Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ครั้งที่ 4 พัฒนาการ เด็กปฐมวัย - Coggle Diagram
ครั้งที่ 4 พัฒนาการ เด็กปฐมวัย
เด็กแรกเกิด 2 เดือน
ทารกวัย 2 เดือนส่วนใหญ่จะกินนมทุก 4 ชม. และนอนหลับยาวประมาณ 7 – 8 ชม ในตอนกลางคืน เด็กบางคนมีอาการร้องโคลิคในช่วงวัยนี้
ลูกเริ่มจำเสียงและสัมผัสของแม่ได้มากขึ้น เวลาแม่มาพูดคุย เล่านิทาน หรือร้องเพลง เมื่อลูกได้ยินแล้วก็พยายามส่งเสียงร้องอ้อแอ้ และขยับแขนขาไปด้วย
ลูกเริ่มมองเห็นในระยะ 8 – 9 นิ้ว และใช้กล้ามเนื้อมือดีขึ้น อยากไขว่คว้าหยิบสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัว
ลูกรู้จักการส่งยิ้มให้กับคนที่เขาคุ้นเคย เช่น คุณพ่อ คุณแม่
ลูกแสดงอาการหงุดหงิด ดีใจ ไม่พอใจ ให้เห็นมากขึ้น และรู้จักการดูดนิ้วเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ของตนเอง
เด็ก อายุ 2 - 4 เดือน
สายตาลูกเริ่มดีขึ้น มองเห็นได้ไกลขึ้น สมอง ตา และกล้ามเนื้อคอทำงานประสานกันดี ลูกสามารถก้ม มอง เงย เอี้ยวซ้ายเอี้ยวขวามองได้รอบๆ ตัว
ลูกหยิบจับสิ่งของได้ทั้งสองมือ และย้ายของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้
ทารกวัย 4 เดือนเริ่มเหยียดแข้งเหยียดขาได้ตามอิสระ
ลูกเริมคว้าจับสิ่งของใกล้ๆตัวมากขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรรวบผมให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้ลูกดึงผมเล่น
ลูกเริ่มส่งเสียงอืออาและชอบเล่นน้ำลาย
ลูกเริ่มมีอาการติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ติดผ้า หรือของนุ่มๆ และมีของที่ชอบชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นพิเศษ
เริ่มสนใจคนและสิ่งของรอบข้างมากขึ้น สนใจเงาตัวเองในกระจก
รู้จักการแสดงออกด้วยการส่งเสียงเสียงดัง เวลาไม่พอใจ หรือไม่สบายเนื้อตัว
เด็กอายุ 4-6 เดือน
ลูกมีความสนใจต่อเสียงรอบตัวมากขึ้น เช่น เสียงโทรศัพท์ เสียงดนตรี
ลูกแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อคุณแม่ห้ามเขาเอาสิ่งของเข้าปาก เพราะทำให้ความเพลิดเพลินของเขาถูกขัดจังหวะ
ลูกเริ่มจำสิ่งของที่มีลักษณะคล้ายๆ กันได้ และจำคำศัพท์จากสิ่งที่คุณแม่พูดหรือใช้บ่อยๆ
ทารกในวัย 6 เดือนเริ่มพลิกตัวและเอี้ยวตัวได้อย่างคล่องแคล่ว
ในช่วงนี้ ลูกจะเริ่มหยิบจับสิ่งของใกล้ตัวมาเขย่า ตี บีบ หรือเอาเข้าปากไปอม หรือกัด
ลูกเริ่มสังเกตว่า ของที่ตกลงพื้นแล้วจะเป็นอย่างไร มีเสียงไหม หรือกลิ้งไปในทิศทางใด
ทารกวัย 5 เดือนเริ่มไม่อยากจะนอนนิ่งๆ แล้ว เขาอยากจะเคลื่อนไหวร่างกายไปตรงนั้นตรงนี้ ลูกจะเริ่มพลิกคว่ำพลิกหงาย ถีบแข้งถีบขา แม้จะยังนั่งได้ไม่ดีนัก แต่ก็ถือว่านั่งได้ดีขึ้นกว่าเดือน ก่อนๆ
ลูกเริ่มเข้าใจกิจวัตรประจำวันว่าเดี๋ยวแม่ต้องพาไปอาบน้ำ กินนม เล่นของเล่น
เด็กวัย 6 เดือนจะนั่งได้มั่นคงมากขึ้น เริ่มคืบไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้บ้างแล้ว
ลูกเริ่มรู้สึกคันเหงือก ไม่ค่อยสบายในปากจากการที่ฟันเริ่มจะขึ้น
ลูกพยายามส่งเสียงเพื่อสื่ออารมณ์ของตนเองแม้จะยังฟังไม่เป็นคำก็ตาม
เด็กอายุ 6-9 เดือน
ลูกเริ่มเรียนรู้ชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว จำภาพสัตว์กับเสียงร้องของสัตว์ได้มากขึ้น
เริ่มพูดออกเสียงเป็นคำๆ
ลูกเริ่มหยิบจับสิ่งของได้คล่องมากขึ้น และใช้มือหยิบอาหารใส่ปากเอง
ลูกมีอาการติดแม่มากขึ้น แต่ยังไม่ไว้ใจคนอื่นๆ หากใครเขาใกล้หรือจะมาแตะเนื้อต้องตัว เขาจะพยายามขืนตัวหนี
ตอนนี้ลูกเริ่มนั่งได้มั่นคงแล้ว และพยายามที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปสำรวจตรงนั้นตรงนี้
ทารกวัย 8 เดือน เริ่มเรียนรู้แล้วว่าเขาก็เหมือนกับคนอื่นๆ และอยากเคลื่อนไหวตัวเองได้เช่นกัน เด็กวัยนี้จะพยายามทำท่าทางเลียนแบบคนที่อยู่รอบข้าง
ทารกวัย 7 เดือนเริ่มเรียนรู้ได้มากขึ้น เด็กเริ่มมองอวัยวะต่างๆ ของตัวเอง
ลูกชอบเล่น ยิ้ม และลูบคลำภาพในกระจก
ลูกเริ่มสนใจสิ่งของมากกว่า1 ชิ้น และอยากรู้ว่าหากนำของสองชิ้นมากระทบกันแล้วจะเป็นอย่างไร
ลูกเริ่มคุ้นเคยว่าว่าอะไรอยู่ตรงไหน เวลานี้คุณแม่จะทำอะไร เช่น พาไปอาบน้ำ มีอะไรอยู่ในห้องอาบน้ำบ้าง
ลูกเริ่มลุกจากท่านอนไปนั่งได้แล้ว เด็กบางคนจะคืบได้ และเด็กบางคนจะคลานได้ในช่วงเวลานี้เอง
ลูกเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษามากขึ้น และพยายามพูดคำซ้ำๆ เพื่อเลียนแบบคนอื่นๆ
เด็กอายุ 9-12 เดือน
กล้ามเนื้อมัดเล็กทำงานได้ดีขึ้น เริ่มหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้แล้ว
ลูกเริ่มเป็นนักสำรวจอยากรู้ว่าถ้าใช้นิ้วมือแหย่เข้าไปในรูแล้วจะเป็นอย่างไร ดังนั้น คุณแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในบ้านมากขึ้น
ลูกเริ่มจดจำได้ดีขึ้นว่าอะไรอยู่ตรงไหน ถ้าคุณแม่เอาของเล่นไปซ่อนใต้หมอนลูกจะพยายามเปิดหา
ลูกเริ่มพูดคำ 1-2 พยางค์สั้นๆ ได้ เช่น มะมา ประปา
ทารกวัย 9 เดือนเริ่มคลานได้คล่องขึ้นแล้ว และบางคนอาจจะคลานไปด้วยถือของเล่นไปด้วยก็ได้
ลูกเริ่มรับรู้ว่าทำแบบไหนแล้วจะมีคนชมหรือทำแบบไหนจะโดนดุ
ทารกวัย 10 เดือน เริ่มอยากเลียนแบบคุณแม่ และคนใกล้ชิดรอบตัว เช่น เมื่อคุณแม่ป้อนอาหารเขา เขาก็อยากป้อนอาหารให้คุณแม่บ้าง
ลูกเริ่มสังเกตความแตกต่างของเด็กผู้ชายเด็กผู้หญิง และรู้จักอวัยวะในร่างกายตัวเอง
ลูกเริ่มอยากทดลองทำอะไรด้วยตนเอง อยากรู้ว่าถ้าทำสิ่งนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
ลูกนั่งได้ดี และเอี้ยวตัวไปหยิบจับสิ่งของใกล้ตัวได้ ไม่ล้ม เกาะเดิน เพื่อไปหยิบสิ่งของได้ถนัดขึ้น
ลูกเริ่มแสดงอาการพอใจ หรือไม่พอใจอย่างชัดเจน
ทารกวัย 11 เดือนเริ่มมีสมาธิในการฟังมากขึ้น และพยายามหัดทำอะไรด้วยตนเอง เช่น หัดเดิน หัดตักข้าวใส่ปาก
ลูกเรียนรู้ชื่อสิ่งของใกล้ตัว และชื่อของสัตว์เลี้ยงได้ เขาจะสนใจรูปที่อยู่ในหนังสือมากขึ้น
ถ้าคุณแม่บอกให้เขาทำอะไร เขาจะพยายามทำให้ดี และต้องการคำชม เมื่อกินนมหมดแก้ว ลูกจะชูแก้วขึ้น เพื่อให้คุณแม่พูดชมนั่นเอง
คุณแม่จะเห็นว่าลูกดื้อหรือไม่ก็ในช่วงนี้ ลูกจะแสดงอาการปฏิเสธทันทีในสิ่งที่เขาไม่ต้องการ หรือไม่อยากทำ
เด็ก อายุ 12-18เดือน
ทารกวัย 12 เดือน เริ่มเรียนรู้ผ่านการเล่น และกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น ลูกจำได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน สามารถจดจำและทำท่าทางเลียนแบบคนรอบข้างได้ดีขึ้น
เด็กในวัยนี้สามารถแยกของเล่นตามสีและรูปร่างได้ และถือของเล่นหรือสิ่งของที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
ด็กบางคนอาจจะเดินได้คล่อง ในขณะที่บางคนเดินไปได้ไม่กี่ก้าวก็ล้มลง คุณแม่และคนในบ้านควรช่วยกันให้กำลังใจ
ลูกพยายามเปล่งภาษาเพื่อพูดคุยมากขึ้น และแสดงอารมณ์ของตนเอง เวลาไม่พอใจ เสียใจ หรือโกรธเกรี้ยว
ลูกมีความหวาดกลัวว่าคุณแม่จะหายไปไหน ดังนั้น เมื่อคุณแม่หายไป และเมื่อเดินกลับมาใหม่ลูกจะโผเข้ามาสวมกอด
นิ้วของลูกแข็งแรงพอที่จะหยิบจับดินสอแท่งโตๆได้ พร้อมละเลงลวดลายไปตามจินตนาการ