่เป็นธรรม
การพิทักษ์สิทธิ์
การสนองตอบต่อสิทธิพื้นฐานที่จะรับบริการด้าน สุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องใช้ความรู้ในวิชาชีพ และวิจารณญาณในการตัดสินใจดูแลผู้ใช้บริการเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม และรู้สิทธิพึงมีพึงได้ของผู้ใช้บริการทุกลักษณะ เพื่อให้การดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม
สิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัตินั้น ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล จะต้องปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกราย เท่าเทียมกันอย่างสุภาพอ่อนโยน เอื้ออาทร เคารพในความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและละเว้นจากการปฏิบัติที่มีอคติ
สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอในด้านบริการ ด้านสุขภาพ เพื่อประกอบการตัดสินใจการรับบริการของผู้ป่วย ประเด็นนี้เป็นบทบาทสาคัญของพยาบาล ที่จะต้องเผชิญตลอดเวลา ของการปฏิบัติงานพยาบาล จึงต้องให้ความสาคัญของบทบาท ในการที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ กฎเกณฑ์ของหน่วยงาน ข้อมูล ที่เป็นข้อปฏิบัติในการให้บริการสุขภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัย พยากรณ์โรค การบาบัดรักษาและ การเสี่ยงต่ออันตรายโดยต้องคำนึงถึงประเด็นจริยธรรม เกี่ยวกับการบอกความจริง รวมถึงข้อมูลที่จะให้บริการและปฏิบัติการต่อผู้ป่วยในทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อการรับทราบ และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้ป่วย
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องมีบทบาทในการ ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตทันที และต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ ผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องแสดงข้อมูลบ่งชี้ ชื่อ สกุล ตำแหน่ง และคุณวุฒิ ของตนเองแก่ผู้รับบริการรวมทั้งยอมรับ และเข้าใจสิทธิของผู้ป่วยในการ ขอทราบความเห็น ในการดูแลรักษาปรับเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ
บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลที่สาคัญประการ หนึ่งในเรื่องข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ผู้ป่วย คือการเก็บรายงานเกี่ยวกับ ความเจ็บป่วยของผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วนเป็นระบบ ไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย และหรือการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย
บทบาทของพยาบาลในการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อประกอบในการตัดสินใจร่วมหรือถอนตัว จากการเป็น ผู้ถูกทดลองในการวิจัยด้านสุขภาพ ทั้งนี้บทบาทของพยาบาล จะต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติขั้นตอน การปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนโปร่งใส เพื่อผู้ร่วมการทดลองโดยเฉพาะผู้ถูก ทดลองทราบทุกขั้นตอน
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการกำหนด ระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อสิทธิของผู้ป่วยในการขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาของตน
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการปกป้อง การละเมิดสิทธิของผู้ป่วยทั้งในด้านของการปฏิบัติการ พยาบาล และการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม โดยการวิเคราะห์ตัดสินใจด้วยความรู้ และข้อมูลที่ถูกต้องของผู้ป่วย
การตัดสินเชิงจริยธรรม
ขั้นที่ 1 ทบทวนสถานการณ์เพื่อกำหนดปัญหาทางด้านสุขภาพความต้องการการตัดสินใจองค์ประกอบทางจริยธรรมและบุคคลที่มีความสำคัญและเป็นหลักในการตัดสินใจ
ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์ให้ชัดเจน
ขั้นที่ 3 ระบุประเด็นในสถานการณ์นั้น
ขั้นที่ 4 ให้ความหมายกับแนวคิดทางจริยธรรมของบุคคลและของวิชาชีพ
ขั้นที่ 5 ระบุแนวคิดทางจริยธรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 6 ระบุความขัดแย้งในคุณค่า
ขั้นที่ 7 กำหนดว่าใครควรเป็นผู้ตัดสินใจ
ขั้นที่ 8 ระบุแนวทางปฏิบัติและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ขั้นที่ 9 ตัดสินใจและลงมือปฏิบัติ
ขั้นที่ 10 ประเมินผลและทบทวนผลลัพธ์จากการตัดสินใจและการปฏิบัติ
การละเมิด
นางสาวปภาวี สุขชาติ 61105136