บทที่ 3 เงื่อนไขดุลยภาพระหว่างประเทศ (International Parity Conditions)

ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินค้า (อัตราเงินเฟ้อ) vs. อัตราแลกเปลี่ยน

ดุลยภาพด้านอำนาจการซื้อ (Purchasing Power Parity:PPP)

Absolute PPP (กรณีสมบูรณ์)

อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาใดๆควรเท่ากับอัตราส่วนของราคาในสองประเทศนั้น

อัตราแลกเปลี่ยนทันที DC/FC = ราคาในสกุลเงิน DC / ราคาในสกุลเงิน FC

Relative PPP (กรณีสัมพัทธ์)

การเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างของอัตราเงินเฟ้อใน 2 ประเทศ = การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทันทีในทิศทางตรงกันข้าม

อัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ ปัจจุบัน x ส่วนต่างของอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย vs. อัตราเงินเฟ้อ

ดุลยภาพฟิชเชอร์ (Fisher effect:FE)

ดุลยภาพระหว่างอัตราดอกเบี้ย vs. เงินเฟ้อ

Nominal Interest Rate ในแต่ละประเทศ = Real Rate of Return และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ โดยที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากันในทุกสกุลเงิน

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินอาจมีค่าต่างกันไปในแต่ละประเทศ ผลมาจากเงินเฟ้อ

ความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราดอกเบี้ย vs. อัตราแลกเปลี่ยน

ดุลยภาพฟิชเชอร์ระหว่างประเทศ (International Fisher Effect:IFE)

อัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอนาคต = อัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ ปัจจุบัน x ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน & ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างตลาดทุนในและต่างประเทศ

ณ จุดดุลยภาพ ค่าคาดหวังของอัตราผลตอบแทนที่ถูกแปลงเป็นสกุลเดียวกันที่มีความเสี่ยงเท่ากันจะต้องมีค่าเท่ากัน

ทฤษฎี Fisher Open

FE + RE PPP = IFE

ดุลยภาพด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest rate parity:IRP)

นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วยสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า

IRP (Law of one price) สามารถใช้ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า

อัตราแลกเปลี่ยนจะกำหนดได้โดยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในสองประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน

ดุลยภาพอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Unbiased forward rate)

การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกแปลี่ยน = Forward premium / Forward Discount

ถ้าต้องการทราบอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่คาดการณ์ในอนาคต ให้สังเกตได้ว่าต้องเท่ากับ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่กำหนดไว้ ณ ปัจุบัน โดยธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านี้ จะถึงกำหนดแลกเงิน ณ เวลาเดียวกันกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการคาดการณ์

อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเป็นการประมาณการอัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอนาคตที่ไม่กระทบจากปัจจัยอื่น

การทำกำไรในลักษณะ Covered Interest Arbitrage

เกิดจากการกำหนด Forward Exchange Rate ต่างไปจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่คำนวณได้จาก Interest Rate Parity (IRP)

อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าไม่สามารถครอบคลุมส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 สกุลเงินได้ จึงเกิดโอกาสการทำกำไรลักษณะ Arbitrage

กรณีพิจารณาจากอัตราแลกเปลี่ยนกลาง

ทำกำไรจากสมการดุลยภาพระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน vs.อัตราดอกเบี้ยตาม Interest Rate Parity

กรณีพิจารณาจาก อัตราซื้อ (Bid) vs.อัตราขาย (Ask)

ตรวจสอบการทำกำไรโดยการลองผิดลองถูก

กู้ DC ฝาก FC

กู้ FC ฝาก DC