Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
melanoma, image, เป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า…
melanoma
-
การรักษา
การผ่าตัดผิวหนัง เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานโดยจะทำการผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งที่อยู่บริเวณผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบออก หากบริเวณที่ผ่าตัดออกมีขนาดใหญ่ อาจนำผิวหนังจากส่วนอื่นมาปิดบริเวณแผลเพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น และจะทำให้รอยแผลเป็นน้อยลงได้
-
การรักษาด้วยการจี้เย็น วิธีนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้กับมะเร็งผิวหนังในระยะเริ่มต้น โดยจะนำไนโตรเจนเหลวมาจี้ผิวหนังบริเวณที่เป็นมะเร็ง ผิวหนังบริเวณนั้นจะตกสะเก็ด หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนสะเก็ดเหล่านั้นจะหลุดออก วิธีการรักษานี้อาจจะทำให้เกิดแผลเป็นสีขาวเล็ก ๆ หลงเหลือไว้ที่ผิวหนัง
การรักษาด้วยวิธี MMS (Mohs Micrographic Surgery)การรักษาวิธีนี้เป็นวิธีการการผ่าตัดที่มักใช้เมื่อมะเร็งเกิดขึ้นในบริเวณที่ไม่สามารถใช้วิธีรักษาแบบอื่นได้ หรือมะเร็งที่เกิดขึ้นมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายสูง
การทำเคมีบำบัด แพทย์อาจใช้เคมีบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่เมลาโนมาก็ต่อเมื่อพบเนื้อร้ายที่บริเวณผิวหนังชั้นบน โดยมีวิธีการ คือ ใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของยาเคมีบำบัดทาบริเวณที่เป็นมะเร็ง หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือด เพื่อรักษามะเร็งผิวหนังที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ
การฉายแสงโฟโตไดนามิก เป็นการใช้แสงเลเซอร์ความเข้มสูงฉายลงไปบริเวณที่เป็นมะเร็ง โดยก่อนฉายแสงจะต้องทาตัวยาลงไปก่อน วิธีนี้เป็นการรักษาของมะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ จะอาจก่อให้เกิดแผลเป็นและรอยไหม้บริเวณผิวหนังได้
กายฉายรังสี เป็นการใช้รังสีเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยวิธีนี้จะใช้รักษามะเร็งผิวหนังในกรณีที่ขนาดของมะเร็งมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่าตัดออกหมด หรืออยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ บางครั้งก็ใช้กับผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
-
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังด้วยตัวเองสามารถทำได้ด้วยการสังเกตความผิดปกติของผิวหนัง หากมีตุ่มเนื้อที่ดูผิดปกติ หรือมีแผลเรื้อรังบริเวณผิวหนังที่มักจะโดนแดดบ่อย ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้ชัดเจน
การวินิจฉัยโดยแพทย์ แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากภายนอกด้วยการสังเกตความผิดปกติของผิวหนังอีกครั้ง หากบริเวณที่ผิดปกตินั้นมีความน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อนำตัวอย่างผิวหนังบริเวณที่ต้องสงสัยไปทำการตรวจด้วยวิธีทางพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง ทั้งนี้ หากแพทย์พบว่าตัวอย่างผิวหนังที่ตัดไปตรวจนั้นเป็นเนื้อร้าย แพทย์อาจส่งตรวจเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ว่ามะเร็งผิวหนังที่เป็นนั้นอยู่ในระยะใด ทั้งนี้ในการแบ่งระยะของโรคมะเร็งผิวหนังจะคล้ายคลึงกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ซึ่งจะมีการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยแพทย์จะทำการวิเคราะห์ขนาดของก้อนเนื้อมะเร็ง และตรวจวินิจฉัยว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ หรือไม่ แล้วจึงจะระบุได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะใด
พยาธิสภาพ
เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่มักพบบริเวณใบหน้า ลำตัวของผู้ป่วยเพศชาย และขาส่วนล่างของผู้ป่วยเพศหญิง โดยมีความผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ เช่น มีตุ่มหรือก้อนคล้ายไฝสีดำเข้ม ขอบไฝไม่เรียบ ไฝมีขนาดหรือสีที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และอาจมีเลือดออกจากไฝ
อาการ
มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของมะเร็งชนิดนี้ เริ้มต้นจะมีลักษณะคล้ายกับไฝหรือขี้แมลงวัน แต่จะโตเร็ว ขอบเขตไม่เรียบและอาจมีสีไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ที่บริเวณแผลอาจตกสะเก็ดหรือมีอาการเลือดออกด้วยเช่นกัน
-
เป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์” (Melanocyte) เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุดและพบได้ไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงสูง เพราะมีโอกาสแพร่กระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงและที่อื่น ๆ ได้มากกว่าชนิดแรก โดยโรคจะลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้สูงและรวดเร็ว ซึ่งเมื่อแพร่กระจายมักจะไปยังปอด กระดูก และสมอง หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายใน 1 ปี สามารถพบได้ในเด็กโต (ในคนอายุต่ำกว่า 20 ปี พบมะเร็งชนิดนี้ประมาณ 1% ของมะเร็งชนิดนี้ทั้งหมด) และจะพบได้สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นจนพบได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 45-65 ปี ต่อจากนั้นจะพบได้น้อยลง ผู้ชายพบได้สูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย มักพบได้มากในคนที่เคยมีผิวไหม้จากแสงแดด โดยเฉพาะคนผิวขาว
-